
นายดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยว่า การศึกษาแนวทางการบริหาร และพัฒนาท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยานได้จ้างศูนย์วิจัยและบริการวิชาการการขนส่งทางอากาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่ปรึกษาโครงการ
และในวันที่ 20 พ.ย. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการท่าอากาศยาน
ผลการศึกษาขีดความสามารถด้านการขนส่งและด้านการเงินของท่าอากาศยานในสังกัดกรม พบว่ามีปริมาณเที่ยวบินและผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสูงถึง 25% (2552-2559) จากท่าอากาศยาน 17 แห่งที่มีผลกำไรจากการดำเนินการและในระยะ 20 ปีจากปัจจุบันมีอยู่ 28 แห่งจะมีท่าอากาศยานที่สามารถทำกำไรเพิ่มขึ้น เป็น 25 แห่ง
- ชัชชาติ ผู้ว่าฯ กทม.หย่าภรรยามาแล้ว 5 ปี มีทรัพย์สินลดลง 31 ล้าน
- คนละครึ่งเฟส5 รับ 800 บาท ลงทะเบียน ยืนยันสิทธิวันไหน ช่องทางใด
- หวั่นสงคราม “ชิป” ป่วนโลก “เสี่ยวหมี่” เล็งปักหมุดอีอีซี
“ขณะนี้กรมมีรายได้เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,600 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายบริหารจัดการ 800 ล้านบาท กำไร 800 ล้านบาท”
อย่างไรก็ตาม กรมท่าอากาศยานกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่เป็น “ท่าอากาศยานแห่งการสร้างคุณค่าและโอกาส” โดยมีแนวทางนำโครงการนำร่องเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนในการบริหารและพัฒนาท่าอากาศยาน คือการให้สิทธิการบริหารแก่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ในการบริหารท่าอากาศยานอุดรธานีและตาก
“เนื่องจาก ทอท.ยังขาดท่าอากาศยานฝั่งตะวันตกและตะวันออกเฉียงเหนือ จึงให้สิทธิบริหารอุดรธานีเพราะเป็นท่าอากาศยานที่มีศุลกากร ใกล้ประเทศลาว สามารถทำการบินระหว่างประเทศได้ ส่วนตากยังไม่มีสายการบินเชิงพาณิชย์ปัจจุบันใช้สำหรับทำฝนหลวง คาดว่า ทอท.จะผลักดันให้เกิดการบินเชิงพาณิชย์ได้ หลังจากนี้ต้องเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปในเรื่องรูปแบบการให้ ทอท.บริหารภายในเดือน พ.ย.นี้” นายดรุณกล่าวและว่า
นอกจากนี้จะให้เอกชนร่วมลงทุนในการพัฒนาท่าอากาศยาน 4แห่ง ได้แก่ ลำปาง, เพชรบูรณ์, นครราชสีมา และชุมพร รูปแบบการร่วมทุนขึ้นอยู่กับผลการศึกษา และยกระดับการบริหารท่าอากาศยาน สร้างความคุ้มค่าด้านต้นทุน เพิ่มมูลค่าต่างๆ ให้กับผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างโอกาสให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน SME หรือผู้ประกอบการรายใหม่