
พรุ่งนี้ 7 โมง ไทยพร้อมส่งดาวเทียม THEOS-2 จากท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา แอฟริกาใต้ ขึ้นสู่วงโคจร GISTDA ถ่ายทอดสัญญาณรับชมทั่วประเทศ
วันที่ 6 ตุลาคม 2566 ดร.พรเทพ นวกิจกนก ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ THEOS-2 จากสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) กล่าวว่า ดาวเทียมสำรวจโลก THEOS-2 จะถูกนำส่งขึ้นสู่วงโคจรในเช้าวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 08.36 น. จากท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา ในทวีปอเมริกาใต้
- ในหลวง พระราชินี เสด็จฯส่วนพระองค์ ทรงร่วมแข่งเรือใบ จ.ภูเก็ต
- เช็กที่นี่ เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท เดือนธันวาคม 2566 เงินเข้าวันไหน
- เปิดค่าตอบแทน “ผู้บริหาร” ยักษ์ บจ. BBL จ่ายพันล้านต่อปี ทิ้งห่างคู่แข่ง
และคาดว่าดาวเทียม THEOS-2 จะแยกตัวจากจรวดนำส่ง Vega ภายใน 50 นาที หลังจากขึ้นสู่อวกาศ โดยดาวเทียม THEOS-2 ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะการนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจเชิงพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงจากอวกาศ
ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลได้ลงทุน ไม่ใช่แค่เรื่องของดาวเทียมเท่านั้น แต่เป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศที่จำเป็น การลงทุนในระบบสารสนเทศทุก ๆ อย่างที่จะทำให้ข้อมูลจากดาวเทียมได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเห็นผลจริงกับคนไทย
ดร.พรเทพกล่าวเพิ่มเติมว่า การมีดาวเทียม THEOS-2 จะทำให้ประเทศไทยเป็นเจ้าของข้อมูลดาวเทียมรายละเอียดสูงที่แบ่งปันกันได้ทั้งในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นแวดวงวิชาการ แวดวงธุรกิจ หรือความมั่นคง ซึ่งข้อมูลจากดาวเทียมนั้นไม่ได้มีประโยชน์แค่กับรัฐ แต่ส่งประโยชน์ถึงภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาด้วย
สำหรับกิจกรรมด้านอวกาศในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีของประเทศไทยในการนำส่งดาวเทียมสำรวจโลกขึ้นสู่วงโคจร หลังจากที่ดาวเทียมไทยโชต หรือ THEOS-1 ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อปี 2551
ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจในกิจกรรมการนำส่งดาวเทียม THEOS-2 สามารถรับชม Live Streaming ทาง GISTDA youtube: https://www.youtube.com/@GISTDAspace และ GISTDA Facebook page: https://www.facebook.com/gistda ตั้งแต่เวลา 07.00-09.30 น. จากสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียม อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา ในทวีปอเมริกาใต้ และมีช่อง TNN16 ร่วมถ่ายทอดสดกับเราด้วย
นอกจากนี้ ยังมีสื่อร่วมแชร์การ Live Streaming ผ่านเพจ ทั้งนี้ ขอเรียนเชิญสื่อต่าง ๆ ที่สนใจสามารถแชร์ Live Streaming ได้จากช่องทางหลักของ GISTDA ที่แจ้งไว้ข้างต้นได้เลย โดยจะมีวิศวกรดาวเทียมที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญร่วมพูดคุยให้ความรู้ตลอดรายการด้วย ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ครั้งนี้ร่วมกัน