หลากความเห็นคนดังสังคมไทย ปมร้อน ยกเลิกกฎหมายห้ามขายสุราวันพระ

ส่องคนมีชื่อเสียงในสังคมไทยคิดเห็นอย่างไร ? หลังจากนายกฯ เปรยสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษายกเลิกกฎหมายห้ามขายสุราในวันสำคัญทางศาสนา

จากกรณีที่แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แง้มคำสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษาแก้กฎหมายและการห้ามขายเครื่องดื่มแอกอฮอล์ในช่วงเวลา 14.00-17.00 น. รวมทั้งเรื่องการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว กลายมาเป็นประเด็นถกเถียงบนโลกออนไลน์ถึงความเหมาะสม เนื่องจากกฎหมายนี้มีการใช้มาอย่างยาวนาน

แม้ว่าประชาชนบางส่วนไม่ได้พอใจกับการงดขายในเวลาที่กำหนดอย่างที่เป็นอยู่ อย่างไรก็ด้วยยุคสมัย และสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป การแก้กฎหมายที่มีมาอย่างยาวนานนี้จึงถูกปลุกขึ้นมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้หลังจากที่นายกฯ ให้สัมภาษณ์ไปจึงกลายมาเป็นประเด็นถกเถียงบนโลกออนไลน์ของประชาชนและคนดังมากมายที่ต่างก็ออกมาแสดงความเห็นในเรื่องนี้

(เครดิตภาพ เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร – Taopiphop Limjittrakorn)

ส.ส.แจงแก้ พ.ร.บ. ง่ายกว่า

เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาชน สนับสนุนการยกเลิกกฎหมายขายสุรา พร้อมให้เหตุผลว่า ประเทศไทยต้องใช้กฎหมายควบคุมแอลกอฮอล์เฉพาะเฉพาะเยาวชน แต่บ้านเราให้ความสนใจกับเรื่องอื่นให้เป็นไปตามสากลอย่างจนดูไกลตัว การที่รัฐบาลจะศึกษาเรื่องผลกระทบก็สามารถทำได้ แต่สำหรับข้อกฎหมายตนได้ทำแล้วเรียบร้อยแล้ว

ขณะเดียวกันก็ระบุขั้นตอนแนะนำไว้ 2 เรื่องสำหรับเวลาขายสุราและการขายในวันสำคัญทางศาสนา หรือการห้ามขายบนออนไลน์ว่าทั้งหมดอยู่ในร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฉบับใหม่เรียบร้อยแล้ว

พร้อมให้เหตุผลว่า ขั้นตอนดังกล่าวจะทำให้นายกฯ สามารถทำตามสิ่งที่อยากทำได้มากกว่าการต้องการแก้ไขเพียงวัน-เวลาขายสุรา ที่ทำได้ยากกว่า ข้อความของฉบับเต็มของเท่าพิภพโพสต์ลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร – Taopiphop Limjittrakorn ระบุว่า

ADVERTISMENT

“สนับสนุนครับ ประเทศเราต้องควบคุมเเอลกอฮอล์ด้วยการเคร่งครัดการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะเรื่องเยาวชนครับ แต่กฎหมายเราก็ไปเข้มเรื่องอื่นออกทะเลจนทำให้กฎหมายดูไปเป็นสากลไปซะมาก ต้องแก้เเบบนายกว่าเเหละครับ

การศึกษาผลกระทบท่านก็ลองทำดู แต่เรื่องข้อกฎหมายผมศึกษาให้เเล้วไม่มีอะไรมากครับไม่ต้องศึกษานาสก็ตามนี้ เรื่องเวลาขาย

ADVERTISMENT

1. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๕๓ ลงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ เรื่องเวลาขายอันนี้ต้องยกเลิก ซึ่งร่างพรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กมธ.พิจจารณาเสร็จก็มีมาตรายกเลิกครับ

2. หลังจากยกเลิกตามข้อ 1 เเล้ว พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(ฉบับปัจจุบัน) ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชงให้รมต.สาธารณะสุขเห็นชอบครับ ย้ำว่ารมต.ไม่มีอำนาจชงเองคณะกรรมการก็จะมีข้าราชการสายหมอ สายสุขภาพเยอะหน่อยก็จะอนุรักษ์นิยมหน่อยครับ

3. ร่างพรบ.ควบคุมฯ ฉบับใหม่จะตัดอำนาจรัฐมนตรีออกเป็นอำนาจของคณะกรรมการฯ โดยตรง ซึ่งเเม้รมต.สธ.จะเป็นประธานเเต่ก็จะตีโต้คัดค้านไม่เซ็นเห็นชอบได้เเบบเดิม

เรื่องวันพระ หรือห้ามขายออนไลน์ก็เป็นผลงานจากคณะกรรมการดังกล่าวด้วย

ข้อเสนอของผลที่สงวนไว้เป็นเสียงข้างน้อยนั้นเห็นว่าควรยกเลิกหรือลดอำนาจการออกกฎประกาศของคณะกรรมการดังกล่าวแล้วเปลี่ยนเป็นการออกกฎกระทวงด้วยอำนาจรัฐมนตรีแทนครับ

ยังไงฝากท่านนายกในฐานะหัวหน้ารัฐบาล และพรรคเพื่อไทยช่วยให้ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลสนับสนุน คำสงวนของผมในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยด้วยครับ

สิ่งนี้จะทำให้ท่านนายกได้ทำตามที่อยากทำได้ครับ ไม่งั้นถึงเเม้เป็นนายกก็จะบังคับคณะกรรมการควบคุมให้แก้เเค่เรื่องวันเวลาขายเหล้านี้บอกเลยยากครับ

#พรบควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”

พระชี้ไม่ขาย เศรษฐกิจก็ไม่พัง

พระราชธรรมนิเทศน์ หรือพระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า การยกเลิกขายสุรามีมานานแล้ว และในอดีตเคยมีคนทดลองทำมาก่อน พระพะยอมมองว่า แต่ในตอนนี้การไม่ขายเหล้านั้นไม่ได้ส่งผลทางเศรษฐกิจ

ตนเห็นใจรัฐบาลที่พยายามให้เศรษฐกิจฟื้นฟูด้วยการใช้การท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักว่าเศรษฐกิจกับธุรกิจมอมเมาจะมีผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งเป็นการเลือกระหว่างเศรษฐกิจกับศีลธรรม

การดื่มในวันทางศาสนาเป็นเรื่องของตัวบุคคล ถ้าเราปฏิบัติดีก็จะเป็นคนดี และดีต่อประเทศชาติและศาสนา แต่หากรัฐบาลจะใช้เรื่อง นี้แก้เศรษฐกิจที่มันไม่ดีก็แล้วแต่รัฐบาล อย่างไรก็ตามขอให้นายกรัฐมนตรีและคณะไปช่างน้ำหนักให้ดีก่อน

พระพยอม กัลยาโณ (แฟ้มภาพจากมติชนสุดสัปดาห์)

คำพูดของพระพยอมในวิดีโอของช่องยูทูป FM91 Trafficpro เนื้อหาว่า “เรื่องนี้มีความพยายามกันมานานแล้ว โดยคนต้นคิดคนแรกของประเทศไทยเป็นคนยศ พ.ต.อ.ที่โคราช เรียกร้องให้มีการทำเรื่องนี้ขึ้นโดยทดลองที่อำเภอเดียวก่อน แต่ว่าตอนนั้นกับตอนนี้แตกต่างกัน ไม่ขายเหล้าก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจเสียหายอะไร

การยกเลิกขายสุรามีมานานแล้ว และในอดีตเคยมีคนทดลองทำมาก่อน พระพะยอมมองว่า แต่ในตอนนี้การไม่ขายเหล้านั้นไม่ได้ส่งผลทางเศรษฐกิจ เห็นใจรัฐบาลที่พยายามให้เศรษฐกิจฟื้นฟูด้วยการใช้การท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักว่าเศรษฐกิจกับธุรกิจมอมเมาจะมีผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งเป็นการเลือกระหว่างเศรษฐกิจกับศีลธรรม

ก็เห็นใจรัฐบาลอยู่เหมือนกันว่า จะหาวิธีการอย่างไรให้เศรษฐกิจมันฟื้น พอมาดูถ้ามันจะฟื้นได้ ก็มีเรื่องการท่องเที่ยวมาเป็นอันดับหนึ่ง มีคนเที่ยว คนกิน คนใช้ เศรษฐกิจมันถึงจะขับเคลื่อนได้ ซึ่งพอเป็นแบบนี้มันก็ต้องมาชั่งน้ำหนักกันว่า ระหว่างเศรษฐกิจกับธุรกิจมอมเมา ผลมันจะออกมาอย่างไร

ถ้าได้เศรษฐกิจดีฟื้น แต่ต้องแก้ต้องยกเลิกบางอย่าง มาเทียบกับการรักษาไว้เหมือน ต้องเลือกเอาระหว่างเศรษฐกิจกับศีลธรรม ก็ต้องเลือกเอาสักอย่างเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เรื่องนี้มันก็อยู่ที่ตัวบุคคลด้วย เหมือนเกลือรักษาความเค็ม เราเคยดีเคยปฏิบัติอย่างไง เราก็ดีของเราอย่างนั้น ชาติอื่นจะมากินจะดื่มเที่ยวอย่างไรเป็นเรื่องของเขา เราอย่าไปทำตามแบบเขา

แม้ว่าเราจะมีฐานะดีทำตามแบบเขาได้ก็ตาม แต่เราต้องเป็นคนดีที่มีฐานะดีด้วย อันนั้นสำคัญที่สุด หรือถ้าฐานะไม่ดีแต่ปฏิบัติตัวเป็นคนดี ก็จะดีกับประเทศชาติและพระศาสนา กลายเป็นคนดีที่ประพฤติตามหลักพระศาสนาต่อไป

ปัญหาเรื่องน้ำเมาหรือที่เรียกว่าน้ำผลาญสตินั้น คนเราถ้าสติไม่ดีก็จะเกิดเรื่องเสีย ๆ ได้โดยง่าย แต่ถ้าเราสติดีมันเป็นเครื่องช่วยยับยั้ง หักห้าม เหนี่ยวรั้งเอาไว้ให้ เรืองนี้จอให้ดูเหตุดูผลกันให้ดีก่อน แต่ถ้าคิดว่าเศรษฐกิจมันไม่ดีจนต้องใช้วิธีนี้มาแก้ไขก็แล้วแต่รัฐบาล

อาตมาขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ไปชั่งน้ำหนักเรื่องนี้ดูให้ดี ข้อดีข้อเสียผลดีผลร้าย อันไหนจะกระทบมากกว่ากัน ถ้ามันเกิดผลเสียมากกว่าก็ขอให้ยับยั้งไว้ก่อน

แต่ถ้าไตร่ตรองดูแล้วว่า ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี ศีลธรรมก็ดี ก็ทำกันไป เรื่องก็คงกระทบไปถึงตัวคน บางคนเคยทำได้ ลดได้ ละได้ พอรัฐบาลมาเปิดโอกาสให้แบบนี้ก็ก็อาจจะงด อาจจะเว้นต่อไปไม่ได้ เพราะนิสัยมนุษย์ชอบปล่อยตัวปล่อยใจไหลไปตามน้ำ ไม่ได้ลอยทวนน้ำ พอรัฐบาลมาแก้กฎหมายให้ตามใจก็ไปกันใหญ่”

(เครดิตภาพ The Rock Pub – Bangkok`s House Of Rock)

ผับเฮ หวังพรุ่งนี้ต้องไม่มีแล้ว

ขณะเดียวกันผับดังในกรุงเทพมหานครให้ความเห็นว่า ยินดีที่นายกฯ แจ้งว่าจะมีการพิจาณากฎหมายนี้ แต่ไม่มีความจำเป็นต้องสั่งให้ใครศึกษาแล้ว เนื่องจากมีเนื้อหาในหนังสือที่ส่งไปให้พิจารณาไปตั้งแต่สมัยของเศรษฐา ทวีสิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว

ข้อความดังกล่าวเผยแพร่ลงบนเฟสบุ๊ก The Rock Pub – Bangkok`s House Of Rock ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย คุณลูกเต๋า-นนทเดช บูรณะสิทธิพร ทายาทรุ่น 2 ซึ่งที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักจากชื่อเสียงของดนตรีอันยอดเยี่ยมที่มอบให้กับกลุ่มร็อกเกอร์ทุกสายจากทั่วทุกมุมโลก ระบุว่า “ยินดีที่นายกรัฐมนตรีแจ้งว่าจะมีการพิจารณากฏหมายเกี่ยวกับสุรา

แต่อยากฝากบอกนายกรัฐมนตรีว่า ไม่ต้องสั่งใครศึกษาแล้วครับ กรรมธิการวิสามัญที่ผมได้มีส่วนไปเข้าร่วมเคยเสนอหนังสือทั้งหมด (รวมถึงกฏหมายเกี่ยวกับสถานบันเทิง สถานบริการอื่น ๆ) เข้าสภาไปตั้งแต่ยุคของนายกฯ เศรษฐา

