ทรูมันนี่ เตรียมใช้ Face recognition เพิ่มความปลอดภัยผู้ใช้ 30 ล้านราย

ทรูมันนี่ผนึก ชิลด์ นำ AI มาใช้ในการตรวจจับป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมเตรียมนำเทคโนโลยีจดจำใบหน้ามาใช้เพิ่มความปลอดภัยผู้ใช้ คาดสิ้นปีนี้ผู้ใช้ทรูมันนี่ทะลุ 30 ล้านราย พร้อมขยายอีวอลเล็ทต่อในประเทศมาเลเซีย

วันที่ 17 มีนาคม 2565 นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่(ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ “ทรูมันนี่” กล่าวว่า การแพร่ระบาดโควิด-19 ถือเป็นตัวเร่งให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ขณะที่บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ก็เติบโตขึ้น ส่งผลให้ทรูมันนี่มีฐานผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น โดยปี2564 มีฐานผู้ใช้งานอยู่ที่ 24 ล้านราย

ขณะที่ปีนี้คาดว่าจำนวนผู้ใช้จะเพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อนหรือประมาณ 30 ล้านราย และตั้งเป้าหมายว่าภายในปี2566 สัดส่วนผู้ใช้บริการทรูมันนี่จะคิดเป็น 50% ของประชากรไทย

สำหรับทิศทางธุรกิจปีนี้ บริษัทจะเดินหน้าขยายบริการดิจิทัลทางการเงินเพิ่มขึ้น และมีจะนำเทคโนโลยีจดจำใบหน้า Face recognition เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการด้วย
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปีนี้

ขณะเดียวกันล่าสุด ร่วมกับ บริษัท ชิลด์ เอ ไอ เทคโนโลจีส์ จำกัด ซึ่งถือเป็นความร่วมมือระยะยาว ในการเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยตรวจจับและป้องกันองค์กร แพลตฟอร์ม

นอกจากนี้มีแผนจะขยายบริการ อีวอลเล็ท ในประเทศมาเลเซีย อยู่ระหว่างการยื่นของใบอนุญาต โดยปัจุบันทรูมันนี่ให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม เมียนมา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

“ตลาดบริการทางการเงินแบบดิจิทัลในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีโอกาสขยายตัวอีกมากโดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งปีนี้บริษัทเตรียมลอนซ์บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ออกมาต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถให้รายละเอียดได้ตอนนี้”

นายจัสติน ลี ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร ชิลด์ ภายใต้บริษัท ชิลด์ เอ ไอ เทคโนโลจีส์ จำกัด ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของโลก กล่าวว่า ปัจจุบันชิลด์มีเครือข่ายอัจฉริยะที่เฝ้าระวังกว่า 7,000 อุปกรณ์ สามารถปกป้องผู้ใช้ได้กว่า 1,000 ล้านบัญชี โดยความร่วมมือกับทรูมันนี่ครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในรสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ เพื่อสร้างความไว้วางใจสำหรับผู้ใช้งาน

“ภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นบ่อยในปัจจุบันได้แก่ การแฮก เจาะข้อมูล การสร้างบัญชีปลอม การช่วงชิงบัญชี การหลอกลวงเพื่อชิงข้อมูลส่วนตัวและการแอบอ้าง หรือปลอมแปลง ซึ่งแต่ละปีชิลด์มีการลงทุนด้านพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ต่อเนื่อง และมีฟีเจอร์ที่โดดเด่นในการรองรับภัยคุกคามที่เกิดขึ้น เช่น ชิลด์ ดีไวซ์ ไอที การตรวจจับเครื่องมือที่น่าสงสัย ระบบปัญญาประดิษฐ์ การป้องกันที่ครอบคลุมทั้งระบบ เป็นต้น”