ประวัติ ‘วัฒนา ช่างเหลา’ นายก อบจ.ขอนแก่น คนใหม่ ล้มแชมป์เก่า 6 สมัย

ประวัติ นายวัฒนา ช่างเหลา นายก อบจ.ขอนแก่น

เปิดประวัติ ‘วัฒนา ช่างเหลา’ ผู้ล้มช้างนั่งเก้าอี้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โค่น “พงษ์ศักดิ์” แชมป์เก่า 6 สมัย โดยใช้ ‘นโยบายเก้าดี’ ในการหาเสียง

ในศึกการเลือกตั้ง นายก อบจ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ภายหลังการปิดหีบเลือกตั้งมาตั้งแต่เวลา 17.00 น. ทั้ง 26 อำเภอของจังหวัดขอนแก่น ปรากฏว่า นายวัฒนา ช่างเหลา ผู้สมัครหมายเลข 1 ได้คะแนนที่ 330,922 คะแนน เป็นผู้ชนะ ทิ้งห่าง นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ หมายเลข 2 (อดีตนายก อบจ.ขอนแก่น 6 สมัย) ซึ่งได้คะแนน 289,908 คะแนน และนายโตบูรพา สิมมาทัน หมายเลข 3 ได้คะแนน 42,431 คะแนน โดยเป็นผลการนับคะแนนจากทั้งหมด 2,689 หน่วยเลือกตั้ง

ประวัติ นายวัฒนา ช่างเหลา

ประวัติการศึกษา

  • มัธยมศึกษา โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
  • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์สาชาวิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

บทบาททางการเมือง การกีฬา และสังคม

  • ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ปี 2566-2567)
  • ประธานสโมสรฟุตบอลขอนแก่นยูในเต็ด (ปี 2558-ปัจจุบัน)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น (เขต 2) (ปี 2562-2565)
  • รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น (ปี 2554-2562)
ชู ‘นโยบายเก้าดี’ ในการหาเสียง 

นโยบายด้านที่ 1 ชีวิตดี

น้ำประปาสะอาดปลอดภัยดื่มได้ = ส่งเสริมการวางระบบ น้ำประปาที่สะอาด ปลอดภัยดื่มได้

ถนน อบจ. ไร้หลุม = ปรับปรุง ซ่อม เสริม สร้าง ถนนที่อยู่ในความดูแลของ อบจ.ขอนแก่น ที่ชำรุดทรุดโทรม ด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนเดินทางด้วยความสะดวกปลอดภัย โดยจะประสานความร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้าแก้ไขปัญหา

Advertisment

ส่งเสริมให้มีอินเทอร์เน็ตทุกชุมชน = วางระบบขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในชุมชนเพื่อให้บริการสาธารณะขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน โดยกำหนดเป้าหมายครอบคลุมทั่วจังหวัดขอนแก่น

สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ บขส.1 ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น = ประสานความร่วมมือ (MOU) กับ กระทรวงคมนาคม กรมธนารักษ์ เทศบาลนครขอนแก่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันการพัฒนาพื้นที่ บขส.1 (เดิม) ให้กลับมาใช้งานอีกครั้งร่วมกับ บขส.3 เพื่อลดปัญหาการสัญจรเดินทางของประชาชนระหว่างอำเภอภายในจังหวัดขอนแก่น และกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากในพื้นที่โดยรอบ บขส.

Advertisment

นโยบายด้านที่ 2 สังคมดี

อบจ.ขอนแก่น ยุคดิจิทัล แจ้งปัญหาความเดือดร้อนผ่านระบบมือถือ = ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มช่องทางการติดต่อราชการ การร้องเรียนร้องทุกข์ แจ้งปัญหาความเดือดร้อน ความต้องการของประชาชนในทุกพื้นที่ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ตอบสนองแม่นยำ ด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์ (Generative AI) มาใช้ในการบริหารงาน เพื่อพลิกโฉม อบจ.ขอนแก่น ขับเคลื่อนการพัฒนาสู่อนาคต

ขอนแก่นปลอดภัย 24 ชั่วโมง = ติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV ทั่วจังหวัดขอนแก่น เพื่อสร้างมาตรการในการดูแลความสงบเรียบร้อบ ความปลอดภัย และป้องปราม ลดปัญหาอาชญากรรม ให้กับประชาชน

สนับสนุนการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านยาเสพติด = ประสานและสนับสนุนการทำงานของตำรวจ ฝ่ายปกครอง ปปส. ในการปฏิบัติการกวาดล้างยาเสพติด จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในทุกกลุ่มช่วงวัย และร่วมกับโรงเรียนสถานศึกษา โรงงาน ผู้ประกอบการภาคเอกชน ตรวจคัดกรองสารเสพติดเพื่อสกัด ยับยั้ง เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงเพื่อนำไปบำบัดรักษา (นอกจากนี้เราจะใช้นโยบายในด้านที่ 8 กีฬาดี เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ในการสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็กเยาวชน)

นโยบายด้านที่ 3 เศรษฐกิจดี

สนับสนุนงบประมาณสร้างความเข้มแข็งในชุมชน = ขับเคลื่อนการทำงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลละ 1 ล้านบาท (ภายใต้กรอบภารกิจในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น)

สนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาพื้นที่ = ผ่าน อบต. เทศบาล แห่งละ 2 ล้านบาท (ภายใต้กรอบภารกิจในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น)

นโยบายด้านที่ 4 ชุมชนดี

สนับสนุนงบประมาณสร้างความเข้มแข็งในชุมชน = ขับเคลื่อนการทำงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลละ 1 ล้านบาท (ภายใต้กรอบภารกิจในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น)

สนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาพื้นที่ = ผ่าน อบต. เทศบาล แห่งละ 2 ล้านบาท (ภายใต้กรอบภารกิจในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น)

นโยบายด้านที่ 5 การศึกษาดี

ส่งเสริมการศึกษา โรงเรียน 3 ภาษา = ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนสังกัด อบจ.ขอนแก่น ให้มีหลักสูตรการเรียนสามภาษา ไทย จีน อังกฤษ แก่นักเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา

รถรับส่ง = โรงเรียนสังกัด อบจ.ขอนแก่น จัดให้มีรถรับส่งเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและเวลาของผู้ปกครอง

ส่งเสริมการศึกษาสมัยใหม่ เพิ่มพื้นที่เรียนรู้นอกโรงเรียน = ส่งเสริมให้มีการเปิดพื้นที่เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงศักยภาพของแต่ละบุคคลเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของตนเองไปตามความถนัด ความต้องการ ภายใต้แนวคิด “นักเรียน อบจ.ขอนแก่นต้องเก่ง ดีและมี(ความ)สุข”

นโยบายด้านที่ 6 สาธารณสุขดี

รพ.สต.พรีเมี่ยม = ยกระดับการตรวจรักษาโรค การให้บริการด้านสาธารณสุข ทันตกรรม ครบวงจร พร้อมทั้งจะได้ประสานความร่วมมือกับ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการดูแลรักษาพยาบาล ลดโอกาสการเสียชีวิต เพิ่มทางรอดให้กับผู้ป่วย ดูแลสุขภาพพี่น้องประชาชนคนขอนแก่น จากขั้นพื้นฐานไปสู่การดูแลขั้นพิเศษ

ปรับปรุงสำนักงาน รพ.สต. = เพื่อรองรับการให้บริการกับพี่น้องประชาชน พร้อมทั้งจัดหาเครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ ที่สำคัญและจำเป็นต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขให้พร้อมต่อการทำงาน

รถพยาบาลฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง = จัดหารถพยาบาลเพื่อเสริมการดูแลวินาทีชีวิตของพี่น้องประชาชนในทุกพื้นที่ครอบคลุมทั้ง 26 อำเภอ เพื่อให้ทันต่อการรักษาของแพทย์พยาบาล ในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน

นโยบายด้านที่ 7 เกษตรดี

ส่งเสริมตลาดกลางการค้า = แสวงหาความร่วมมือกับผู้ประกอบการในทุกกลุ่มตลาด ตั้งแต่ตลาดชุมชนถึงห้างสรรพสินค้า เพื่อเปิดพื้นที่การค้าขายผลผลิตของเกษตรกรสู่มือผู้บริโภค เพิ่มช่องทางสร้างโอกาสสร้างรายได้ที่ดีขึ้นแก่เกษตรกรผู้ผลิต “ผลิตแล้ว ต้องมีที่ขาย”

