บริบทคนเก่งยุคใหม่ รู้ลึก-รู้กว้าง-ทักษะทำงานหลากหลาย

นิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล
นิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล Director of Product Marketing, YourNextU by SEAC (เอสอีเอซี) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน

ต้องยอมรับว่าคนทำงานในปัจจุบันต้องเจอกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน การใช้ทักษะเพื่อแก้ปัญหาด้วยวิธีใหม่ ๆ รวมถึงสร้างผลลัพธ์ในบริบทงานที่เปลี่ยนไป ทำให้ไม่สามารถใช้ชุดทักษะในสายงานที่มีอยู่เดิมเพียงอย่างเดียว เพราะต้องขับเคลื่อนผลลัพธ์ใหม่ด้วยความรวดเร็วให้ได้

ขณะเดียวกัน ก็จำเป็นต้องพัฒนาทักษะแวดล้อมให้มีความคล่องตัว ทั้งยังต้องส่งมอบผลลัพธ์ (job outcomes) ด้วยการเติมทักษะรอบด้านที่จำเป็นในการทำงานรูปแบบใหม่ของแต่ละกลุ่มงาน (job-based skills) กล่าวคือ คนทำงานต้องมีความรู้และทักษะที่นอกเหนือจากสายงานของตัวเอง เรียกได้ว่ายิ่งมี “ทักษะรอบด้าน” มากเท่าไหร่ ยิ่งได้เปรียบมากเท่านั้น

“นิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล” Director of Product Marketing, YourNextU by SEAC (เอสอีเอซี) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า ปัจจุบันการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้โลก เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นคนรวมไปถึงธุรกิจในหลากหลายภาคส่วน ล้วนถูกผลกระทบในหลายมิติไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจถดถอย ภาวะตกงานจนทำให้เกิดอัตราการว่างงานเพิ่มมากขึ้น

“จนส่งผลให้เกิดความท้าทายใหม่ของคนทำงานในทุก ๆ ระดับที่มาพร้อมกับความคาดหวังที่เปลี่ยนไป คนเก่งในองค์กรอาจจะกลายเป็นแค่คน (เคย) เก่ง เมื่อไม่สามารถทำวิธีเดิมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์แบบเดิมบนบริบทธุรกิจที่เปลี่ยนไป องค์กรต่าง ๆ กำลังต้องการสร้าง multiskills talent pool ที่ช่วยให้องค์กรยืดหยุ่นคล่องตัวมากขึ้น และทลาย silo ให้คนในองค์กรที่แตกต่างกันสามารถต่อยอดและทำงานร่วมกันได้ดีมากขึ้น”

นิยามความเก่งจึงเปลี่ยนไปจนหลาย ๆ คนเกิดการตั้งคำถามตามมาว่าถ้าอยากเป็นคนเก่งยุคนี้ต้องเริ่มจากอะไร ?

“SEAC ในฐานะผู้นำด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต สิ่งหนึ่งที่เน้นย้ำเสมอ คือ เราต้องการกระตุ้นให้คนไทยเกิดการรีสกิล (reskill) และอัพสกิล (upskill) อย่างต่อเนื่อง ผ่านการพัฒนาศักยภาพผู้นำ บุคลากร และกลุ่มคนทำงานทุกระดับ ทั้งเรื่องของ mindset, hard skills และ soft skills”

“โดยเฉพาะการเรียนรู้เพื่อสร้างคนที่รู้กว้าง (multiskills profile) ในแบบ T-shaped และ M-shaped skills เพื่อพัฒนาทักษะทั้งแนวลึกและแนวกว้างที่ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ผนวกกับ learning mindset ซึ่งทำให้คนที่รู้กว้าง (multiskills profile) มีความได้เปรียบและเป็นที่ต้องการขององค์กรยุคนี้ เพราะนอกจากมีทักษะการเรียนรู้ที่รู้รอบ รู้ลึกแล้ว ยังผนวกองค์ความรู้ต่าง ๆ และเปิดรับสิ่งใหม่ ทำให้สามารถหมุนตัวเองและทำงานที่หลากหลายอย่างคล่องตัวและเชี่ยวชาญ”

“นิภัทรา” บอกว่า 3 ทักษะคนทำงานทุกระดับต้องเร่งพัฒนา ปี 2021-2022 เพราะการหมั่นพัฒนาทักษะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้

ดังนั้น สิ่งแรกที่ต้องมีคือ mindset ที่พร้อมจะเปลี่ยน หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนคือ ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ความไม่แน่นอนเดียวกันและเพื่อนร่วมงานของคุณมี growth mindset มองวิกฤตให้เป็นโอกาส

ทางกลับกันที่คุณมี fixed mindset ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เพื่อนร่วมงานก็จะนำหน้าไปก่อนอย่างแน่นอน เช่นเดียวกันกับองค์กรที่บริหารคนมากมาย อุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้ไวคือ การที่องค์กรไปให้ความสำคัญกับเครื่องมือในการช่วยเหลือมากเกินไป โดยละเลยพื้นฐานสำคัญอย่าง mindset จึงทำให้ไม่สามารถเกิดการ transform อย่างแท้จริง

