โอลิมปิก Tokyo 2020 จัดการแข่งขันบนหลัก SDGs มุ่งสู่ความยั่งยืน

โอลิมปิก Tokyo 2020 จัดการแข่งขันบนหลัก SDGs เพื่อความยั่งยืน ครอบคลุมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 32 (Tokyo 2020) โดยมีประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศเจ้าภาพ ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นช้ากว่ากำหนดการเดิม 1 ปี เนื่องจากสถานการณิการแพร่ระบาดของโควิด-19

โอลิมปิกครั้งนี้นอกจากจะมีความสำคัญในฐานะสัญลักษณ์ของความสามัคคี และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทั่วโลก แต่ญี่ปุ่นได้ประกาศด้วยว่า โอลิมปิก Tokyo 2020 จะเป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอย่างยั่งยืน และกำหนดแนวคิดความยั่งยืนของเกมว่า “Be better, together – For the planet and the people.” (ดีขึ้นด้วยกัน เพื่อโลก และเพื่อผู้คน) มุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการบรรลุ Sustainable Development Goals: SDGs (เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน) และจะส่งต่อแนวคิดนี้ไปยังกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกในอนาคต ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ทั่วญี่ปุ่นและทั่วโลก

ที่มาภาพ: olympics.com

ประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดหัวข้อความยั่งยืนที่โฟกัสหลัก ๆ ไว้ 5 ธีม ครอบคลุมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยธีมเหล่านี้ได้รับการคัดเลือกจากเป้าหมายใน SDGs เพื่อทำให้เกมกีฬาเป็นพลังบวกในการแก้ปัญหาสำคัญทางสังคม สร้างความยั่งยืนในการจัดซื้อจัดจ้างในห่วงโซ่อุปทานของสินค้าและบริการ ได้แก่

1. climate change การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยตั้งเป้าลดคาร์บอนฟรุตปรินส์จากการจัดงาน ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ใช้รถยนต์เพื่อภารกิจของโอลิมปิกที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 80 กรัมต่อกิโลเมตร

2. resource management (การบริหารจัดการทรัพยากร) โดยใช้ 3Rs คือ reduce reuse recycle มุ่งสู่ zero waste (ขยะเป็นศูนย์) โดยเลือกใช้วัสดุหมนุนเวียน วัสดุที่สามารถใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ เช่น ผู้ถือคบเพลิงจะสวมชุดเครื่องแบบที่ทำจากขวดโคคาโคลาที่ทิ้งแล้ว และคบเพลิงเชื้อเพลิงทำจากอะลูมิเนียมที่นำกลับมาใช้ นอกจากนั้น ตลอดการแข่งขันนักกีฬาจะนอนบนเตียงกระดาษแข็งรีไซเคิล และเหรียญรางวัลที่ทำจากชิ้นส่วนเครื่องอุปกรณ์อิเลคทรอนิกที่เสียแล้ว แท่นประกาศที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล

ที่มาภาพ: olympics.com

3. natural environment and biodiversity (ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวิภาพ) ลดการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อมาใช้เป็นวัสดุในโอลิมปิก โดยใช้แนวคิดยืมไม้ จากผู้ประกอบการไม้ในญี่ปุ่นมาใช้ชั่วคราว เพื่อลดการตัดไม้ รวมถึงการจัดระเบียบการซื้อวัตถุดิบอาหาร ต้องมาจากแหล่งที่มีการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นธรรม และในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น

4. human rights, labour and fair business practices (สิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมของแรงงาน) ส่งเสริมความเท่าเทียมกัน และเปิดโอกาสโดยเป็นธรรม ทั้งด้านเพศ และอายุ โดยอาสาสมัครที่ทำงานในโอลิมปิกปีนี้กว่า 80,000 มีสัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง อยู่ที่ 40:60 ขณะที่ช่วงอายุของอาสาสมัครมีตั้งแต่ 10 – 80 ปี

5. involvement, cooperation and communications (สร้างความร่วมมือ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย)