รู้ไว รักษาทัน โรคหลอดเลือดสมอง … เพราะทุกนาทีหมายถึงชีวิต

นพ. อภิชาติ พิศาลพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือที่คนมักเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากหลอดเลือดในสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ จากสถิติปี 2022 พบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับที่  2 ของประชากรโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่เพียงแต่ผู้สูงอายุ แม้แต่คนวัยทำงานที่อายุยังน้อยก็อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยสาเหตุที่ต่างกัน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความอ้วน รวมทั้งการนอนหลับที่ผิดปกติ อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ เดินเซ เวียนศีรษะ บ้านหมุนฉับพลัน ตามัว มองไม่เห็น พูดไม่ชัด ยิ้มแล้วมุมปากตก และแขนขาอ่อนแรง หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบนำตัวผู้ป่วยส่ง รพ. ทันที  โดยถ้าจะให้ได้ผลการรักษาที่ดี ลดโอกาสพิการและเสียชีวิต ควรถึงมือแพทย์ภายใน 4.5 ชม. นับตั้งแต่สังเกตเห็นอาการ ซึ่งถือว่าเป็น Magic Number สำหรับการรักษาผู้ป่วยให้ทันท่วงที โดยแพทย์จะสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือ rtPA ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดและไม่พบภาวะเลือดออกในสมอง จะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ทัน 

แต่สำหรับผู้ป่วยที่มาช้าเกิน 4.5 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเซลล์สมองยังไม่ตายจากการอุดตันของลิ่มเลือดขนาดใหญ่ การให้ยา rtPA อาจไม่ทำให้อาการดีขึ้น ต้องใช้การรักษาโดยใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือดสมอง โดยแพทย์จะพิจารณาว่าควรจะใช้วิธีการดูด หรือนำลวด หรือตะแกรงเข้าไปเกี่ยวลิ่มเลือดที่อุดตัน ซึ่งแพทย์จะใช้เครื่อง Bi-Plane DSA (ไบเพลน ดีเอสเอ) ที่สามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด เพื่อดึงลิ่มเลือดอุดตันออกมาโดยไม่ต้องเปิดกะโหลกศีรษะ แต่จะมีแผลขนาดเล็กที่ขาหนีบตรงบริเวณที่ใส่สายสวนเท่านั้น 

เครื่องเอกซเรย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด (Bi-plane DSA) และห้องผ่าตัด Hybrid OR

ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลให้การดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมองโดย มีการใช้ระบบ Smart ICU ซึ่งเป็นนวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เก็บรวบรวมข้อมูลทางคลินิกต่างๆ ของผู้ป่วยแต่ละราย มีการประมวลผลอย่างแม่นยำและนำเสนอข้อมูลแบบ real-time เอื้อต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤติทางสมองโดยอายุรแพทย์ด้านผู้ป่วยวิกฤติ โรคสมองและระบบประสาท ข้อมูลที่จำเป็นต่อการรักษาทั้งหมดจะถูกบันทึกและสามารถทำมาเปรียบเทียบเพื่อประกอบการตัดสินใจรักษาผู้ป่วยได้ตลอดเวลาทั้งใน ICU และเพื่อรองรับระบบการปรึกษาทางไกล (telemedicine) หลักการของ real-time data collection  และ action-reaction ยังช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถติดตามผลการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับตลอดเวลาและสามารถปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายได้ตามหลักของ Precision and personalized medicine โดยหลังจากการรักษาแล้วผู้ป่วยจะได้รับการดูแลโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและทีมนักกายภาพ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยี WalkBot หุ่นยนต์ฝึกเดินที่จะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพกล้ามเนื้อ และกระตุ้นระบบประสาท เพิ่มความมั่นใจให้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วยิ่งขึ้น 

หุ่นยนต์ฝึกเดินบนลู่วิ่งออกกำลัง (WalkBOT) สำหรับฟื้นฟูกล้ามเนื้อและกระตุ้นระบบประสาทให้ฟื้นตัว

นอกจากนี้ ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ยังพร้อมให้การดูแลรักษา ทุกปัญหาที่เกี่ยวกับสมองและระบบประสาท โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ ทั้งทางด้านอายุรกรรม ศัลยกรรมทางสมองเเละระบบประสาท รวมถึงแพทย์สหสาขาวิชา ทั้งแพทย์ด้านการดูแลผู้ป่วยขั้นวิฤต แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ ฯลฯ ที่มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคสมองและระบบประสาท พร้อมด้วยเครื่องมือ เทคโนโลยีในการรักษา โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการรักษาที่ต้นเหตุและป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ร่วมกับการฟื้นฟูสมองโดยคำนึงถึงผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ภายใต้  Concept   :  SMART  คือ  S  : Specialist   แพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา  M :  Modern   การออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคล ที่ได้มาตรฐานและวิธีการที่ทันสมัย   A : Advanced   มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  R :  Reputation เป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงและเป็นไปตามมาตรฐานสากล  และ T : Technology  มีการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและทันสมัยในการตรวจวินิจฉัยและรักษา ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้ทันท่วงทีโดยผ่านศูนย์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยบีดีเอ็มเอส   BDMS  Medevac Center   ซึ่งสามารถประเมินและจัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ  พร้อมทั้งมีการเชื่อมโยงรพ. ในเครือข่ายเพื่อให้การช่วยเหลือ รับปรึกษา  ส่งต่อในกรณีที่ต้องการและติดตามการรักษาด้วย telemedicine (การรับปรึกษาทางระบบทางไกล)  โดยกระบวนการในการรักษาผู้ป่วยโรคทางสมองและระบบประสาทได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการรักษาในระดับสากล  JCI (Joint Commission International) จากประเทศสหรัฐอเมริกา