
ซีพีเอฟ ติวเข้มคู่ค้า 200 องค์กร จัดใหญ่สัมมนา CPF CAPACITY BUILDING FOR PARTNERSHIP 2022 ยกระดับห่วงโซ่อุปทานรับมือวิกฤตโลกร้อน
วันที่ 21 ธันวาคม 2565 นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหาร ฝ่ายปฎิบัติการธุรกิจสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในฐานะ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนและกำกับดูแลการจัดหาอย่างยั่งยืน เป็นประธานเปิดงานสัมมนาพัฒนาศักยภาพคู่ค้าธุรกิจ CPF CAPACITY BUILDING FOR PARTNERSHIP 2022
- EV จีนทุบราคาเลือดสาด ฉางอานท้ารบ-BYD เกทับลดอีกแสน
- รู้จัก น้ำมัน EURO 5 เริ่มใช้ 1 ม.ค. 67 มีผลกับค่าการตลาดน้ำมันอย่างไร
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
เพื่อแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานที่ทันสมัยและปรับตัวรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแก่คู่ค้าธุรกิจกว่า 200 องค์กร ยกระดับห่วงโซ่อุปทานอาหารที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันคู่ค้าธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
โดยมีนายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง และนางสาวธิดารัตน์ เดชายนต์บัญชา รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ ซีพีเอฟ ร่วมสื่อสารนโยบายและแนวทางการจัดซื้อที่รับผิดชอบต่อโลก ณ ทรู ไอคอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม

นายสิริพงศ์กล่าวว่า บริษัทจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้และแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินงานที่เป็นเลิศและรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแก่คู่ค้าธุรกิจอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันของคู่ค้าและสร้างความเชื่อมั่นว่าต้นทางของผลิตภัณฑ์ของซีพีเอฟปราศจากการใช้แรงงานผิดกฎหมาย และไม่บุกรุกป่า สอดคล้องกับนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจของซีพีเอฟ
โดยในปีนี้ บริษัทจัดขึ้นภายใต้แนวคิด Sustainable Partnership in Action toward Green & Smart Mutual Growth มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงหลัก ESG สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และการกำกับดูแลตามหลักธรรมาภิบาล (Governance) พัฒนาการดำเนินงานที่เป็นเลิศ และเตรียมความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นกระแสที่สำคัญของโลก
“ในปีนี้ ซีพีเอฟมุ่งเน้นส่งเสริมคู่ค้าธุรกิจยกระดับการดำเนินงานทันต่อกระแสโลกในรูปแบบ Smart & Green ยกระดับความทันสมัยสู่ยุคดิจิทัล และผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตอบรับความต้องการผู้บริโภคทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่มาจากกระบวนการผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ และสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้คู่ค้าธุรกิจของซีพีเอฟเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน” นายสิริพงศ์กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมระดับสากล จาก 3 องค์กรชั้นนำ ได้แก่ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ บริษัท เซาท์โพล กรุ๊ป (ประเทศไทย) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มาร่วมถ่ายทอดและแบ่งปันข้อมูลและแนวปฏิบัติของภาคธุรกิจเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อน
ซึ่งคู่ค้าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีแนวปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานได้มาตรฐานสากล สร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและผู้บริโภคทั่วโลก
นางสาวทัณฑิกา แก้วนพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสพีเค โฟรเซ็น โปรดักส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทดำเนินธุรกิจตัดแต่งและคัดผักและผลไม้ส่งให้ซีพีเอฟและบริษัทในเครือ ซี.พี. ตระหนักดีว่าสถานการณ์สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อการผลิตพืชผัก ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น จึงให้ความสำคัญกับแนวทางการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการผลิต อาทิ
การนำเศษผักและผลไม้หลังการตัดแต่งบริจาคให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร และเปลี่ยนภาชนะบรรจุสินค้าเป็นตะกร้าพลาสติกเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน บริษัทใหญ่ช่วยสนับสนุนคู่ค้าที่เป็นผู้ผลิตรายเล็กมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น เพื่อให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
นางสาวปิยะวัณณ์ ปัญญานุกูล ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท น้ำมันพืชปทุม ผู้ผลิตน้ำมันพืชเกสร เปิดเผยว่า บริษัทได้ผนวกความยั่งยืนอยู่ในห่วงโซ่การผลิตโดยขอความร่วมมือจากทุกคนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เกษตรกรที่เป็นต้นทางการผลิต โดยบริษัทให้ความรู้และความเข้าใจแก่เกษตรกรได้ตระหนักและร่วมกันพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้มาตรฐานสากล แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่สุดท้ายทุกคนรวมถึงเกษตรกรได้รับประโยชน์ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ซีพีเอฟมีความมุ่งมั่นส่งเสริมความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ด้วยการจัดหาวัตถุดิบและสินค้าอย่างรับผิดชอบ ร่วมบรรเทาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าธุรกิจให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันสูงขึ้น ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย เพิ่มโอกาสคู่ค้าธุรกิจยกระดับสู่การเป็นผู้ผลิตบนเวทีระดับสากล และพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน