
นักโบราณคดีกัมพูชาชี้ “กุน ขแมร์” มีมานานแล้ว พบหลักฐานได้จากหินแกะสลักตามเทวสถานต่าง ๆ
วันที่ 31 มกราคม 2566 ยังคงเป็นที่ถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างต่อเนื่องในเรื่อง “กุน ขแมร์” ล่าสุด Khmer Times เปิดเผยว่า นักโบราณคดีกัมพูชาชี้ว่า กุน ขแมร์ นั้นมีมานานแล้ว โดยพยานหลักฐานได้จากเทวสถานต่าง ๆ
- โรงเรียนเอกชนวิกฤต ส่อปิดกิจการอีกหลายแห่ง กรุงเทพฯ หนักสุด
- เปิดที่มาประเพณีเข็นรถพระที่นั่งวชิราวุธวิทยาลัย จากรัชกาลที่ 6 ถึงปัจจุบัน
- อย.สั่งอายัดอาหารนำเข้าจากจีน 124 รายการ 7 ร้านจำหน่ายใน กทม.
โดยประติมากรรมนูนต่ำตามเทวสถานต่าง ๆ ของกัมพูชา มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของศิลปะป้องกันตัวอย่าง กุน ขแมร์ มวยปล้ำ และลาบ็อกกาตาว
เฟือง ดารา นักโบราณคดีขององค์การการจัดการและปกป้องนครวัดและพื้นที่โดยรอบเมืองเสียมราฐ หรือ APSARA ประเทศกัมพูชา ระบุว่า ศิลปะการต่อสู้ของเขมรส่วนใหญ่จะแกะสลักเป็นรูปสลักขนาดเล็กที่ส่วนล่างของเทวาลัย
ประติมากรรมเหล่านี้พบในเทวาลัยหลายแห่ง ทั้งนครวัด ปราสาทตาพรหม ปราสาทบายน ปราสาทบันเตียไสร ปราสาทพระขรรค์ เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น ทางด้านทิศใต้ของปราสาทตาพรหม ที่มีประติมากรรมประมาณ 8 ชิ้น ที่แกะสลักเรียงกัน โดยมีการกอด การคุกเข่า การวอร์มกล้ามเนื้อ และการรดน้ำ อีกทั้งยังมีรูปปั้นคนสองคนใช้เข่าเตะกันในท่าของ กุน ขแมร์ ด้วย