ไม่เคอร์ฟิว-ปิดช่องทางเข้าไทย เว้นได้รับอนุญาต ระดมหมอ โรงพยาบาลสนาม

ประกาศทั่วราชอาณาจักรครั้งแรก นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แถลงกล่าวว่า สามารถทำได้ รวมถึงภัยสาธารณะ โรคภัยไข้เจ็บ ไม่ใช่การสู้รบเท่านั้น กำหนดไว้เดือนเศษ และค่อยประเมินสถานการณ์และต่ออายุครั้งละไม่เกิน 3 เดือน และเป็นการประกาศทั่วราชอาณาจักรเป็นครั้งแรก
ทำไมถึงประกาศทอดวัน เสมือนไม่ฉุกเฉินจริง เพราะมีผลทันทีไม่ได้ แต่ประชาชนต้องเข้าใจ เจ้าหน้าที่ต้องรับรู้ จึงต้องเตือนและประกาศบอกให้รู้ ถึงจะบังคับใช้จริง เพราะหากเกิดมีโทษจะได้เตือนให้รู้ก่อน
 
กฎหมายกำหนดว่า สามารถโอนอำนาจรัฐมนตรีกระทรวงใดก็มาอยู่ในอำนาจนายกรัฐมนตรี โดยโอน 40 ฉบับมาเป็นของรัฐมนตรี เหมือนนายกรัฐเป็นเจ้ากระทรวง ไม่ได้ปลดรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีไม่ได้รับผิดชอบ เพียงโอนอำนาจมาเป็นของนายกรัฐมนตรีบางมาตรา รัฐมนตรียังคงปฏิบัติหน้าที่เดิมทุกอย่าง แต่นายกฯ จะเข้าไปสวมอำนาจเมื่อไรเท่านั้นเอง
 
คำสั่งฉบับที่ 2 คือ การแต่งตั้งผู้รักษาสถานการณ์ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาสถานการณ์ทั่วประเทศ และรองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการทั่วประเทศทุกคน
 
“ความสำคัญอยู่ตรงนี้ คือ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในด้านต่าง ๆ โดยกำหนดให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข….เป็นโครงสร้างคำสั่งฉบับที่ 2”
 
ที่ไม่ตั้งรัฐมนตรี เพราะพ.ร.ก.กำหนดให้ต้องมีหัวหน้ารับผิดชอบจากข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดี แต่รัฐมนตรียังมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ รัฐมนตรียังต้องดูแล ยังมีอำนาจในระดับนโยบาย แต่ให้ปลัดกระทรวงสั่งการข้าราชการและข้ามกระทรวงได้ เช่น หมอของกระทรวงต่างๆ เพื่อบูรณการ
คำสั่งฉบับที่ 3 คือ ตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด -19 ยกระดับมาเป็น ศอฉ. เพื่อให้คล่องตัว ไม่ให้เหมือนในอดีต
 
“จำเป็นเร่งด่วนนายกรัฐมนตรีสามารถสั่งการผ่านศอฉ.โควิด-19 ได้ โดยไม่ต้องประชุมเต็มคณะ 40 คน สามารถตั้งคณะเฉพาะกิจและที่ปรึกษาได้”
 
คำสั่งที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับประชาชน คือ ข้อกำหนดที่กระทบกับชีวิต ข้อย่อย 17 ข้อ ซึ่งจะลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อตอบคำถามว่าประกาศเคอร์ฟิวส์หรือยัง
 
