
ไขข้อข้องใจ มาตรา 33 และ 39 กรณีชราภาพได้เงินบำเหน็จเท่าไหร่ หลังจากมีการปรับผลประโยชน์ตอบแทนอัตราใหม่ร้อยละ 3.46 ต่อปี เช็กข้อมูลโดยละเอียดที่นี่
วันที่ 22 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานประกันสังคม เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 เรื่องกำหนด “ผลประโยชน์ตอบแทน” เงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 ลงนามโดยนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ระบุว่า เป็นการสมควรกำหนดอัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ
- ชง “วาระด่วน” รัฐบาลใหม่ ทุนจีนผวารถไฟไทย-จีนเปลี่ยนทิศ
- เปิดประวัติ ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ ทีมประสานต่างประเทศพรรคก้าวไกล
- แห่แชร์คลิป อ.วีระ ท้าก้าวไกล ถ้าได้เกิน 17 คนในกทม. มากระทืบได้เลย
และวิธีการในการคำนวณจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ คำนวณจ่ายในอัตราร้อยละ 3.46 ต่อปี (จากเดิมในปี 2565 ให้คํานวณจ่ายในอัตราร้อยละ 2.83 ต่อปี) ของเงินสมทบสุทธิและผลประโยชน์ตอบแทนสะสมรวมกัน
เงินสมทบมาตรา 33-39
– ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) หรือมนุษย์เงินเดือน ต้องจ่ายเงินประกันสังคมทุกเดือน โดยถูกหักจากเงินเดือนประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ (สูงสุดหักไม่เกิน 750 บาท) นอกจากนั้น นายจ้างต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมในอัตราเดียวกันด้วย
– ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39) หรือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน การสมัครประกันสังคมในกลุ่มนี้ มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ
ผู้ประกันตนมาตรา 39 ต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้ เจ็บป่วย/อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และเสียชีวิต
เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายแต่ละเดือนเข้ากองทุนของประกันสังคม จะถูกแบ่งการบริหาร 3 ส่วน จากเพดาน 750 บาท/คน/เดือน
1. จำนวน 225 บาท สมทบกองทุนดูแลเรื่องเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสียชีวิต ถึงแม้ไม่ใช้สิทธิก็ไม่ได้รับเงินคืน
2. จำนวน 75 บาท สำหรับใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ สามารถเอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างตกงานหรือรอหางานใหม่ ถึงแม้ไม่ใช้สิทธิก็ไม่ได้รับเงินคืน
3. จำนวน 450 บาท เก็บเป็นเงินออมกรณีชราภาพ จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี
ได้เงินชราภาพประกันสังคมเมื่อไหร่?
เงินบำเหน็จหรือบำนาญในระบบประกันสังคม โดยผู้ที่ได้รับแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา (ม.33, ม.39, ม.40)
- ผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 ต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
- ผู้ประกันตน มาตรา 40 ต้องมีอายุมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
กลุ่มที่ 2 ทายาทของผู้ประกันตนที่เสียชีวิต
- ลูก หรือ ลูกบุญธรรมที่ชอบด้วยกฏหมาย
- สามี-ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- บิดา-มารดา ที่มีชีวิตอยู่
ผู้ประกันตนจะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญ?
– บำเหน็จชราภาพ จะให้แก่ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 1-179 เดือน โดยจะได้รับเป็นเงินก้อน 1 ครั้ง
– บำนาญชราภาพ จะให้แก่ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน โดยจะได้รับรายเดือนไปตลอดชีวิต
สำหรับเงินบำนาญของผู้ประกันตนมาตรา 33 คำนวณจากอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานคำนวณ ซึ่งปัจจุบันฐานคำนวณค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท และกรณีผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนเพิ่ม 1.5% จากอัตรา 20% ในทุก 12 เดือน
สำหรับเงินบำนาญของผู้ประกันตนมาตร 39 ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือนหรือ 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ โดยสูตรคำนวณอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานคำนวณ ซึ่งปัจจุบันฐานคำนวณค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 4,800 บาท เท่ากับจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 960 บาทต่อเดือน
ทั้งนี้ เมื่อเกิดสิทธิรับบำนาญชราภาพแล้ว ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบต่อเนื่อง ประกันสังคมจะบวกเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือน ซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนได้รับเงินบำนาญชราภาพเพิ่มขึ้น
ผู้ประกันตนแต่ละคนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับฐานค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายและระยะเวลาการนำส่งเงินสมทบของแต่ละบุคคล