
การเผชิญหน้าทางเศรษฐกิจระหว่างรัสเซียกับชาติยุโรป ตึงเครียดขึ้น เมื่อปูตินยื่นคำขาดให้ยุโรปจ่ายค่าก๊าซเป็นเงินรูเบิล แต่ต่อมาลดดีกรีลง ยอมให้จ่ายเป็นเงินดอลลาร์ หรือเงินยูโรได้
วันที่ 1 เมษายน 2565 สำนักข่าว เอพี รายงานว่า ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ออกคำสั่งเรียกเก็บเงินค่าก๊าซธรรมชาติ จากชาติยุโรป เป็นสกุลเงินรูเบิล ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้ มิเช่นนั้นจะพิจารณาตัดการส่งก๊าซ แต่ต่อมาอนุโลมให้จ่ายเป็นสกุลดอลลาร์ และสกุลยูโร ผ่านธนาคารที่กำหนดไว้
- ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจผลรางวัล งวด 1 เม.ย. 66 (อัพเดต)
- 12 นิสิตเก่า ‘สิงห์ดำ’ ดีเด่น ปี 66 ความภาคภูมิใจ ‘รัฐศาสตร์ จุฬาฯ’ สถาบันผลิตบุคลากรชั้นนำของประเทศ
- Café Amazon เฉลยเอง ไวรัลนกหน้าร้านสะดวกซื้อ กำลังจะเกิดอะไรขึ้น?
ความเคลื่อนไหวนี้สะท้อนถึงจุดอ่อนที่ยุโรปต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าและใช้สำหรับเครื่องทำความร้อนตามบ้านเรือน

ขณะที่ชาติยุโรปหลายประเทศมีชื่ออยู่ในกลุ่ม “ประเทศไม่เป็นมิตร” ของรัสเซีย เนื่องจากใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียอย่างหนักหน่วง เพื่อตอบโต้ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครน
สำหรับคำสั่งของปูตินเผยแพร่ตามสื่อรัสเซียเมื่อวันที่ 31 มี.ค. หนึ่งวันหลังจากปูตินรับปากอิตาลีและเยอรมนีแล้วว่าจะส่งก๊าซธรรมชาติให้ตามที่เคยมีสัญญา แต่ต่อมายื่นคำขาดให้จ่ายเป็นสกุลเงินรูเบิล
นายปูตินกล่าวอย่างดุดันว่า รัสเซียจะเริ่มรับค่าก๊าซเป็นสกุลเงินรูเบิล ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 เม.ย. และสัญญาจะยุติลงหากผู้ซื้อไม่ลงนามยอมรับเงื่อนไขใหม่ รวมถึงการเปิดบัญชีเงินรูเบิลกับธนาคารรัสเซีย

“ถ้าไม่มีการจ่ายเงิน เราจะพิจารณาว่าผู้ซื้อไม่อาจทำตามข้อกำหนด และจะต้องรับผลที่ตามมา” ปูตินกล่าว โดยวาทะนี้สร้างความปั่นป่วนในยุโรปไม่น้อย เช่น เยอรมนีประกาศคำเตือนครั้งแรกว่าด้วยภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน มีผลให้จำกัดการใช้ก๊าซในภาคอุตสาหกรรมเพื่อเก็บไว้ให้ครัวเรือนและโรงพยาบาล ขณะที่รัฐบาลเยอรมนีแถลงประณามวิธีนี้ของรัสเซีย ว่าเหมือนการแบล็กเมล์
อย่างไรก็ตาม ต่อมาคำสั่งมาพลิกอีกครั้ง เมื่อปูตินอนุญาตให้ประเทศคู่สัญญาจ่ายเงินสกุลต่างประเทศผ่านธนาคารของรัสเซียที่รัฐบาลกำหนดไว้ สำหรับปรับแลกสกุลเงินให้เป็นรูเบิล

สำนักข่าว RIA Novosti ของรัสเซีย รายงานว่า ธนาคารที่รัฐบาลรัสเซียกำหนดไว้เพื่อการนี้จะเปิดสองบัญชีให้ผู้ซื้อแต่ละราย บัญชีหนึ่งเป็นสกุลเงินต่างประเทศ และอีกบัญชีเป็นสกุลเงินรูเบิล หากผู้ซื้จ่ายเงินด้วยกระแสเงินต่างประเทศ ทางฝ่ายธนาคารจะแลกเป็นเงินรูเบิล แล้วจึงฝากเงินรูเบิลเข้าไว้ในบัญชีที่สอง สำหรับค่าก๊าซที่จ่ายเสร็จอย่างเป็นทางการ
นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า การที่รัสเซียต้องพึ่งก๊าซและน้ำมันเป็นรายได้หลักของรัฐ และมาเจอสถานการณ์แซงก์ชั่นที่บีบคั้น จนต้องเรียกเก็บเงินเป็นสกุลรูเบิล จะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินของรัสเซียเพียงเล็กน้อย เพราะบริษัทกาซพรอมของรัฐขายรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างชาติ 80% ออกเป็นเงินรูเบิลอยู่ดี

ก่อนปูตินจะมีคำสั่งนี้ นายมาริโอ ดรากี นายกรัฐมนตรีอิตาลีเผยว่า ได้รับคำรับประกันจากนายปูตินระหว่างการสนทนาทางโทรศัพท์นาน 40 นาที ว่าชาติยุโรปไม่ต้องจ่ายเป็นเงินรูเบิล ให้จ่ายเป็นเงินดอลลาร์หรือเงินยูโรต่อไปได้ อีกทั้งยังบอกว่าไม่ต้องกลัวว่ารัสเซียจะตัดการส่งก๊าซไปให้