ส่อวุ่น! อีอีซีย้ำหมุด “กลุ่มซี.พี.” มีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลกรณีประมูล “เมืองการบินอู่ตะเภา” เผยไม่รับพิจารณาซองยื่นเกินเวลา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด (เครือ ซี.พี.) บริษัท Orient Success International Limited บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด

ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับมติและคำสั่งของคณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

ล่าสุดทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้ชี้แจงว่าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินนานาชาติ

และรองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการบินของประเทศ และเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ภายในพื้นที่ EEC ให้เป็นเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) ของประเทศไทย รวมทั้งพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ในระดับภูมิภาค

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2561 คณะกรรมการนโยบายมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการฯ และการประชุมคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 มีมติอนุมัติในหลักการและอนุมัติวงเงินตามที่คณะกรรมการนโยบายเสนอ

ทั้งนี้ กองทัพเรือในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการ จึงได้ดาเนินการเปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เมื่อวันที่ 16 – 29 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งมีเอกชนจากประเทศไทยและต่างประเทศให้ความสนใจเข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนของโครงการฯ จานวนทั้งสิ้น 42 ราย และได้กาหนดให้มีการรับซองข้อเสนอในวันที่ 21 มีนาคม 2562

ผลสรุปคือมีกลุ่มบริษัทเข้ายื่นข้อเสนอ จานวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จากัด (มหาชน) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จากัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จากัด (มหาชน)

2.กลุ่ม Grand Consortium ประกอบด้วย บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จากัด (มหาชน) บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จากัด (มหาชน) และบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จากัด

3.กลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จากัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด บริษัท Orient Success International Limited บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จากัด (มหาชน) บริษัท ช.การช่าง จากัด (มหาชน) และบริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จากัด

ในการรับซองข้อเสนอในวันและเวลาดังกล่าว กองทัพเรือได้ดาเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (RFP) ซึ่งกำหนดให้เอกชนผู้สนใจยื่นข้อเสนอมายื่นข้อเสนอระหว่างเวลา 09.00-15.00 น. ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกได้รับข้อเสนอของกลุ่มผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 3 รายที่ได้ยื่นภายในกำหนดเวลา 15.00 น. ไว้พิจารณาแล้ว โดยคณะกรรมการคัดเลือกจะไม่พิจารณาเอกสารข้อเสนอที่ผู้ยื่นข้อเสนอมายื่นเพิ่มเติมภายหลังจากเวลา 15.00 น.

ในส่วนที่เอกชนผู้ยื่นข้อเสนอบางรายอาจไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการของคณะกรรมการคัดเลือกก็เป็นสิทธิ์ของผู้ยื่นข้อเสนอจะใช้กระบวนการตามที่กฎหมายกำหนด

คณะกรรมการคัดเลือกจะดาเนินการตามขั้นตอนที่ระบุในเอกสารการคัดเลือกเอกชน กล่าวคือ เมื่อตรวจสอบเอกสารข้อเสนอซองที่ 1 เสร็จแล้ว จะประกาศผลให้ผู้ยื่นข้อเสนอทราบและเชิญผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินซองที่ 1 มาร่วมเปิดเอกสารข้อเสนอซองที่ 2 (ข้อเสนอเทคนิค) โดยคาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นกระบวนการประเมินข้อเสนอจนได้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเอกชนหลังเปิดซองที่ 2 ภายในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอว่ามีมากน้อยเพียงใด

ในขณะนี้คณะกรรมการคัดเลือกกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 ของผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 3 ราย โดยการยื่นข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายนั้นเป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกนิติบุคคลที่มีความสนใจในการเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการ

ซึ่งเมื่อรวมจำนวนสมาชิกของผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 3 รายแล้ว มีนิติบุคคลที่เป็นสมาชิกทั้งสิ้นจำนวน 11 บริษัท นอกจากนี้ ผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายยังได้เสนอใช้ผู้รับจ้างที่มีนัยสำคัญต่อโครงการ ซึ่งมีผู้รับจ้างของผู้ยื่นข้อเสนอทุกรายรวมทั้งสิ้น 6 บริษัท

ดังนั้น เมื่อรวมจำนวนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเสนอจึงมีถึง 17 บริษัท ซึ่งต้องดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของนิติบุคคลทุกบริษัทอย่างละเอียดและรอบคอบ

ในขณะนี้เอกสารข้อเสนอซองที่ 1 ส่วนใหญ่ได้รับการตรวจสอบและมีความก้าวหน้าไปในระดับหนึ่งแล้ว คาดว่าจะประเมินข้อเสนอซองที่ 1 แล้วเสร็จได้ในอีก 1-2 สัปดาห์

ด้วยโครงการนี้เป็นการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ กองทัพเรือและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในฐานะหน่วยงานหลักร่วมกันในการผลักดันเขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก : เมืองการบินภาคตะวันออก (Special EEC Zone : Eastern Airport City) ให้เป็นรูปธรรม

พร้อมด้วยคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการซึ่งประกอบด้วยผู้แทนหลายหน่วยงาน จะดำเนินการตามเงื่อนไขในเอกสารการคัดเลือกเอกชนและดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ยุติธรรม และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย นอกจากนี้โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาได้เข้าร่วมโครงการข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)


ซึ่งมีการแต่งตั้งผู้แทนจากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) จำนวน 5 ท่าน เป็นผู้สังเกตการณ์อิสระเข้าร่วมการประชุมและการดำเนินการของคณะกรรมการคัดเลือกอย่างต่อเนื่องตลอดกระบวนการ