ทองคำมีค่าจริงๆ หรือแค่คิดไปเอง

ถ้าจะถกกันเรื่องนี้ คงต้องย้อนกลับไปดูถึงประวัติศาสตร์โลกกันเลยดีกว่าครับ ว่าในแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมานั้น ทองคำมีความสำคัญอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโลก ทองคำคือหนึ่งใน commodityที่ล้ำค่ามากที่สุดมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาเลยหรือไม่ มาลองหาคำตอบไปพร้อมกันครับ

  1. ยุคตัวเเทนของสิ่งมีค่า (กว่า 1,000 ปีก่อน)

แรกเริ่มเดิมทีก่อนที่ทองคำจะเข้ามามีบทบาทในโลกการเงินนั้น ทองคำมักจะถูกใช้งานเป็นตัวแทนของสิ่งที่มีค่า โดยมีบทบาทอยู่คู่กับมนุษย์โลกมาอย่างยาวนานหลายพันปี โดยทองคำมักจะถูกเอาไปผูกโยงกับศาสนา ความเชื่อ หรือสถาบันกษัตริย์ โดยมีบทบาทในฐานะสิ่งที่แสดงถึงความมั่งคั่ง ร่ำรวย นอกจากนี้ทองคำยังได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในทุกยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นฝั่งละติน ยุโรป อียิปต์ อเมริกา เเละเอเชียโดยทองคำถูกยกให้เป็นราชาแห่งโลหะ และในบางพื้นที่ก็มีการเริ่มใช้ทองคำแทนเงินตรามานานเเล้ว เท่านั้นยังไม่พอในยุคสมัยล่าอาณานิคม ทองคำยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการล่าอาณานิคมกันเลยทีเดียว

  1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

ในยุคสมัยก่อนเมื่อคนเราจะซื้อขายสินค้ากัน ทั้ง 2 ฝ่ายก็ต้องนำสินค้ามาเเลกเปลี่ยนกันโดยตรง ซึ่งเราเรียกการเเลกเปลี่ยนสินค้ากันแบบนี้ว่าระบบ Barter Trade แต่ข้อเสียของระบบ Barter Trade นั้นมีหลายประการด้วยกันเเต่เหตุผลหลักๆเลยคือ มันไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนว่าการนำสินค้ามาเเลกเปลี่ยนกันต้องเเลกเปลี่ยนกันในอัตราเท่าไรรวมถึงความยากลำบากในการพกพาเเละการขนส่งอีกด้วย เมื่อ Barter Trade มีประสิทธิภาพต่ำ จึงเริ่มมีการใช้สิ่งของบางอย่างมาเป็นสื่อกลางในการเเลกเปลี่ยนตั้งเเต่เปลือกหอย ยันไปถึงโลหะประเภทต่างๆ จนในท้ายที่สุด สิ่งที่ถูกเลือกให้เป็นตัวเเทนในการเเลกเปลี่ยนที่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นสากลที่สุดก็คือราชาโลหะอย่างทองคำนั่นเอง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ทองคำนั้นถูกเลือกเป็นสื่อกลางในการเเลกเปลี่ยนก็คือ ความหาได้ยาก พิสูจน์ความจริงเเท้ได้ง่าย เเละที่สำคัญคือมนุษย์สามารถเเทรกเเซงกำลังการผลิตทองคำได้ยากมาก

  1. Gold Standard (ค.ศ.1870 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20)

เมื่อใช้ไปได้ซํกระยะหนึ่ง ทองคำเองก็มีปัญหาในการนำไปใช้งานเช่นกันเพราะจริงอยู่ที่มันมีความสะดวกกว่าระบบ Barter Trade แต่ก็ยังยุ่งยากอยู่ดีในการพกพาเคลื่อนย้าย หรือเเบ่งซอยให้เล็กลง จึงมีการพัฒนานำเงินกระดาษเเละเหรียญเข้ามาใช้ แต่เงินกระดาษเเละเหรียญเหล่านั้นก็ยังถูก Peg ไว้ด้วยทองคำอยู่กล่าวคือ เงินกระดาษเเละเหรียญทั้งหมดถูก Back ไว้ด้วยทองคำนั่นเอง

  1. Bretton Wood System (ช่วง 1944-1971)

การเกิดสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง ส่งผลให้เงินกระดาษเพิ่มมากขึ้นจนทำให้ไม่สมดุลกับปริมาณทองคำ เเละประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ ขั้วอำนาจของโลกได้เปลี่ยนไปจากประเทศในฝั่งยุโรปย้ายฝั่งมาเป็นทางสหรัฐอเมริกาแทน เนื่องจากประเทศในแถบยุโรปได้รับความบอบช้ำจากภาวะสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง รวมถึงสหรัฐฯ เองเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่กับประเทศทางฝั่งยุโรปที่รบกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางสหรัฐฯ ได้ขอให้ประเทศแต่ละประเทศชำระหนี้ด้วยทองคำแทนเงินกระดาษในส่วนของรายละเอียดของระบบ Bretton Woods นั้นก็มีความคล้ายคลึงอยู่กับระบบ Gold Standard เดิม แต่ที่เเตกต่างไปก็คือ มีการกำหนดให้ทองคำและเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ และกำหนดให้เงินดอลลาร์มีค่าคงที่กับทองคำ โดยได้กำหนดให้ทองคำ 1 ออนซ์ เท่ากับ 35 ดอลลาร์ และดอลลาร์สามารถเปลี่ยนเป็นทองคำได้โดยไม่จำกัด จะเห็นได้ว่าจากเหตุการณ์นี้เองที่ทำให้ความน่าเชื่อถือของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้ เเละข้อเสนอดังกล่าวนี้แหละครับ ที่เป็นต้นเหตุให้ราคาทองคำและเงินดอลลาร์สหรัฐฯสวนทางกันในปัจจุบันนี้โดยเราอาจสรุปสั้นๆได้ว่าระบบ Bretton Woods นี้เองที่ทำให้สหรัฐฯมีบทบาทมากที่สุดในระบบเศรษฐกิจโลกซึ่งลากยาวมาถึงปัจจุบันนี้ เนื่องมาจากเงื่อนไขสำคัญที่ให้ทุกชาติต้องผูกค่าเงินไว้กับทองคำหรือดอลลาร์และกำหนดให้ทุกประเทศสามารถนำเงินดอลลาร์ที่ตนมีมาแลกกับทองคำจากสหรัฐฯ ได้ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อ 1 ออนซ์ 

