“sundogs” สำนักพิมพ์น้องใหม่เอาใจสายวิทย์

“sundogs” สำนักพิมพ์น้องใหม่เอาใจสายวิทย์

“sundogs” สำนักพิมพ์น้องใหม่เอาใจสายวิทย์ ชวนทุกคนกระโดดออกจากกล่อง ไปสัมผัสขอบฟ้าของความ(น่า)รู้อย่างไม่รู้เบื่อ

หากจะพูดถึงสำนักพิมพ์ที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ในไทย หลายคนอาจนึกได้เพียงไม่กี่ชื่อ ในขณะที่วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่กำลังเติบโตและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง วิทยาศาสตร์จึงเป็นอีกหมุดหมายที่สำคัญของการสร้างการเปลี่ยนแปลง sundogs จึงเกิดขึ้นเป็นจุดเล็กๆ ของจักรวาลสำนักพิมพ์สายวิทย์ในสังคมไทย

ผจญภัยในแบบ Science Odyssey
หนีตามวิทยาศาสตร์ไปสุดปลายขอบฟ้า

ไม่ว่าคุณจะเป็นสายวิทย์ หรือ กำลังสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เตรียมตัวให้พร้อมกับปรากฏการณ์การเดินทางของพวกเรา “sundogs” สำนักพิมพ์ที่อยากให้ทุกคนสนุกกับการเดินทางผจญภัยบนหน้ากระดาษและวิทยาศาสตร์หลากมุม พาไปสำรวจเรื่องราวตั้งแต่ใต้ดินไปจนถึงอวกาศ ท่องไปสัมผัสขอบฟ้าของความ(น่า)รู้อย่างไม่รู้เบื่อ กระโดดออกจากกล่องไปสนุกกับเรื่องวิทย์ๆ ที่ซุกซ่อนอยู่รอบโลกและรอบตัวของเรา โต้คลื่นความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอของกระแสวิทยาศาสตร์ที่กำลังไหลเวียนอยู่ขณะที่เราตื่นและหลับ ทั้งตอนพระอาทิตย์ขึ้นและลาลับฟ้า “sundogs” พร้อมเดินทางผจญภัยในแบบ Science Odyssey หนีตามวิทยาศาสตร์ไปสุดปลายขอบฟ้าด้วยกันกับทุกคน!

ชื่อ “sundogs” มาจากไหน?

ชื่อของสำนักพิมพ์ “sundogs” เป็นชื่อเดียวกันกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ “ทรงกลด” (halo phenomena) ที่เกิดจากการที่แสงอาทิตย์-แสงจันทร์หักเหหรือสะท้อนโดยผลึกน้ำแข็งในบรรยากาศ ทำให้เราเห็นเป็นเส้นโค้ง แถบ หรือจุดสว่างบนท้องฟ้า ผลึกน้ำแข็งที่ว่านี้อาจล่องลอยอยู่ใกล้ๆ พื้น (หากเป็นแถบเขตหนาว) หรืออาจอยู่ในเมฆ โดยเฉพาะเมฆระดับสูง ได้แก่ ซีร์โรสเตรตัส (Cirrostratus) และซีร์รัส (Cirrus)

นอกจากนี้ยังเป็นปรากฏการณ์ทรงกลดที่เกิดขึ้นบ่อยเป็นลำดับที่สองรองจากทรงกลด 22 องศา โดยมีลักษณะเป็น “แถบแสงสีรุ้ง” ทางซ้ายและขวาของดวงอาทิตย์ ทั้งนี้ชื่ออย่างเป็นทางการของซันด็อกคือ พาร์ฮีเลียน (parhelion) มาจากคำว่า par คือ อยู่ข้างๆ + helios คือ ดวงอาทิตย์ ดังนั้น parhelion จึงหมายถึง (แถบแสง)ที่อยู่ ข้างๆ ดวงอาทิตย์นั่นเอง

คำว่า sundog บางครั้งก็สะกดว่า sun dog มีคำอธิบายที่มาแบบหนึ่งคือ แถบแสงเปรียบเสมือนสุนัขที่คอยติดตามเจ้านายซึ่งก็คือดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้เอง ชาวคนรักมวลเมฆจึงพากันเรียกซันด็อกด้วยความน่ารักน่าเอ็นดูว่า “หมาน้อย”

เจ้า “หมาน้อย” ของเรายังมีแง่มุมน่าสนใจอีกมากมายภายใต้เรื่องเล่าเรื่องราวแบบวิทยาศาสตร์ เช่น ซันด็อกหันด้านสีแดงเข้าหาดวงอาทิตย์เสมอ ซันด็อกอาจมีเส้นสีขาวยื่นออกไป เปรียบคล้ายๆ กับ “หาง” ของหมาน้อย เส้นสีขาวนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงกลมพาร์ฮีลิก (parhelic circle) ซันด็อกเกิดได้ทั้งในช่วงเช้าและช่วงเย็น โดยลักษณะของซันด็อกขึ้นกับมุมเงยของดวงอาทิตย์ หากดวงอาทิตย์อยู่ที่ขอบฟ้า ซันด็อกจะอยู่บนเส้น ทรงกลดวงกลม 22 องศาพอดีแต่ยิ่งดวงอาทิตย์อยู่สูงจากขอบฟ้าเท่าไหร่ ซันด็อกก็จะหนีห่างจากวงกลม 22 องศาไปมากเท่านั้น และยังจะจางลงอย่างมาก ฯลฯ