และยังมีกลุ่มคนทำงานและกรรมธิการอีกมากมายที่ได้บทสรุปตรงกันแล้วว่า กฏหมายห้ามขายสุราในวันหยุดสำคัญทางศาสนา “พุทธ” และการห้ามจำหน่ายสุราเวลา 14.00-17.00 น. นั้น ล้าหลังและไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไร แถมยังสนับสนุนทำให้คนกักตุนกันมากขึ้นด้วยซ้ำ ยังไม่รวมถึงการสูญเสียรายได้ทางเศรษฐกิจอีกมหาศาลอีกด้วย

หวังจริง ๆ ว่า วันพรุ่งนี้จะเป็นวันสุดท้ายในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยจะมีกฏหมายนี้บังคับใช้ครับ”

สมาคมคราฟท์เบียร์ ยก 5 เหตุผล

สมาคมฯคราฟท์เบียร์ สนับสนุนแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยว ตามนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวกับกฎหมายกำหนดเวลาห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พศ. 2558 กำหนดให้มีข้อจำกัดในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น การห้ามจำหน่ายในวันสำคัญทางศาสนา (วันพระใหญ่) และในช่วงเวลา 14.00 – 17.00 น. ซึ่งข้อกำหนดนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจคราฟท์เบียร์ที่กำลังเติบโตและมี Brewpub กระจายตัวในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงไวน์ และสุราชุมชน

ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม

ข้อจำกัดด้านเวลาดังกล่าวสร้างอุปสรรคให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่ต้องการใช้บริการร้านอาหาร, Brewpub, ผับ และบาร์ แต่ไม่สามารถซื้อหรือบริโภคเครื่องดื่มได้อย่างอิสระ ซึ่งกระทบต่อรรยากาศและประสบการณ์ท่องเที่ยวที่ดี รวมถึงสร้างความเสียหายต่อธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และค้าปลีก อาจทำให้สูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจได้

การพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและภาคธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม ถือเป็นซอฟต์พาวเวอร์สำคัญของประเทศไทย ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างโอกาสในการจ้างงาน รัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางระดับโลก โดยมุ่งเน้น การดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพ กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ (MICE) และสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ โดยมีอัตลักษณ์และความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นจุดขาย

จุดยืนของสมาคมฯคราฟท์เบียร์

สมาคมฯคราฟท์เบียร์เห็นควรว่า การพิจารณาปรับปรุงหรือแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเวลาห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ลดอุปสรรคต่างๆ ต่อการประกอบธุรกิจ จะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว

แนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอุตสาหกรรมคราฟท์เบียร์

– การจัด Brewery Tour นำเสนอเอกลักษณ์ของ Brewpub แต่ละแห่งพร้อมกิจกรรมพิเศษเฉพาะพื้นที่

– เปิดให้เยี่ยมชม โรงสุราชุมชน พร้อมสาธิตกระบวนการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยใช้วัตถุดิบท้องถิ่น

– ส่งเสริมการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นของฝาก โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาในการจำหน่าย

แนวทางส่งเสริมวัฒนธรรมการดื่มอย่างรับผิดชอบ

– บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี หรือผู้ที่มึนเมาเกินควร รวมถึงการควบคุมอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการเมาแล้วขับ

– ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการสร้างวัฒนธรรมการดื่มอย่างรับผิดชอบ

– เพิ่มการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับการดื่มอย่างพอเหมาะ และผลกระทบจากการดื่มที่เป็นอันตราย เช่น การเมาแล้วขับ และการดื่มก่อนวัยอันควร โดยใช้แนวทางป้องกันเชิงรุก

เปิดข้อกฏหมายห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วันพระ

ทั้งนี้ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางพุทธศาสนา 5 วัน ได้แก่ วันมาฆบูชา, วันวิสาขบูชา, วันอาสาฬหบูชา, วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2567 เป็นต้นมา โดยให้ยกเว้นการขายในอาคารที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารภายในสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ

โดยร้านค้าและผู้ประกอบการให้งดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ทั้งชนิดขายส่งและขายปลีกทั่วราชอาณาจักร ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่หลังเวลา 24.00 น. ของคืนวันสำคัญทางพุทธศาสนา 5 วันดังกล่าว ไปจนถึงเวลา 24.00 น. ของคืนอีกวัน (ยกเว้นการขายเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ)

หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