จับตาเลือกตั้งเกาหลีใต้ “Squid Game” เวอร์ชั่นชิงประธานาธิบดี

เลือกตั้งเกาหลีใต้ 2022

รวมเรื่องที่ต้องรู้ ในการเลือกตั้งผู้นำเกาหลีใต้ ศึกชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีที่โหดไม่ต่างกับซีรีย์เรื่องดัง

วันที่ 9 มีนาคม 2565 นับเป็นวันสำคัญที่ชี้ชะตาการเมืองของเกาหลีใต้ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวเกาหลีมีกำหนดลงคะแนนเสียงเพื่อกำหนดอนาคตของประเทศครั้งสำคัญ ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดี 2022

แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่เหมือนกับศึกชิงเก้าอี้ทำเนียบบลูเฮาส์เหมือนครั้งที่ผ่านมา ด้วยบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป ประกอบกับเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ที่บอกช้ำมานานจากปัญหาโควิดระบาด แดนโสมขาวแห่งนี้ จึงต้องการผู้นำคนใหม่ที่หลายฝ่ายฝากความหวังให้รื้อฟื้นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 10 ของโลกอีกครั้ง ท่ามกลางความท้าทายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่รอคอยผู้นำเกาหลีใต้คนใหม่อยู่รอบด้าน

(Photo by Jung Yeon-je / AFP)

รัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ปัจจุบันระบุว่า ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งได้เพียงไม่เกิน 5 ปีเท่านั้น นั่นหมายความว่า ประธานาธิบดีมุน แจ อิน ผู้นำคนปัจจุบัน หมดสิทธิ์ที่จะลงสมัครในสมัยที่สองจึงจำเป็นต้องวางตัวทายาททางการเมืองที่จะรับไม้ต่อจากเขา

หากย้อนไปในการเลือกตั้งปี 2017 ที่นาย มุน แจ อิน จากพรรคมินจู หรือ พรรคประชาธิปไตยเกาหลี ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายกลางซ้าย ชนะการเลือกตั้งกวาดคะแนนเสียงเป็นผู้นำคนใหม่ แทนนางสาวปาร์ก กึน เฮ จากพรรคเสรีภาพเกาหลี ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายความขวาอนุรักษ์นิยม ที่เธอถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งหลังเกิดกรณีอื้อฉาว “ชเว ซุน ซิล” จนจุดชนวนให้ชาวเกาหลีออกมาเคลื่อนไหวประท้วงใหญ่ จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ชัยชนะของมุน แจ อิน จึงไม่ผิดความคาดหมายที่เมื่อพรรคฝ่ายขวาสูญเสียความนิยม หัวหน้าพรรคฝ่ายตรงข้ามจะกวาดคะแนนเสียงขึ้นเป็นผู้นำเกาหลีใต้คนใหม่

ตลอดการดำรงตำแหน่งเกือบ 5 ปี ของมุน แจ อิน นับว่ามีทั้งจุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม จากการหารือกับนายคิมจองอึนในหลายวาระ ทั้งยังเป็นผู้นำเกาหลีใต้คนแรกในรอบหลายทศวรรษที่เดินทางเยือนแผ่นดินเกาหลีเหนือ แม้จะมีจุดเริ่มต้นในการฟื้นความสัมพันธ์อย่างสวยงาม ทว่าช่วงท้ายสองเกาหลีความสัมพันธ์ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก จนถึงขั้นโสมแดงทำลายและปิดศูนย์ประสานงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมแกซอง

ไม่เพียงแค่เรื่องโสมแดงเท่านั้น ตลอดหลังจากกว่าสองปีของโควิดระบาด ผละกระทบทางเศรษฐกิจ ความวิตกเกี่ยวกับค่าครองชีพ ไปจนถึงบริบทางสังคมที่เปลี่ยนไปจากกระแสคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะความเท่าเทียมทางเพศ และการเรียกร้องต่อการเปิดกว้างของแนวคิด LGBTQ การเลือกตั้งครั้งจึงแทบไม่ต่างจากฉากในซีรีย์ดังเรื่อง ‘Squid Game’

