คอลัมน์ ช่วยกันคิด โดย กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน, กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายในการส่งเสริมกิจกรรมเพิ่มรายได้นอกภาคการเกษตร ต่อเนื่องจากภาคการผลิต มุ่งหวังให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตสดจากภาคเกษตรในภาวะที่ผลผลิตสดด้านการเกษตรมีการแข่งขันสูง ปริมาณผลผลิตมีมาก อายุสั้น ราคาตกต่ำ เกิดภาวะล้นตลาด
ปัญหาเหล่านี้กลายเป็นวัฏจักรที่เกษตรกรต้องเผชิญหน้าอยู่ทุกช่วงฤดูกาลผลิตของทุกปี
ดังนั้น กระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวโดยการส่งเสริมให้เกษตรกรนำผลผลิตสดที่มีในท้องถิ่นแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและไม่ใช่อาหาร จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาสร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นอย่างดี
โดยกรมส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้การดูแลการบริหารจัดการกลุ่มประสานงานด้านถ่ายทอดความรู้วิชาการ การพัฒนาด้านต่าง ๆ อาทิ กระบวนการผลิต รูปแบบผลิตภัณฑ์ การจัดการคุณภาพ ตลอดจนประสานงานการตลาด ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ เสริมรายได้แก่ครัวเรือนเกษตรกรประเภทผลิตภัณฑ์แบ่งเป็น 5 หมวด ได้แก่
1) ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
2) ผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย
3) ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและสิ่งประดิษฐ์
4) ผลิตภัณฑ์เครื่องอุปโภคและสมุนไพร
5) ท่องเที่ยวเกษตร/ชุมชน
แนวทางการดำเนินงานพัฒนา smart product ประกอบด้วย
1.วิเคราะห์ความต้องการของตลาดและศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน
2.การถ่ายทอดเทคโนโลยี
– ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เชี่ยวชาญในการวิจัย ทดสอบเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตการเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากวัตถุดิบทางการเกษตร
– สนับสนุนการถ่ายทอดทักษะความรู้ในทุกด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีด้านการแปรรูปการจัดการการผลิต/วัตถุดิบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การจัดการคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น
3.การพัฒนาการผลิต
– สนับสนุนการจัดหาแหล่งทุนในการปรับปรุงสถานที่ผลิต การพัฒนากระบวนการผลิต รูปแบบผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
4.การจัดการคุณภาพ
– ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร สนับสนุนการพัฒนามาตรฐานกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP)/Primary GMP ตัวผลิตภัณฑ์ผ่านการรับรองคุณภาพจากสถาบัน/หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เครื่องหมาย อย. จากกระทรวงสาธารณสุข, เครื่องหมายฮาลาล จากสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย เป็นต้น
– ผลิตภัณฑ์ด้านที่ไม่ใช่อาหาร ให้ผ่านการรับรองคุณภาพจากกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องหมาย มผช./มอก. เป็นต้น
5.การส่งเสริมการตลาด
– สนับสนุนการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าแก่สถาบันเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เช่น การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ การเข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) การแสดงนิทรรศการสินค้า เกษตรแปรรูป การจัดตลาดนัดระดับท้องถิ่น ระดับเขต และระดับประเทศ เป็นต้น
6.การติดตามและประเมินผล
– สนับสนุนระบบติดตามความก้าวหน้า ผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และการสรุปประมวลผลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตต่อไป
ระดับการส่งเสริม
1.ระดับพื้นฐานแปรรูปผลิตผล=วิสาหกิจชุมชน/องค์กรเกษตรกรที่เพิ่งเริ่มดำเนินกิจกรรม หรือไม่เคยได้รับการสนับสนุนมาก่อน มีเป้าหมายการผลิตเพื่อบริโภคตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารของชุมชน
2.ระดับพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์=วิสาหกิจชุมชน/องค์กรเกษตรกรที่มีทักษะและดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ต้องการพัฒนามาตรฐานการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายการผลิตเชิงการค้า เพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว มีศักยภาพในการเชื่อมโยงและขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ
คุณสมบัติ-ตัวชี้วัด
1.มีเรื่องราว (story) ของผลิตภัณฑ์
2.มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน เช่น GMP/Primary GMP/HACCP/ISO เป็นต้น
3.มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ เช่น อย./มผช./มอก./ฮาลาล/สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นต้น
4.มีกระบวนการผลิตหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5.มีตลาดหลักรองรับผลิตภัณฑ์ที่มีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่ตลาดที่เป็นงานแสดงสินค้า หรืองานที่หน่วยงานจัดให้