บาทแข็งค่า หลัง กนง.ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด

เงินบาท

เงินบาทแข็งค่า หลัง กนง.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ตามคาด จาก 1.50% เป็น 1.75% โดยให้มีผลทันที คาดเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวได้ 3.6% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 2.9%

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการณ์เคลื่อนไหวของตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันที่ 27-31 มีนาคม 2566 ค่าเงินดอลลาร์เปิตตลาดในเช้าวันจันทร์ (27/3) ที่ระดับ 34.26/28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (24/3) ที่ระดับ 34.12/14 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ

ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของยุโรป ซึ่งส่งผลให้ยูโรและเงินปอนด์ร่วงลงอย่างหนัก และนักลงทุนเข้าซื้อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

ตลาดคลายความกังวลวิกฤตการณ์ในภาคธนาคาร

อย่างไรก็ดี ดอลลาร์สหรัฐเริ่มปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในวันอังคาร (28/3) เนื่องจากนักลงทุนขายดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย หลังตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคาร หลังจากบรรษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) เปิดเผยว่า ธนาคารเฟิร์สต์ ชิติเซนส์ แบงก์แชร์ส (First Citizens BancShares) ตกลงเข้าซื้อกิจการธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) แล้ว โดยข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมถึงเงินฝากและเงินกู้ทั้งหมดของ SVB

ทั้งนี้ในช่วงปลายสัปดาห์ดอลลาร์สหรัฐถูกกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในเดือน ก.ค. อีกทั้งล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุน ให้น้ำหนัก 52.9% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 2-3 พฤษภาคมนี้ และให้น้ำหนัก 47.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25%

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผย ได้แก่ ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวที่ระดับ 0.8% สวนทางกับการคาดการณ์ว่าจะหดตัว 2.3% และเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง จากเดือนมกราคมที่ขยายตัว 8.1% นอกจากนี้มีการประกาศตัวเลขประมาณการครั้งที่ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมกายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2565 ระบุว่า GDP รยายตัว 2.6% ต่ำกว่า

ตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งมีการขยายตัว 2.9% และ 2.7% ตามลำดับ อีกทั้ง ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสติการว่างงานครั้งแรก สัปดาห์นี้ระบุว่า เพิ่มขึ้น 7,000 ราย สู่ระดับ 198,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 195,000 ราย ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ เริ่มคลายความร้อนแรงแล้ว

อย่างไรก็ดีนักลงทุนรอจับตาดูการเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันศุกร์ (31/3) ซึ่งจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในอนาคต

กนง.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%

สำหรับปัจจัยในประเทศ ในวันพุธ (29/3) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% จาก 1.50% เป็น 1.75% โดยให้มีผลทันที เนื่องจากเห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ

พร้อมกันนี้ กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวได้ 3.6% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 2.9% โดยเงินเฟ้อจะเริ่มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายช่วงกลางปีนี้ ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2567 จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ราว 3.8% และอัตราเงินเฟ้อลดลงมาสู่ระดับ 2.4% อีกทั้ง ในวันพฤหัสบดี (30/3) กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยมูลค่าการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 22,376 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 4.7% ส่วนมูลค่าการนำเข้า อยู่ที่ 23,489 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.1% ส่งผลให้ประเทศไทยขาดดุลการค้า 1.113 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ และขาดดุลการค้ารวม 5.763 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566

กระทรวงพาณิชย์มีถ้อยแถลงว่าการหดตัวของการส่งออกไทยสอดคล้องกับสถานการณ์การส่งออกของประเทศอื่นในภูมิภาคโดยมีปัจจัยกดตันจากการปรับตัวขึ้นของค่าครองชีพและภาวะเงินเฟ้อในประเทศคู่ค้าสำคัญซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ทั้งนี้ในระหว่างสัปดาห์ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวโดยรวมในทิศทางที่เข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์อยู่ในกรอบระหว่าง 33.89-34.47 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดในวันศุกร์ (31/3) ที่ระดับ 34.12/14 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดในเช้าวันจันทร์ (27/3) ที่ระดับ 1.0762/63 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (24/3) ที่ระดับ 1.0733/34 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร หลังจากที่วันศุกร์ (24/3) ที่ผ่านมา ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างมากช่วงก่อนปิดตลาด เนื่องจากหุ้นของธนาคารดอยช์แบงก์ได้ร่วงลงราว 14% เนื่องจาก Credit Default Swaps หรือ CDS ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบ 4 ปี

นอกจากดอยช์แบงก์แล้ว CDS ของธนาคารอื่นๆ ในยุโรปก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับธนาคารเครดิตสวิส ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเรื่องเสถียรภาพธนาคารของยุโรป ก่อนที่ค่าเงินยูโรจะกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงเปิดตลาดวันจันทร์ (27/3) เนื่องจากนายกรัฐมนตรีของเยอรมนี นายโอลาฟ ชอลซ์ ได้กล่าวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าคอยช์แบงก์เป็นธนาคารที่มีฐานะเงินทุนที่แข็งแกร่ง มีความสามารถในการชำระหนี้และมีกำไรติดต่อกันถึง 10 ไตรมาส ซึ่งต่างจากธนาคารเครดิตสวิสที่ประสบปัญหาขาดทุน

อีกทั้ง Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยในวันจันทร์ (27/3) ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 93.3 ในเดือน มี.ค. จากระดับ 91.1 ในเดือน ก.พ. ซึ่งดัชนีเดือน มี.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์เปิดเผยในผลสำรวจที่จัดทำโดยสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์เอาไว้ที่ 91.0

นักลงทุนคาด ECB จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50%

แต่ในช่วงท้ายสัปดาห์ค่าเงินยูโรเข็งค่าขึ้น จากการที่นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.50% ในการประชุมครั้งถัดไป ภายหลังจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจของเยอรมนี โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก -30.6 สู่ระดับ -29.5 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการฟื้นตัว 6 เดือนติตต่อกัน

นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หรือเงินเฟ้อของเยอรมนีประจำเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 0.7% ส่วนเมื่อเทียบรายปีดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 7.4% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 7.3% อย่างไรก็ตาม ตัชนี CPI รายปีของเดือนมีนาคมนั้นออกมาต่ำกว่าระดับของเดือนกุมภาพันธ์ที่เพิ่มขึ้นที่ 8.7% ทั้งนี้ระหว่างสัปดาห์นี้ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0745-1.0834 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดในวันศุกร์ (31/3) ที่ระดับ 1.0907/10 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูใร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดในเช้าวันจันทร์ (27/3) ที่ระดับ 130.79/81 เยนดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (24/3) ที่ระดับ 129.89/91 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงต้นสัปดาห์ อย่างไรก็ดีค่าเงินเยนได้รับแรงหนุนในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากธุรกิจส่งออกบางรายในญี่ปุ่นได้ขายเงินดอลลาร์เพื่อซื้อเงินเยน ก่อนหมดปีงบประมาณ 2565 ในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ค่าเงินเยนอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องเทียบเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐหลังนักลงทุนได้คลายความวิตกกังวลในเรื่องวิกฤตธนาคารในสหรัฐ และยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการประกาศของ First Cilizens Bank & Trust Company ว่าได้ทำการเข้าซื้อกิจการ Silicon Valley Bank แล้วนักลงทุนจึงเทขายสกุลเงินเยนซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยออกมา


นอกจากนี้ตัวเลขอัตราการว่างงานของญี่ปุ่นประจำเดือนกุมภาพันธ์ ที่ได้มีการเปิดเผยในเช้าวันศุกร์ (31/3) ได้กดดันค่าเงินเยนเพิ่มเติม โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับ 2.6% ซึ่งสูงกว่าเดือนมกราคมและสูงกว่าระดับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 2.4% ทั้งนี้ในระหว่างสัปดาห์ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 130.50 – 131.76 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิตตลาดในวันศุกร์ (31/3) ที่ระดับ 132.93/95 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