ใครเป็นใครในศึกชิงผู้นำเกาหลีใต้ 2022

อี แจ มยอง
อี แจ มยอง (Photo by Jung Yeon-je / AFP)

การเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ครั้งนี้ มีผู้สมัครจาก 3 พรรคการเมือง คือ นาย อี แจ มยอง (Lee Jea-myung) จากพรรคมินจู ทายาททางการเมืองของประธานาธิบดีมุน แจ อิน นาย ยุน ซุก ยอล (Yoon Suk-yeol) จากพรรคพลังประชาชนเกาหลี (People Power Party) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวาหัวอนุรักษ์นิยม

พรรคนี้เพิ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่เมื่อปี 2020 จากการรวมกันระหว่างหลายพรรคการเมืองที่มีแนวคิดฝ่ายขวามีแกนนำโดยพรรคเสรีภาพเกาหลี ซึ่งพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งปี 2017 จากกรณีฉาวของอดีตผู้นำหญิง ซึ่งจากการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติปี 2020 พรรคพลังประชาชนได้กลายเป็นพรรคการเมืองอันดับ 2 ที่ครองเสียงในรัฐสภาโดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 103 คน และผู้สมัครคนสุดท้ายคือ นางซิม ซัง จุง ผู้แทนจากพรรคยุติธรรมเกาหลีใต้ (Justice Party) พรรคแนวคิดหัวก้าวหน้า

อย่างไรก็ตาม จากผลโพลหลายสำนักโดยเฉพาะจากการสำรวจล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วพบว่า ตัวเก็งในการเลือกตั้งรอบนี้คือระหว่างนาย อี แจ มยอง กับ นายยุน ซุก ยอล ซึ่งผลโพลของทั้งสองเชือดเฉือนสูสีมาตลอดการหาเสียง เป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนว่า แม้ความขัดแย้งทางการเมืองที่จะผ่านมาหลายปีนับจากรณีชเวซุนซิล แต่ความขัดแย้งทางการเมืองยังร้าวลึกและรุนแรง

‘สควิซเกม’ ชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี

มุน ยุก ซอล (Photo by Jung Yeon-je / AFP)

ช่วงโค้งสุดท้ายใกล้ถึงวันหย่อนบัตรเลือกตั้ง 9 มีนาคม ทั้งพรรคมินจู และพรรคพลังประชาชนเกาหลี หรือ พรรคพีพีพี ต่างฝ่ายต่างเล่นเกมแรงทั้งคู่ มีการปล่อยข่าวว่า นายมุน ยุก ซอล และภรรยา ถูกกล่าวหาว่าพึ่งแม่หมอผีเพื่อแลกกับการตัดสินใจในการเดินหมากเกมเลือกตั้ง ข้อกล่าวหาลักษณะนี้ ถูกใช้มาแล้วกับกรณีของอดีตปธน.ปาร์ก กึน เฮ ซึ่งภายหลังพรรคของเธอมารวมกับพรรคพีพีพี ข้อกล่าวหานี้แม้ดูเลื่อนลอย แต่ก็สร้างกระแสแง่ลบต่อมุน ยุก ซอล อยู่ไม่น้อย จากการที่เขาเคยเป็นส่วนหนึ่งของทีมกฎหมายที่ไล่ฟ้องปาร์กกึนเฮจนถูกถอดถอน

ว่ากันว่าตอนที่ประธานาธิบดีคิม แด จุง ชนะเลือกตั้งในปี 1998 เนื่องจากแก้เคล็ดด้วยการย้ายที่ตั้งหลุมศพของบิดาของเขาตามคำแนะนำของหมอผี รายงานของบางสื่ออ้างว่า หากนายยุนชนะเลือกตั้งภรรยาของเขาจะแก้เคล็ดด้วยการเปลี่ยนที่ตั้งเรือนรับรองแขกในทำเนียบประธานาธิบดี

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายรัฐบาลพรรคมินจู ก็ใช่ว่าจะไม่ถูกฝ่ายค้านงัดเกมเรื่องไสยศาสตร์มาโจมตีเช่นกัน โดยปี 2018 ปรากฏภาพนักการเมืองอาวุโสรายหนึ่งของพรรคมินจู เข้าร่วมพิธีกรรมของลัทธิความเชื่อหนึ่งซึ่งในงานนี้ปรากฏรายชื่อของทั้งนายมุน ยุก ซอล และนักการเมืองพรรครัฐบาล ซึ่งมาในนาม “ผู้แทน” ของนายอี แจ มยอง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดคยองกีด้วย ในทางเดียวกันพรรคพีพีพีของยุนก็หาเสียงโจมตีพรรคมินจู ว่าเป็นพรรครัฐบาลดำเนินโยบายหลายอย่างที่ไม่ต่างจากฮิตเลอร์ และมุสโสลินี ทั้งโจมตีว่าการจับมือกับเกาหลีเหนือไม่ต่างกับที่เกาหลีใต้เดินตามรอยเผด็จการ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงการหาเสียงโค้งสุดท้าย ต่างฝ่ายต่างใช้ประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เป็นประเด็นโจมตีซึ่งกันและกัน เพื่อหวังฉวยคะแนนจากบรรดากลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงเพศชายที่เกรงว่า ความก้าวหน้าทางอาชีพของเพศหญิงจะสั่นคลอนอาชีพการงานของพวกเขา ก่อนหน้านี้เมื่อ 7 มีนาคม นายซอง ยัง กิล หัวหน้าพรรคมินจู ไดถูกชายปริศนาบุกทุบศีรษะจากด้านหลังจนได้รับบาดเจ็บและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ขณะร่วมกิจกรรมหาเสียงกับนายอี แจ มยอง ตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรค

ท่ามกลางตลาดแรงงานที่ตึงตัว ค่าครองชีพสูงขึ้น ราคาที่ดินพุ่งสูงอย่างมากในกรุงโซล เศรษฐกิจที่ซบเซาจากโควิด การว่างงานของบัณฑิตจบใหม่ ส่งผลให้หลายฝ่ายมองว่า แทนที่ผู้สมัครทั้งสองจะมุ่งหาประเด็นโจมตีแก่งแย่งเพื่อเป็นที่หนึ่งของทำเนียบบลูเฮาส์ไม่ต่างจากซีรีย์ดัง สควิซเกม ยังมีหลายเรื่องที่ทั้งสองควรใส่ใจอนาคตของประเทศมากกว่านี้ รวมถึงภัยคุกคามที่ยังคงดำเนินอยู่ทั้งการระบาดของโควิด-19 ซึ่งกลับมารุนแรงนับตั้งแต่เกาหลีใต้เผชิญการระบาด ไปจนถึงภัยคุกคามจากการทดสอบขีปนาวุธของเปียงยาง

ชิน ยูล ศาสตราจารย์ด้านการเมืองจากมหาวิทยาลัยเมียงจี ในกรุงโซล กล่าวว่า “ผู้สมัครทั้งสองล้มเหลวในการสร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่นของตนเองขึ้นมา เพราะพวกเขาหมกมุ่นอยู่กับความสร้างการโจมตีสร้างความเกลียดชัง ดังนั้นการเลือกตั้งนี้จึงมีแต่เพียงการหาเสียงเชิงลบระหว่างกัน แทนที่จะมุ่งแข่งขันเรื่องนโยบาย” ชิน ยูล ศาสตราจารย์ด้านการเมืองจากมหาวิทยาลัยเมียงจีในกรุงโซล กล่าว

“ใครก็ตาม ที่ชนะเลือกตั้งจะมีงานสำคัญอันยากลำบากรออยู่”