กำหนดข้อห้ามทำ-ให้ทำ-ควรทำ
 
ข้อกำหนดจะกำหนดไว้ 3 ประเภท คือ ห้ามทำ ให้ทำ และควรทำ
 
มาตรการห้ามทำ ห้ามประชาชน เช่น ห้ามเข้าพื้นที่เขตกำหนด ในจังหวัดใดที่ผู้ว่ายังไม่ได้สั่งห้าม ให้สั่งปิดทั้งหมด เพื่อป้องกัน แต่ไม่จำเป็นต้องสั่งปิดเหมือนกันทั้งหมด
๑ ให้ดุลพินิจผู้ว่าปิดแหล่งท่องเที่ยว ส่วนสถานที่อื่นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาตามความเหมาะสม เช่น สถานที่ท่องเที่ยว และ ศาสนสถาน ห้ามเดินทางเข้าราชอาณาจักร ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ยกเว้นชาวไทยที่ยังตกค้างอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งมีสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 39 ยกเว้น ผู้มีสัญชาติไทยและมีใบรับรองทางการแพทย์ หรือ ใบแทนให้ติดต่อสถานทูต บุคคลคณะทูตต่างประเทศ ต้องกลับมาในประเทศไทย เพื่อประจำทำการ โดยให้แจ้งต่อกระทรวงต่างประเทศและมีใบรับรอง
ผู้ขนส่งสินค้าและต้องกลับออกไปโดยเร็ว มีระยะเวลาจำกัด
ผู้ที่มากับยานพาหะนะ ที่มาจากต่างประเทศ เช่น คนขับรถ สจ๊วต แอร์ ยกเว้นจากนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าผู้รับผิดชอบ
๑ ห้ามเผยแพร่ข่าวบิดเบือน
ห้ามชุมนุม เว้นแต่ปฏิบัติตามมาตรการทางการแพทย์
ห้ามแพร่ข่าวที่ทำให้ข่าวตื่นตระหนกเกี่ยวกับโควิด-19 เช่น ตายกี่คน เจ็บที่คนที่เป็นเท็จ ทำให้เกิดตระหนก
ให้บังคับส่วนราชการเตรียมมาตรการช่วยเหลือประชาชน
ให้…เตรียมโรงพยาบาลสนาม เวชภัณฑ์ ยา เตียง สถานที่ และเตรียมเช่าโรงแรมและศาลาวัด การใช้หัวประชุม การใช้อาคารเอกชน ควรเป็นคำแนะนำประชาชน ไม่ถึงขั้นบังคับ แต่ข้อกำหนดฉบับที่ 1 ใช้ตำว่าแนะนำ แต่ฉบับที่ 2 3 4 อาจจะยกเป็นควร เป็น ให้ ทันที
 
ควรอยู่บ้าน ไม่ออกนอกบ้าน บุคคล 3 ประเภท ที่ทางการแพทย์ระบุว่า มีความเสี่ยงสูงมาก ให้อยู่ที่บ้าน ยกเว้นออกมาจำเป็น 1.ผู้สูงอายุเกิน 70 ปี 2.อายุใดก็ตาม แต่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันสูง
3.เด็กตั้งแต่ 5 ขวบลงมา ควร การเดินทางไปต่างจังหวัด เช่น กลับต่างจังหวัด หรือ กลับเข้ามากทม. ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด แม้สามารถเดินทางได้ แต่เป็นกรณีจะมีมาตรการเข้าไปเกี่ยวข้องจนทำให้การเดินทางลำบากจนไม่อยากเดินทาง ฝ่ายความมั่นคงจัดเจ้าหน้าที่ทหาร ตั้งด่าน จุดสกัด ตามรอยต่อจังหวัด และในพาหะนะนั่งเว่นห่างกัน 1 เมตร สวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ วัดไข้ ดื่มแอลกอฮอลล์หรือไม่ หรือ กระทรวงมหาดไทยติดตั้งแอฟเคชั่นติดตามตัว
“ข้อกำหนดฉบับที่ 2 3 จะเข้มข้นขึ้น แต่ยังไม่ปิดประเทศ เพราะเปิดให้คนไทยกลับมาได้ และยังไม่ปิดสนามบิน แต่คนต่างประเทศกลับเข้ามาไม่ได้ ยังไม่เปิดเมือง เพราะสามารถเดินทางได้อยู่ แต่ลำบากเพราะไม่สนับสนุนในการเดินทาง แต่จำเป็นต้องทำ ยังไม่เป็นบ้าน เพราะข้าราชการ เอกชนยังเดินทางทำงานปกติ”
สถานที่บางแห่งที่รัฐสนับสนุนให้เปิด เช่น โรงงาน เอทีเอ็ม ร้านอาหาร ซื้อกลับไปกิน ห้างสรรพสินค้าแต่เป็นซุปเปอร์มาเก็ต การบริการขนส่งสินค้า เช่น ปลากระป๋อง บะหมี่ มาม่า ซื้ออาหารได้ตามปกติ แต่ห้ามกักตุนสินค้า ทั้ง ธุรกิจหลักทรัพย์ สถาบันการเงิน สถานที่ราชการยังเปิดทำการปกติ โรงพยาบาล ร้านขายยา คลินิก ตลาดหลักทรัพย์ ขนส่งสินค้า ดิลิเวอร์รี่ “ขณะนี้ยังไม่ได้ประกาศเคอร์ฟิว”