ด่วน! วาระ ครม. พิจารณา พ.ร.บ. โรคติดต่อ ยกระดับคุมโควิด

ประชาชน เดิน

คณะรัฐมนตรี เตรียมพิจารณา ประกาศใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ควบคุมไวรัสโคโรนา 2019 ระบาดรอบใหม่

วันที่ 22 ธันวาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ล่าสุด ที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เตรียมเสนอ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณายกระดับการบังคับใช้ขั้นสูงสุดในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ 2558

การพิจารณา พ.ร.บ.ควบคุมโรค เป็นการเพิ่มอำนาจให้กับคณะกรรมการควบคุมโรค ให้สามารถออกมาตรการต่าง ๆ ได้ แต่ไม่มีผลกระทบในเรื่องของการปฎิบัติ โดย พ.ร.บ. ดังกล่าว จะมีการบังคับใช้ควบคู่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558

  • หมวด 7 เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ มาตรา 45 ระบุว่า เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงาน ควบคุมโรคติดต่อมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
(2) เข้าไปในพาหนะอาคาร หรือสถานที่ใดๆในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของอาคารหรือสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และหากยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ในเวลาดังกล่าวให้สามารถดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จ

การดำเนินการตาม (2) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตาม (2) ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร

  • หมวด 9 บทลงโทษ

มาตรา 49 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ คณะกรรมการ ด้านวิชาการ หรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา 18 หรือคำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตามมาตรา 22 (6) หรือคำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อ กรุงเทพมหานครตามมาตรา 28 (6) หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามมาตรา 45 (1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 50 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 51 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุม โรคติดต่อตามมาตรา 34 (1) (2) (5) หรือ (6) มาตรา 39 (1) (2) (3) หรือ (5) มาตรา 40 (5) หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามมาตรา 39 (4) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 52 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุม โรคติดต่อตามมาตรา 34 (3) (4) (7) หรือ (8) หรือมาตรา 40 (3) หรือ (4) หรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา 35 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 53 ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 38 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 54 เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 40 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 55 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงาน ควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 45 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 56 ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 46 กระทำการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่น เชื่อว่าตนมีสิทธิต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 57 บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจ เปรียบเทียบได้ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบที่คณะกรรมการกำหนด

เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา