กรมชลประทาน ยันแผ่นดินไหวที่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ไม่กระทบเขื่อน

กรมชลประทาน เร่งตรวจสอบความมั่นคงของเขื่อนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว 3.5 ริกเตอร์ ยืนยันเขื่อนในพื้นที่ใกล้เคียงไม่ได้รับผลกระทบ

วันที่ 19 ตุลาคม 2564 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่ ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564 เวลา 16.00 น. วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.5 ที่ความลึก 3 กิโลเมตร นั้น กรมชลประทาน โดยส่วนวิศวกรรมธรณีสำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา ได้เข้าตรวจสอบค่าอัตราเร่งสูงสุดที่มีผลกระทบต่อเขื่อนแล้ว พบว่าค่าอัตราเร่งสูงสุดที่เกิดขึ้น มีค่าเพียง 0.00523 g ซึ่งค่าอัตราเร่งสูงสุดที่กรมชลประทานได้ออกแบบไว้ สามารถรองรับแผ่นดินไหว มีค่าไม่น้อยกว่า 0.2 g ดังนั้นค่าอัตราในครั้งนี้จึงเป็นค่าที่น้อยมาก และไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวเขื่อนทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง

ได้แก่ เขื่อนแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ เขื่อนกิ่วคอหมา และเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง แต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี กรมชลประทาน ได้ออกแบบเขื่อนทุกแห่ง ให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวไว้ด้วยค่าที่สูงสุดของความเสี่ยงในพื้นที่ประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการตรวจสอบและติดตามข้อมูลทางสถิติของค่าความเร่งสูงสุดที่เกิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอยู่ตลอดเวลา เพื่อนำมาประเมินเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น รวมทั้งแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อเขื่อน เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ท้ายเขื่อน มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในความปลอดภัยแข็งแรงของเขื่อนตลอดเวลา

สำหรับ ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 58,853ล้าน ลบ.ม. (72%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 51,830 ล้าน ลบ.ม. (72%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง และเฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 17 แห่ง

ได้แก่ บึงบอระเพ็ด หนองหารกุมภวาปี อ่างฯ แม่มอก อ่างฯ แควน้อยบำรุงแดน อ่างฯ ทับเสลา อ่างฯ ป่าสักชลสิทธิ์ อ่างฯ กระเสียว อ่างฯ อุบลรัตน์ อ่างฯ จุฬาภรณ์ อ่างฯลำตะคอง อ่างฯ ลำพระเพลิง อ่างฯ มูลบน อ่างฯ ลำนางรอง อ่างฯ ลำแซะ อ่างฯ ขุนด่านปราการชล อ่างฯ นฤบดินทรจินดา และอ่างฯ หนองปลาไหล

ทั้งนี้ ตามที่กองอำนวยการน้ำแห่งงชาติ (กอนช.) ประกาศเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน โดยคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท อยู่ที่ 2,700 ลบ.ม./วิ ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่เหนือเขื่อนเจ้าพระยาลงไป มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ประมาณ 0.2-0.4 ม. ในช่วงวันที่ 23-30 ต.ค. 64 ในพื้นที่