ข้าวราคาพุ่งหอมมะลิ1.77หมื่นบาท/ตันหลังคำสั่งซื้อจากแอฟริกา-เอเชียเพิ่ม

ข้าวราคาพุ่งหอมมะลิ1.77หมื่นบาท/ตันหลังคำสั่งซื้อจากแอฟริกา-เอเชียเพิ่ม ”ลักษณ์”หวั่นชาวนาแห่ปลูกทะลักปลายปีกดราคาร่วง

นายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของผู้รับผิดชอบรายสินค้า (มิสเตอร์สินค้า) นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าวในฐานะมิสเตอร์ข้าวได้รายงานราคาข้าว ณ สิ้นสุดเดือนก.พ.2561 ข้าวเปลือกความชื้น 15% ข้าวหอมมะลิ 15,000-17,700 บาท/ตัน เพิ่มขึ้น 3,900-4,100 บาท/ตันจากเดือนพ.ย.2560 และเพิ่มขึ้น5,900-6,200 บาท/ตันจากพ.ย.2559 ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ราคา 10,000-11,500 บาท/ตัน เพิ่มขึ้น 1,100-1,800 บาท/ตันจากเดือนพ.ย.2560 และเพิ่มขึ้น 2,000-3,400 บาท/ตันจากพ.ย.2559 ข้าวเปลือกเจ้า 5% ราคา7,400-8,000 บาท/ตันเพิ่มขึ้น 100-200 บาท/ตันจากเดือนพ.ย.2560 และเพิ่มขึ้น 200-500 บาท/ตันจากพ.ย.2559 ข้าวเหนียวเมล็ดยาว ราคา 9,700-10,850 บาท/ตัน เพิ่มขึ้น 1,600-2,200 บาท/ตันจากเดือนพ.ย.2560 และลดลง 1,150-1,900 บาท/ตันจากพ.ย.2559

ทั้งนี้ จากราคาข้าวหอมมะลิ ณ สิ้นสุด ก.พ.2561 อยู่ที่ 15,000-17,700 บาท/ตัน จูงใจให้ชาวนาหันมาปลูกข้วหอมมะลิเพิ่มขึ้น ดังนั้นต้องระวังผลผลิตที่จะออกมากระจุกตัวในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค.2561 จึงอาจเกิดผลผลิตออกมาพร้อมๆกันและส่งผลให้ราคาข้าวอ่อนตัว เหมือนช่วงปลายปีก่อน และโรงสีไม่รับซื้อ ชาวนาต้องขายข้าวเอง ดังนั้นกระทรวงเกษตรฯจำเป็นต้องเร่งหาวิธีรับมือ ข้าวกระจุกตัว ส่งผลให้ราคาตกต่ำ ใช้หลักเกณฑ์ตลาดนำการผลิตเพื่อให้มีการผลิตข้าวสมดุลกับความต้องการ เพื่อรักษาเสถียรภาพไม่ให้ราคาข้าวอ่อนตัวภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร

ดังนั้นกระทรวงเกษตรฯหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิดภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการสินค้าข้าว (นบข.) ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งในช่วงการผลิตกระทรวงเกษตรได้พยายามควบคุมผลผลิต โดยการปรับเปรียนพื้นที่ปลูกข้าวในที่ไม่เหมาะสมไปปลูกพืชอื่น ส่งเสริมให้ปลูกพืชหลายหลาย เพื่อให้เป้าหมายผลผลิตข้าวอยู่ในกรอบที่ต้องการ โดยผลผลิตปี 2561/62คาดว่าปริมาณข้าวเปลือกจะอยู่ประมาณ 30.524 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.024 ล้านตันข้าวเปลือกหรือ 3.48%

ในช่วงการเก็บเกี่ยว จึงต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน โดยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นจองรถเกี่ยวข้าว ให้ขยายไปทั่วประเทศ ช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนให้กับชาวนา ส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย 3% รวมถึงมาตรการส่งเสริมการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวเพื่อเก็บข้าวในสต๊อก รวมไปถึงมาตรการเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ แบบรัฐต่อรัฐ เจรจาขายข้าวดดยกระชับความสัมพันธ์กับคู่ค้าต่างผประเทศ และเร่งทำตลาดเชิงรุก สร้างการรับรู้ข้าวไทยในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวโลกปีการผลิต 2560/ 61 คาดผลผลิตข้าวทั่วโลกจะมีปริมาณ 484.3 3 ล้านตันข้าวสาร ลดลง 2.45 ล้านตันข้าวสาร หรือลดลง 0.50% จากปีการผลิต 2559 / 60 เนื่องจากปริมาณผลผลิตข้าวของอินเดีย บังกลาเทศ สหรัฐอเมริก าเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ลดลง ส่วนปี 2561 คาดการณ์ว่าปริมาณการค้าข้าวของโลกจะมีปริมาณ 47.36 ล้านตันข้าวสารลดลง 0.1 9 ล้นตันหรือ 0.40% จากการค้าข้าวโลกในปี 2560 เนื่องจากบังคลาเทศ อีหร่าน แอฟริกา เม้กซิโก และสหกรัฐอเมริกา ลดปริมาณน้ำเข้าข้าวลดลง ขณะที่อินเดียยังคงเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ต่อจากปีก่อน คาดว่าส่งออกประมาณ 12.51 ล้านตันข้าวสาร ขณะที่ไทยส่งออกได้ 10.20 ล้านตันข้าวสารมาเป็นอันดับ 2 ทั้งนี้คาดการณ์การส่งออกข้าวไทยมีแนวโน้มดีเนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มโดยเฉพาะภูมิภาคแอฟริกาและเอเชีย นอกจากนี้ผลผลิตข้าว และอินเดีย บังคลาเทศ มีแนวโน้มลดลงประกอบกับ เศรษฐกิจโลกดีขึ้นส่งผลให้กำลังซื้อของโลกเพิ่มขึ้น