
ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม ท่ามกลางความกังวลของอุปทาน หลังรัสเซียประกาศลดการส่งออกน้ำมัน
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ.ไทยออยล์ ระบุว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา ดังนี้ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสและเบรนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยได้ปัจจัยหนุนจากความกังวลเรื่องอุปทาน จากกรณีที่รัสเซียประกาศแผนลดการส่งออกน้ำมันจากท่าเรือต่าง ๆ ทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ลงสูงสุด 25% ในเดือน มี.ค. 2566 มากกว่าที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ว่าจะลดกำลังผลิตน้ำมัน 500,000 บาร์เรลต่อวัน
- มหาดไทยประกาศ ขอสละสัญชาติไทย 75 ราย แห่ไปขอถือสัญชาติสิงคโปร์
- ปลื้ม 4 มหาวิทยาลัยไทยติด TOP 100 ของโลกด้านความยั่งยืน
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 1 มิ.ย.นี้ ใครมีสิทธิรับวงเงินค่าซื้อสินค้า 900 บาท
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง หลังตลาดกังวลเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบที่ซื้อขายกันในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ มีราคาแพงขึ้น และน่าสนใจน้อยลงสำหรับนักลงทุนที่ถือเงินสกุลอื่น
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 17 ก.พ. 66 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 479 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มเพียง 2.1 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส อยู่ที่ 75.39 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้น 1.44 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ อยู่ที่ 82.21 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้น 1.61 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ 79.94 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือลดลง 0.71 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซินปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปทานน้ำมันเบนซินจากฝั่งตะวันออกกลางมีแนวโน้มไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียมากขึ้น ประกอบกับอุปสงค์ที่อาจชะลอตัวลงก่อนเข้าสู่เทศกาลถือศีลอด
ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกของจีนปรับลดลง จากความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในประเทศที่สูงขึ้น