บริษัทประกันภัยทั่วโลก ครึ่งปีแรกจ่ายเคลมภัยธรรมชาติ 2 ล้านล้านบาท

Motorisits drive along a flooded street following heavy rains in Dubai early on April 17, 2024. Dubai, the Middle East's financial centre, has been paralysed by the torrential rain that caused floods across the UAE and Bahrain and left 18 dead in Oman on April 14 and 15. (Photo by Giuseppe CACACE / AFP)

บริษัทประกันภัยทั่วโลก ในครึ่งปีแรก 2567 จ่ายเคลมภัยพิบัติทางธรรมชาติ 2 ล้านล้านบาท “สหรัฐ” เพียงประเทศเดียว ประสบกับพายุรุนแรง 12 ลูก ความสูญเสียต่อครั้งมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์

วันที่ 4 กันยายน 2567 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ในช่วงครึ่งปีแรก 2567 ความสูญเสียที่บริษัทประกันภัยทั่วโลก ต้องจ่ายเคลมสินไหมจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ มีมูลค่าสูงถึง 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2 ล้านล้านบาท) ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับแรงกดดันจากเหตุการณ์ขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีความถี่สูง ตามการประมาณการของ Swiss Re Institute

Balz Grollimund หัวหน้าฝ่ายภัยพิบัติของ Swiss Re กล่าวว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พายุฝนฟ้าคะนองรุนแรง ได้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการสูญเสียที่เอาประกันภัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งเป็นเพราะประชากรที่เพิ่มขึ้นและมูลค่าทรัพย์สินที่สูงขึ้นในเขตเมือง ควบคู่ไปกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีความเสี่ยงต่อความเสียหายจากลูกเห็บมากขึ้น

โดยผลกระทบจากพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงในสหรัฐอเมริกา คิดเป็น 70% ของการสูญเสียทั่วโลก หรือคิดเป็นมูลค่าราว 42,000 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากสหรัฐเพียงประเทศเดียวประสบกับพายุรุนแรง 12 ลูก ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ซึ่งแต่ละครั้งทําให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ตามรายงานของ Swiss Re Institute ความสูญเสียที่เอาประกันภัยจากพายุรุนแรงในสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นในอัตราปีละประมาณ 8% นับตั้งแต่ปี 2008

ขณะที่ภัยน้ำท่วมยังส่งผลให้เกิดความสูญเสียที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงครึ่งปีแรก 2567 หรือคิดเป็น 14% ของการสูญเสียที่เอาประกันภัยทั่วโลก โดยเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสําคัญในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยอรมนี และบราซิล มีค่าใช้จ่ายสูงเป็นพิเศษ

ADVERTISMENT

โดยในเดือน เม.ย. พายุฝนฟ้าคะนองรุนแรง นําไปสู่น้ำท่วมฉับพลันในคาบสมุทรอาหรับ ทําให้เกิดความสูญเสียที่ประกันไว้ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประมาณ 2,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่แพงที่สุดของประเทศเป็นประวัติการณ์

ซึ่งมาปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ระบบระบายน้ำที่ไม่เพียงพอ และดินแห้งทําให้ความรุนแรงของการสูญเสียเหล่านี้รุนแรงขึ้น

“ความสูญเสียที่เอาประกันภัยจากพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการก่อสร้างสูงขึ้น ความเสี่ยงโดยรวมจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นเป็นเหตุผลที่การลงทุนในมาตรการป้องกัน เช่น การปกป้องชุมชนที่เปราะบางจากน้ำท่วม หรือการปรับปรุงอาคารเพื่อปกป้องบ้านเรือนจากพายุลูกเห็บรุนแรง จึงมีความสําคัญ” Jérôme Jean Haegeli หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์กลุ่มของ Swiss Re กล่าวเสริม