พัฒนาชลประทานระบบท่อเพื่อการเกษตร = น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างผลิตทางเกษตร จึงมุ่งส่งเสริมการพัฒนาชลประทานระบบท่อให้กับเกษตรกรในพื้นที่ไกลแหล่งน้ำ ให้พี่น้องชาวขอนแก่นได้ทำเกษตรอย่างยั่งยืน

สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชที่ตลาดต้องการให้กับเกษตรกร = ประสานความร่วมมือกับ กระทรวงเกษตรฯ คณะเกษตรศาสตร์ มข. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิจัยและพัฒนาพื้นที่ทำการเกษตรที่เหมาะกับพืชเพื่อให้การเพาะปลูกได้ผลผลที่ดีมีคุณภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนหลักวิชาการ เมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกร

สนับสนุนไฟฟ้าเพื่อการเกษตรอย่างทั่วถึง = ประสานความร่วมมือกับการไฟฟ้าฯ เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนการขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตรให้ครอบคลุมและทั่วถึง ส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) เพื่อการการเกษตร

นโยบายด้านที่ 8 กีฬาดี

ส่งเสริมกีฬา พัฒนาสู่อาชีพ = จัดโครงการ “ช้างเผือกสู่เมือง“ มุ่งส่งเสริมให้โอกาสเด็กเยาวชนได้พัฒนาศักยภาพและทักษะด้านกีฬาไปสู่การสร้างรายได้เป็นวิชาชีพในอนาคต

สร้างศูนย์กีฬาชุมชนทุกตำบล = ขับเคลื่อนการสร้างศูนย์กีฬาให้ประชาชนมีพื้นที่ในการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย โดยนำร่องในแต่ละอำเภอครอบคลุมพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

ปรับปรุงสนามกีฬา อบจ.ขอนแก่น ให้เหมาะสมทุกเพศวัย = สนามกีฬากลางจังหวัดขอนแก่น อยู่ในความรับผิดชอบของ อบจ. ซึ่งมีการใช้มาอย่างยาวนาน มีสภาพทรุดโทรม สมควรได้รับการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงให้มีความทันสมัย สวยงาม เหมาะสม เพื่อรองรับการให้บริการกับประชาชน

เพิ่มเวทีกิจกรรมให้เยาวชน = เปิดเวที จัดโครงการ กิจกรรม เพื่อให้เด็กเยาวชนได้มีพื้นที่แสดงออก

นโยบายด้านที่ 9 สิ่งแวดล้อมดี

แก้ไขปัญหาขยะล้นเมือง = บริหารจัดการแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เพื่อลดปัญหาและเพิ่มสิทธิภาพในการกำจัดขยะแก่ภาคีเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก (อบต.เทศบาล) ภายในจังหวัดขอนแก่น

ขอนแก่นเมืองสิ่งแวดล้อมดีค่าฝุ่น PM 2.5 ต่ำ = ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน-มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น กรมการขนส่งทางบก ภาคธุรกิจเอกชนโรงงานอุตสาหกรรม วางแนวทางและมาตรการในการลดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเริ่มจากการรณรงค์ให้เกษตรกรลดการเผาไร่ เผาตอซังข้าว รณรงค์ให้ประชาชนลดการเผามูลฝอย เป็นต้น กวดขัน-เอาจริงเอาจังกับการแก้ไขปัญหา เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวขอนแก่น

แก้ไขปัญหาน้ำท่วมร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน = ในระยะหลังเกิดวิกฤตปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเขตพื้นที่เมืองขอนแก่น แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวตกเป็นหน้าที่ของเทศบาลเจ้าของพื้นที่เป็นหลัก ในอนาคตการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วม อบจ.ขอนแก่น จะเข้าไปมีบทบาทร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนในการวางแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในทุกมิติ เพื่อดูแลพี่น้องประชาชนชาวขอนแก่น