เรียกคืนเครื่องราชฯ สิระ-เสรีพิศุทธ์ ต้องขอข้อมูลผ่านศาล-ป.ป.ช.เท่านั้น

ธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส
ธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส

ธีระพงษ์-ที่ปรึกษานายกฯ อดีตเลขาครม. แจง ข้อกฎหมาย เสรีพิศุทธ์ ขอข้อมูล สิระ รับรองประวัติขอเครื่องราชฯ เป็นเท็จ สลค.ไม่มีอำนาจให้ข้อมูลส่วนบุคคล ยกเว้น ขอผ่าน ศาล-ป.ป.ช.-กก.ข้อมูลข่าวสารเท่านั้น เรียกคืนเครื่องราชฯ สิระ รอหน่วยงานต้นเรื่องชง

วันที่ 26 ธันวาคม 2564 นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เตรียมยื่นเรื่องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางเอาผิดอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157

เนื่องจากไม่ให้ข้อมูลการรับรองประวัติของตัวเองในการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของนายสิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยพ้นสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.เนื่องจากมีประวัติต้องคำพิพากษาศาลแขวงปทุมวัน คดีฉ้อโกง ว่า

ที่ผ่านมาสภาได้ขอมาหลายเรื่อง ไม่ใช่กรณีของนายสิระเท่านั้น แต่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ไม่สามารถให้ได้ เนื่องจากไม่มีอำนาจให้ข้อมูลส่วนบุคคลอื่นแก่หน่วยงานใด และเจ้าของข้อมูลต้องยินยอม เช่น ประวัติ เวลาใครก็ตามที่ขอข้อมูลประวัติ สลค.ไม่เคยให้ สลค.ไม่สามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลไปเปิดเผยโดยผละการไม่ได้ ยกเว้น ศาล สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือ ใช้ช่องทางกรรมการข้อมูลข่าวสาร ขอมา สคล.ไม่ขัดข้อง

นายธีระพงษ์กล่าวว่า การอ้างถึง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มาตรา 4 ไม่ใช้บังคับแก่สภา แต่สคล.มองว่า บังคับใช้กับ สลค. สลค.ไม่สามารถนำประวัติของบุคคลอื่นไปเปิดเผยได้ สลค.ไม่มีอำนาจ ซึ่ง สลค.ยึดถือเป็นหลักการแนวปฏิบัติมาโดยตลอด คำว่ากฎหมายนี้ไม่ใช้กับสภา ไม่ได้แปลว่าสภามีอำนาจเรียกเอกสารที่อยู่กับส่วนราชการทั้งหมดได้ นอกจากนี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้ว่า การใช้อำนาจกมธ.เรียกข้อมูล ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

“หลักการ กฎหมายไม่ใช้กับสภา แต่กฎหมายใช้กับ สลค. ซึ่ง สลค.ไม่มีอำนาจนำข้อมูลส่วนบุคคลไปมอบให้หน่วยงานอื่น ยกเว้น ศาล ป.ป.ช. หรือ หน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย เช่น กรรมาการข้อมูลสาร สคล.ยินดีให้ 100 % ไม่เคยขัดข้อง และการบอกว่าจะดำเนินคดีตาม มาตรา 157 ถือเป็นการกล่าวหาว่า เป็นคนทุจริต ไม่ถูกต้อง”นายธีระพงษ์กล่าว

ทั้งนี้ กรณีเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นายสิระ ตามหลักการต้องเรียกคืนแน่นอน ซึ่งต้องพิจารณาว่าขอในสถานะใดและหน่วยงานใดเป็นเป็นผู้ขอต้องเสนอเรื่องขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น สภา