หนึ่ง ทักษะการบริหารจัดการตัวเอง (self-management skills) – เริ่มต้นที่ mindset ว่าทำอย่างไรจะสามารถจัดการกับปัญหาหรือความเครียดที่เกิดขึ้น การมีมุมมองความคิดที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์จะทำให้เราสามารถปรับมุมมอง (reframe) ต่อสถานการณ์นั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี

พอเห็นโอกาสเกิดขึ้น เราก็จะสามารถกระตุ้นตัวเราไปให้ถึงเป้าหมาย

สอง ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (interpersonal skills) – การทำงานร่วมกับคนที่แตกต่างให้สามารถต่อยอดออกมาเป็นผลลัพธ์ที่ดีได้ โดยอาศัยการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (empathy) และการรับฟัง (listening) ในการทำงานร่วมกันระหว่างทีม ความท้าทายใหม่จะเกิดขึ้นระหว่างหัวหน้าและลูกน้องทั้งในและนอกแผนก

อีกทั้งใคร ๆ ก็สามารถเป็นผู้นำได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้ และตัวบุคคลเองก็สามารถมีทักษะภาวะผู้นำในตนเอง (self-leadership) หากเข้าใจถึงภาพใหญ่ว่าทำไมเราต้องเปลี่ยนการกระทำแบบเดิม ๆ เพื่อมุ่งพิชิตเป้าหมายองค์กรไปด้วยกัน

สาม ทักษะการรู้รอบด้านในแต่ละสายงาน (job-based skills) – เมื่อความรู้มีวันหมดอายุ ทักษะการรู้รอบด้านในสายงานที่เกี่ยวข้องคือสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสนใจ ทั้งระดับผู้บริหารหรือคนทำงานต้องรีสกิลหลากหลายทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในโลกทุกวันนี้ เสริมทักษะการทำงานรอบด้าน ผสมผสานทั้ง hard skills และ soft skills สู่การนำไปสร้างผลงานให้โดดเด่นได้ทันที

“สิ่งนี้คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด YourNextU by SEAC สังคมการเรียนรู้คุณภาพที่ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกมากถึง 30,000 คน เราอยากให้คนไทยได้มีโอกาสพัฒนาตัวเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยแนวคิดที่มุ่งยกระดับการเรียนรู้สู่มิติใหม่

มองการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผสมผสานวิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน (blended learning) เพื่อจัดสรรให้เข้ากับความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล (personalized learning) และเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุดให้กับผู้เรียน”

โดย YourNextU by SEAC ได้รวบรวมหลักสูตรชั้นนำจากสถาบันการศึกษาชื่อดังระดับโลกอย่าง The Arbinger Institute และ The Ken Blanchard Companies เป็นต้น เพื่อสร้างบริบทใหม่ของการเปลี่ยนแปลงให้กับผู้เรียนด้วยคอร์สการเรียนรู้

อาทิ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (design thinking) วิธีคิดเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น (outward mindset) ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (empathy) กระบวนการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา (critical thinking and problem solving) ศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ข้อมูล (data analytics) การพัฒนาบริหารทีม (E3s Leader Series-Engage Empower Execute) และคอร์สทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อโลกทำงานปัจจุบันและในอนาคต

โดยล่าสุด YourNextU by SEAC ออกหลักสูตรคอร์สเรียนออนไลน์และ virtual classroom สอนสดผ่านซูม “job-based skills pack” ที่มัดรวมกลุ่มทักษะทั้ง hard skills และ soft skills ที่จำเป็นและเหมาะกับบริบทของแต่ละสายงาน ไม่ว่าจะเป็น digital marketing, sales, data analyst, human resources และสายอาชีพอื่น ๆ ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของตลาดตอบสนองต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

“นิภัทรา” กล่าวในตอนท้ายว่า ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและผันผวนของโลกในปัจจุบัน ทักษะวิธีการที่เคยใช้ได้ดีในวันนี้ วันหน้าอาจจะไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไปแล้วสิ่งที่เราควรจะทำมากกว่านั้นคือ การพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องให้เท่าทันบริบทใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป

“โดยมิติการอัพสกิลนั้นมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเริ่มต้นจากการอัพสกิลให้รู้รอบด้านในสายงานปัจจุบัน (job-based skills) การอัพสกิลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง แต่เป็นการจับเทรนด์โลก (world trends captured skills) ว่าสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไปนั้นมีผลกระทบต่อเรามากน้อยแค่ไหน”

“หรือการอัพสกิลที่สอดคล้องกับแพสชั่นเป็นหลัก เช่น ถ้าวันนี้ไม่ได้ทำอาชีพนี้แล้ว อยากทำอาชีพอะไร เพราะความรู้หมดอายุเร็วมาก ต้องหมั่นเติมเสริมสร้างคุณค่าในตัวเองให้เป็นคนที่สดใหม่ ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน”

นับว่าน่าสนใจทีเดียว