
ศาลอาญาจำคุก “ป้าเป้า” กับพวกรวม 8 คน ร่วมชุมนุม 11 สิงหาไล่ล่าทรราช ผิดฐานชุมนุมแพร่เชื้อโควิด คนละ 1 ปี ปรับเงินคนละ 20,000 บาท
วันที่ 2 สิงหาคม 2565 เวลา 11.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 713 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษา คดีม็อบ 11 สิงหาไล่ล่าทรราช หมายเลขดำ อ.2693/2564 ที่พนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ฟ้อง นางวรวรรณ หรือป้าเป้า แซ่อั้ง อายุ 67 ปี กับพวกรวม 8 คน ประกอบด้วย
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เริ่มใช้ 1 เม.ย.66 รับเงินคนละกี่บาทต่อเดือน เช็กที่นี่
- เปิดฐานะ เงินกองทุนแบงก์ไทย แข็งแกร่งจริงไหม?
- ราชกิจจาฯประกาศ อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตน ม.40
- นายนพดล สินบุญเชิญ
- นายธนา กำพูล
- นายเอกณัฏฐ์ สมบัติ ยิ่งวัฒนา
- นายวีรวัฒน์ คำภีร์ทูล (หนีประกัน)
- นายกฤษณะ มินา
- นายปภังกร โพธิ์เจริญ
- นายกัณฐกะ พรมโต
ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-8 ในความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายฯ โดยผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธฯ, ร่วมกันต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายฯ โดยมีหรือใช้อาวุธและโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป, ร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่าห้าคนฯ, ร่วมกันชุมนุมหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดเชื้อโรคโควิด-19
โดยอัยการโจทก์ระบุฟ้องความผิดจำเลยสรุปว่า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564 จำเลยทั้งแปดกับกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 200 คน ร่วมจัดกิจกรรม “11 สิงหาไล่ล่าทรราช” เพื่อกดดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลาออก ซึ่งมีผู้ร่วมชุมนุม รถยนต์ รถยนต์พร้อมเครื่องขยายเสียง รถจักรยานยนต์ ที่บริเวณถนนราชวิถี วงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
โดยมีการลงมาเดินบนถนนทำกิจกรรมเผาหุ่นฟาง กล่าวปราศรัยวิจารณ์รัฐบาลเรื่องจัดหาวัคซีนป้องกันการระบาดโควิด-19 และโจมตีการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในการใช้มาตรการดำเนินการจับกุมและสลายการชุมนุม ซึ่งการรวมกลุ่มลักษณะปิดกั้นการสัญจรไปมา และมีการขว้างปาวัตถุสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนระหว่างที่ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรดังกล่าวมีผลบังคับใช้
จำเลยให้การปฏิเสธ และได้รับการประกันตัว
โดยในช่วงเช้าวันนี้ นางวรวรรณ หรือป้าเป้า และจำเลยรวม 7 คน มาฟังคำพิพากษาพร้อมกับทนายความ ยกเว้นเพียงนายวีรวัฒน์ จำเลยที่ 5 ซึ่งหลบหนีประกัน
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า จำเลยทั้งหมดได้ร่วมกันชุมนุม หรือทำกิจกรรมของบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดเชื้อโรคโควิด-19 จึงเป็นการกระทำผิดกฎหมาย มีความผิดตามประกาศการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 9 และ 30
ส่วนข้อหาความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายฯ โดยผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธฯ, ร่วมกันต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายฯ โดยมีหรือใช้อาวุธและโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ให้ยกฟ้อง
พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันชุมนุมหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดเชื้อโรคโควิด-19 ลงโทษจำคุกคนละ 1 ปี ปรับคนละ 20,000 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน
อีกทั้งประกอบอาชีพและมีภาระต้องเลี้ยงดูแลครอบครัว บางคนกำลังศึกษาอยู่ จึงอยากให้เอาเป็นบทเรียนและทบทวนตัวเอง โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้ 3 ปี และคุมความประพฤติ 2 ปี โดยให้รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติจำนวน 8 ครั้ง ภายในระยะเวลาที่กำหนด และทำงานบริการสังคมเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ตามรายงานมติชน