เปิดความผิดและโทษเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าว

รู้หรือไม่? นายจ้างรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน เข้าทำงาน โทษสูงสุด 1 แสนบาท 

วันที่ 23 ธันวาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานกรณี แรงงานเมียนมา 14 คน ทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย อ้างว่า นายจ้างในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ไม่ให้ทำงานต่อ เนื่องจากเกรงว่าเจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจสอบโรงงาน เพื่อคุมเข้มมาตรการโควิด จึงให้คนขับรถนำแรงงานเมียนมาไปส่งนอกพื้นที่ ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น

“ประชาชาติธุรกิจ” ตรวจสอบข้อมูล ลักษณะความผิดและโทษเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าว (ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551) จากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน ได้ข้อมูลน่าสนใจ ดังนี้

นายจ้าง

ลักษณะการกระทำผิด
บทลงโทษ
– รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน
(มาตรา 27)
– ปรับตั้งแต่ 10,000 ถึง 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน (มาตรา 54)
– รับคนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงาน
แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานกับตน
(มาตรา 27)
– ปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 54)
– ให้คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานกับตน ทำงานนอกเหนือจากประเภทหรือลักษณะงาน ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ณ ท้องที่ หรือสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต (มาตรา 27) – ปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 54)
– ไม่ปฏิบัติตามหนังสือสอบถามหรือหนังสือเรียกหรือไม่ยอมให้ข้อเท็จจริง หรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยไม่มีเหตุอันควร (มาตรา 48) – ปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 55)

คนต่างด้าว

ลักษณะการกระทำผิด
บทลงโทษ
– ทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
(มาตรา 51)
– จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับ
ตั้งแต่ 2,000 ถึง 100,000 บาท
หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

** ในกรณีที่คนต่างด้าวซึ่งถูกกล่าวหา
ว่ากระทำความผิดยินยอมเดินทาง
กลับออกนอกราชอาณาจักรภายใน
ระยะเวลาที่กำหนด (ไม่ช้ากว่า 30 วัน)
พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับ
และดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้น
เดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรก็ได้ (มาตรา 51)

– ฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 มาตรา 13 และมาตรา 14

ไม่ทำงานตามประเภท หรือลักษณะงาน และกับนายจ้าง ณ ท้องที่ และตามที่ได้รับอนุญาต (มาตรา 26 วรรคแรก)

– ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
(มาตรา 52)
– ไม่มีใบอนุญาตทำงานอยู่กับตัว หรืออยู่ ณ สถานที่ในระหว่าง
เวลาทำงาน เพื่อแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือนายทะเบียน
(มาตรา 24)
– ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
(มาตรา 53)