โรงงานอาหารสัตว์ ยื่นหนังสือร้อง “ประวิตร” ขอขึ้นราคาตามต้นทุนวัตถุดิบ

ประวิตร
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยสุดทนยื่นหนังสือร้อง “ประวิตร” รักษาการนายกฯ พ่วง จุรินทร์ ขอขึ้นราคาอาหารสัตว์-ปลดล็อกเปิดเสรีนำเข้าวัตถุดิบเสรี พร้อมวางมาตรการปล่อยคาร์บอน

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้ส่งหนังสือถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาการนายกรัฐมนตรี และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อพิจารณาให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์ปรับราคาจำหน่ายตามต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น

ขณะเดียวกันขอให้ใช้นโยบายประกันรายได้เกษตรกรกำกับดูแล และปล่อยเสรีในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมถึงส่งเสริมพัฒนา การผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศให้มีมาตรฐานการปล่อยคาร์บอน

พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล
พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

เนื่องจากสถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตวในปัจจุบันท้ังในประเทศและต่างประเทศยังทรงตัวสูงต่อเนื่อง แม้ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ ได้มีการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการนนำเข้าให้แก่ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ แต่กลับไม่ได้ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบอ่อนตัวลง ผู้ประกอบการยังคงต้องรับความเสี่ยงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งยังยืดเยื้อต่อเนื่อง

รวมถึงสถานการณ์ภัยแล้ง ที่กำลังเกิดขึ้นที่กับประเทศสหรฐัอเมริกาและจีน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตหลักยิ่งจะส่งผลให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์หลังจากน้ีปรับตัวสูงขึ้นไปอีก

ในขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ยังคงนโยบายกำหนดราคาจำหน่ายขั้นสูงของอาหารสัตว์ เป็นผลให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะรายเล็กกำลังประสบกับปัญหาขาดสภาพคล่อง หากปล่อยไว้เช่นน้ีจะส่งผลให้ต้องเลิกกิจการไปในไม่ช้า

สำหรับสถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ณ เดือน ส.ค. 2565 ซึ่งราคาประมาณการของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 12.30 บาท/กก. จากปี 2564 อยู่ที่ 10.05 บาท/กก. ปลายข้าว 13.30 บาท/กก. ปีก่อนอยู่ที่ 11.98 บาท/กก. มันสำปะหลัง 9.30 บาท/กก. ปีก่อนอยู่ที่ 7.79 บาท/กก. ข้าวสาลี 14 บาท/กก. ปีก่อนอยู่ที่ 8.94 บาท/กก.
ข้าวบาร์เล่ย์ 14 บาท/กก. ปีก่อนอยู่ที่ 9.48 บาท/กก. กากถั่วเหลือง 21 บาท/กก. ปีก่อนอยู่ที่ 16.51 บาท/กก. ส่วน DDGS 16 บาท/กก. จากปีก่อนอยู่ที่ 12.40 บาท/กก. และ ปลาป่น 43 บาท/กก. จาก 34.50 บาท/กก. เมื่อปีก่อน ซึ่งจากราคาดังกล่าวจะเห็นได้ว่านับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2565 ราคาปรับขึ้นทุกตัว

นอกจากนี้ วัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศยังมีปัญหาเรื่องการเพาะปลูก เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กว่า 40% ปลูกในพื้นที่ที่ไม่ถูกต้อง และไม่มีมาตรฐานการผลิตในเรื่องการปล่อยคารบ์อน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อธุรกิจต่อเนื่อง โดยเฉพาะเน้ือสัตว์ส่งออกที่จะต้องตอบสนองเงื่อนไขของตลาดต่างประเทศ