  1. ยุคปัจจุบัน Fiat System (1971-ยุคปัจจุบัน)

ในวันที่ 15 สิงหาคม 1971 ประวัติศาสตร์การเงินของโลกได้บันทึกไว้ว่า เป็นวัน ‘Nixon’s Shock’ เนื่องจากเป็นวันที่ประเทศสหรัฐฯ ประกาศงดรับแลกเงินดอลลาร์ เป็นทองคำ และถือเป็นการล่มสลายของระบบ Bretton Woods ไปด้วยนั่นเอง

ซึ่งเหตุการณ์ ณ ตอนนั้นทำให้หลายๆฝ่ายเชื่อกันว่ามันคือจุดจบของเงินดอลลาร์เเละทางสหรัฐฯ ไปในตัวเเต่ในเรื่องจริงเเล้วกลับไม่เป็นเช่นนั้นครับ…เพราะปริมาณเงินดอลลาร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในช่วงนั้นได้กระจัดกระจายไปอยู่กับทุกๆประเทศและถือเงินดอลลาร์เป็นหนึ่งในทุนสำรองกันทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯมาตลอด

 เช่น ญี่ปุ่น พูดง่ายๆก็คือทุกประเทศเก็บสะสมความั่งคั่งของตัวเองในรูปเงินดอลลาร์กันไปเป็นจำนวนมาก(แม้จะเก็บทองคำด้วย แต่ก็ยังน้อยกว่าดอลลาร์อยู่ดี) การยุติบทบาทของดอลลาร์จะเป็นการทำให้ระบบการเงินของโลกพังครืนลงเลยทีเดียว ซึ่งทุกๆประเทศคงไม่ยอมเอาจริงๆ Fiat System นั้นสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆเลยครับ มันคือระบบการเงินที่ไม่จำเป็นต้องมีอะไรมาหนุนอีกต่อไปแค่เชื่อใจในประเทศนั้นก็พอ !!! ง่ายๆ แบบนี้เลยครับ ซึ่งมันแทบจะเเตกต่างจากยุคก่อนอย่างสิ้นเชิง โดยสาเหตุที่ระบบมันออกมาเป็นแบบนี้ก็เพราะ มหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ เองไม่รู้จะหาทางลงอย่างไรหลังจากการล่มสลายของ Bretton Woods เพราะปริมาณดอลลาร์ในระบบนั้นมันมหาศาลมากนั่นเองก็เลยสรุปง่ายๆว่าให้เชื่อในตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯเอง (เอากันดื้อๆ งี้เลย ) ซึ่งทุกประเทศก็ต้องยอมไปเพราะตอนนั้นดอลลาร์มันได้กระจายอยู่ทุกส่วนในโลกไปหมดแล้ว

ซึ่งการมาถึงของ Fiat System นั้นเรียกได้ว่าแทบจะเป็นการเอาทองคำออกไปจากบทบาทการเงินของโลกเลยครับ จริงอยู่ที่ธนาคารกลางแต่ละประเทศยังคงถือทองคำเป็นทุนสำรองอยู่ แต่ถ้าว่ากันจริงๆ ทองคำนั้นแทบจะหมดบทบาทไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบแต่ถึงแม้จะเป็นแบบนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าทองคำจะหมดคุณค่าลงไปเพราะเมื่อมีวิกฤตต่างๆเกิดขึ้นบนโลก ไม่ว่าจะเป็นสงคราม เงินเฟ้อ สถานการณ์ที่ค่าเงินของประเทศนั้นๆสุ่มเสี่ยงจะไม่มีค่า สิ่งแรกที่คนจะหันมามองก็คือ ทองคำ เพราะไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนทองคำก็ยังคงเป็นสิ่งที่มีค่าที่ถูกพิสูจน์มาแล้วกว่าพันปีสุดท้ายแล้วเศรษฐกิจโลกเมื่อมาถึงยุคนี้ จะเหลือไว้ก็คงเป็นเรื่องของความเชื่อของผู้คน เนื่องจากทองคำนั้นมีประวัติศาสตร์กับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน แต่เจ้าสิ่งที่เรียกว่าความเชื่อนี่แหละครับ บางครั้งมันช่างทรงพลังเหลือเกิน….

เปิดพอร์ตออนไลน์ : https://bit.ly/3hPrVQi 

#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ

#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง

เข้ากลุ่มพูดคุยลุยกราฟทอง : คลิก https://bit.ly/2qpxhvJ 

สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่

SoundCould : https://soundcloud.com/intergold-podcast 

Spotify : https://spoti.fi/2SDlww7 

Line : @intergold https://lin.ee/jw9R4jm 

Facebook : InterGOLD Gold Trade 

️ Call : 02-222-0007