ครม.ไฟเขียวแผนฟื้นฟูขสมก. เซตซีโร่หนี้1.28แสนล้านเช่าซื้อรถเมล์ใหม่3พันคัน-เออร์รี่กระเป๋า5พันคน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โดยมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มีมติให้เสนอแผนฟื้นฟูให้ครม.เห็นชอบเมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา

กรอบของแผนฟื้นฟูมี 7 เรื่อง 5 กลุ่มงาน ได้แก่ กลุ่มแรก การปรับปรุงและการจัดหารถใหม่ทดแทน จำนวน 3,000 คัน ซึ่งจะต้องทบทวนมติ ครม.เดิมเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2556 ที่เห็นชอบการจัดหารถเมล์ใหม่ 3,183 คัน วงเงินรวม 13,162 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างการขอทบทวนมติ ครม.ดังกล่าวกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ซึ่งสภาพัฒน์แนะนำว่า ควรให้แผนฟื้นฟูผ่าน ครม.ก่อน จึงจะเสนอขอทบทวนมติ ครม.ดังกล่าว

นายอาคมขยายความว่า สิ่งที่จะขอทบทวนได้แก่ ขอปรับลดจำนวนรถเมล์จาก 3,183 คัน มาเป็น 3,000 คัน, การจัดหารถใหม่ จะแบ่งเป็นการเช่าและซื้อรวมกัน สำหรับรถเมล์ที่จะดำเนินการเช่า จำนวน 700 คัน ระยะเวลาเช่า 7 ปีพร้อมบำรุงรักษา มีประเภท NGV 300 คัน วงเงิน 1,855 ล้านบาท และ Hybrid อีก 400 คัน วงเงิน 3,568 ล้านบาท

และรถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่ แบ่งเป็น NGV 489 คัน ที่ได้จัดซื้อครบแล้วก่อนหน้านี้, รถ Hybird 1,453 คัน, รถเมล์ไฟฟ้า (EV) 35 และการปรับปรุงสภาพรถเดิม (Refurbished) อีก 323 คัน วงเงินรวม 138 ล้านบาท โดยการจัดหารถทั้ง 3,000 คัน อยู่ระหว่าการพิจารณาของสภาพัฒน์เช่นกัน

นอกจากรถแล้ว จะมีแผนนำระบบเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ เช่น E-Ticket, GPS, Wifi internet และการทำ Smart Bus Stop เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการยกระดับการให้บริการประชาชน

กลุ่มที่ 2 การปฏิูรูปเส้นทางรถเมล์ 137 เส้นทาง เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของรถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑล ละลดการทับซ้อนกับเส้นทางรถไฟฟ้าดังกล่าวด้วย ขณะนี้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะหน่วยงานดูแลการปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ กำลังทำข้อมูลเพื่อเสนอสภาพัฒน์ต่อไป

กลุ่มที่ 3 การปรับโครงสร้างองค์กรให้กระชับขึ้น โดยเฉพาะการให้พนักงานเกษียณก่อนกำหนด (Early Retire) ปัจจุบัน ขสมก.มีจำนวนพนักงาน 13,599 คน (ข้อมูลเดือน ส.ค. 2561) คิดเป็นสัดส่วนต่อรถ 1 คัน ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายของพนักงาน 5.14 คน ดังนั้นจะต้องปรับสัดส่วนต่อรถ 1 คันให้เหลือ 2.7 คน/คัน คิดเป็นเป้าพนักงานเออร์ลี่รีไทร์อยู่ที่ 5,051 คน ใช้งบประมาณ 6,000 ล้านบาท แบ่งเป็นปีแรก 655 คน ปีที่ 2-3 ปีละ 2,198 คน และต้องปรับเปลี่ยนทักษะพนักงาน เช่น การให้พนักงานหญิงมาขับรถมากขึ้น เป็นต้น

กลุ่มที่ 4 การพัฒนาเชิงธุรกิจ จะพัฒนาในลักษณะเดียวกับ TOD ของรถไฟฟ้า เบื้องต้นมี 2 แห่งที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนา คือ อู่บางเขนและอู่มีนบุรี และกลุ่มที่ 5 การบริหารหนี้สินที่สะสมอยู่ประะมาณ 128,000 ล้านบาท ซึ่งมีข้อเสนอไปยังกระะทรวงการคลัง เพื่อขอภาระหนี้ตรงนี้ไปก่อนแล้ว โดยไม่รวมหนี้ใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลัง

สำหรับภาระหนี้ทั้ง 128,000 ล้าบาท แบ่งเป็นหนี้จากนโยบายรัฐกับหนี้ประสิทธิภาพ หนี้นโยบายรัฐเกิดจากการอุ้มค่าโดยสารในช่วงที่ราคาเชื้อเพลิงปรับราคาสูงขึ้น ,การซ่อมบำรุงรถเก่า และหนี้จากการเติมค่าเชื้อเพลิง ก็คาดว่าขั้นต่อไปอาจจะต้องตั้งคณะะทำงานร่วมกับกรทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ เพื่อดูแลตัวเลขหนี้รวมทั้งหมด

ด้านนายประยูร ช่วยแก้ว รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า สำหรับแผนงานต่างๆ กำหนดไว้คร่าวๆ ดังนี้ หลังครม.เห็นชอบแล้ว ก็จะเป็นพิจารณาเรื่องวงเงินกู้สำหรับการปรับปรุงสภาพรถ 323 คัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาพัฒน์ หลังจากนั้นจะหารือกับผู้ประกอบการที่ได้คัดเลือกไว้แล้ว คาดว่าในเดือน ต.ค.นี้จะเริ่มปรับปรุงทั้ง 323 คัน และจะเสร็จทั้งหมดในเดือน มิ.ย. 2563

ส่วนการวางระบบอินเตอรืเน็ต WiFi บนรถโดยสารจะเริ่มและเสร็จทั้งหมดในปี 2562 ส่วนการขอใบอนุญาตการปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ 137 เส้นทาง คาดว่าจะขอจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้ในปีนี้เช่นกัน

ขณะที่ในปี 2563 คาดว่าจะจัดหารถเช่าทั้ง 700 คัน จะได้รถทั้งหมด ไตรมาส 2-3 ปีหน้า เท่ากับว่าปีหน้าจะได้รถทั้งหมด 1,058 คัน, การให้พนักงานเออร์ลี่ไทร์เฟส 1, การพัฒนาพื้นที่เชิงธุรกิจ น่าจะเกิดขึ้น ส่วนในปี 2564 การจัดหารถ Hybird 700 คัน, การให้พนักงานเออร์ลี่รีไทร์เฟส 2 จะเกิดขึ้น และในปี 2565 การจัดซื้อรถ Hybird ที่เหลือ 753 คัน โครงการเออร์ลี่รีไทร์เฟส 2 อีก 2,000 คน น่าจะเกิดขึ้น

“เราคาดว่าจะเริ่มมีสภาพคล่องไม่ติดลบในปี 2566 และจะเริ่มมีกำไรในปี 2586”