จะเห็นว่าภายใต้ชื่อเรียกปรากฏการณ์ที่เต็มไปด้วยความน่ารักสนุกสนานอย่างคำว่า “sundogs” นี้กลับซุกซ่อนไปด้วยเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์หลากหลายมุมที่เราไม่เคยรู้มาก่อน จึงสะท้อนความสนุกสนาน ความป็อบ ความเป็นกันเองของเรื่องเล่าแบบวิทย์ๆ ซึ่งเป็นน้ำเสียงและเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ในแบบที่พวกเราชาวสำนักพิมพ์ sundogs อยากนำเสนอกับทุกคนนั่นเอง!

ประเดิม 2 เล่มแรก

sundogs ประเดิมสองเล่มใหม่ที่จะชวนสนุกกับวิทยาศาสตร์ในแตกต่างแง่มุม ได้แก่ “Need to Know รู้แล้วรู้รอด” โดยนักเขียนที่แวดวงวิทยาศาสตร์รู้จักกันเป็นอย่างดีอย่าง “ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์” กับหนังสือซีรีส์ Pop Science สีสันสดใสและอ่านสนุกรูปแบบใหม่ พร้อมจะพาคุณไปสำรวจเรื่องราวรอบตัวและตอบคำถามที่น่าสนใจในปัจจุบัน เพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมและมุมมองของมนุษย์ ตระหนักรู้ในตัวเองและเข้าใจในผู้อื่นได้มากขึ้น ชวนตั้งคำถามสำคัญแบบวิทย์ๆ เช่น การเมืองทำให้คนโง่? อำนาจทำให้ฉ้อฉล? ลืมทำไม? ทำไมลืม? ทำไมตกหลุมพรางโฆษณา? ทำไมคนแก่ไม่ชอบฟังเพลงวัยรุ่น?…และความจริงอีกมากมายที่คุณ Need to Know! เริ่มเปิดขายแล้ววันนี้ที่: http://bit.ly/413ihQz

สำหรับอีกหนึ่งเล่มที่มาในแนวเข้มข้นและจะพานักอ่านท่องไปสุดขอบจักรวาลคือ “Chasing New Horizons: ภารกิจพิชิตพลูโต” ผลงานของ Alan Stern และ David Grinspoon และแปลโดย “ชยภัทร อาชีวระงับโรค” คนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบเรื่องอวกาศ และทำงานเป็นนักเขียนและเทคโนโลจิสต์ให้สื่อออนไลน์ชื่อดังสำหรับคนรักวิทย์อย่าง Spaceth.co

เล่มนี้จะชวนตั้งต้นกันจากคำกล่าวที่ว่า “พลูโตยังไม่ถูกสำรวจ” ที่ปรากฏอยู่ในชุดแสตมป์ดาวเคราะห์ที่ระลึกซึ่งออกโดยการไปรษณีย์สหรัฐเมื่อปี 1991 เป็นหนึ่งในเครื่องพิสูจน์ว่ามนุษย์นั้นมีศักยภาพมากพอจะบรรลุเป้าหมายใดๆ ที่พวกเราไขว่คว้า เพราะ 24 ปีต่อมา ในที่สุดยานอวกาศไร้คนขับนามว่า “นิวฮอไรซันส์” ก็ไปถึงดาวพลูโต ทว่าแท้จริงแล้วการเดินทางของนิวฮอไรซันส์ ดำเนินมายาวนานกว่านั้นมาก เบื้องลึกของภารกิจเพื่อสำรวจดวงดาวอันหนาวเหน็บและห่างไกลที่สุดดวงนี้ก่อร่างขึ้นด้วยหยาดเหงื่อ หยาดน้ำตา และการอุทิศชีวิตของคนนับพันที่ต่างมีเป้าหมายเดียวกัน พาตามรอยการเดินทางของ นิวฮอไรซันส์ ไปสำรวจหลังม่านภารกิจสู่ดาวดวงสุดท้ายในระบบสุริยะที่จะไขทุกปริศนาซึ่งเคยไร้คำตอบของดาวพลูโต

สองเล่มแรกยังน่าสนุกและพาไปถึงสุดขอบจักรวาลขนาดนี้ แล้วเล่มต่อไปจะพานักอ่านไปเดินทางผจญภัยในโลกวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง โปรดติดตามและเดินทางไปพร้อมกับพวกเรา
💫 sundogs 💫 —- Science Odyssey
Facebook Page: https://web.facebook.com/readsundogs

#sundogs #ซันด็อก #ScienceOdyssey #วิทยาศาสตร์ #PopScience