ค่าระวางเรือจ่อขึ้น 1,500 เหรียญสหรัฐต่อตู้ เหตุโจมตีสินค้าผ่านทะเลแดง

ส่งออก
Photo : pexels

สรท.เผยเหตุโจมตีเรือขนส่งสินค้าที่แล่นผ่านทะเลแดงของกบฏฮูตีช่วงที่ผ่านมา กระทบขนส่งสินค้าทางเรือทั่วโลก คาดจะมีผลต่อค่าระวางเรือจะปรับขึ้น 1,500 เหรียญสหรัฐต่อตู้คอนเทนเนอร์ ขนส่งนานขึ้น คาดการส่งออกสินค้าต้องใช้เส้นทางแหลมกู๊ดโฮป แอฟริกาใต้แทน 

วันที่ 20 ธันวาคม 2566 รายงานข่าวระบุว่า ตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2023 ที่ผ่านมา บริษัทขนส่งสินค้าทางเรือขนาดใหญ่ที่สุดของโลก 4 ใน 5 บริษัท ทยอยกันระงับเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าผ่านแถบนี้ทั้งหมด เนื่องจากกองกำลังกบฏฮูตี ที่ได้รับการฝึกและหนุนหลังจากอิหร่าน ประกาศให้เป็นเส้นทาง “ห้ามผ่าน” และโจมตีเรือสินค้าทุกลำที่ใช้เส้นทางนี้ เพื่อแสดงการสนับสนุนต่อปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ฮูตีโจมตีเรือสินค้า 1 ลำด้วยโดรน ข่มขู่เรืออีก 1 ลำ จากนั้นก็ยิงจรวดแบบบอลลิสติกอีก 2 ลูก เข้าใส่เรือสินค้า “เอ็มวี พาลาติอุมที่ 3” หนึ่งในจำนวนนั้นโดนเป้าหมายอย่างจัง

วันที่ 16 ธันวาคม เรือรบ “ยูเอสเอส คาร์นีย์” ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกส่งเข้าประจำการในบริเวณนั้น ยิงโดรน 14 ลำร่วง เพื่อป้องกันการโจมตี ในขณะที่เอสเอ็มเอส ไดมอนด์ เรือรบของอังกฤษ ทำลายโดรนอีกส่วนหนึ่ง

เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่สุ่มเสี่ยงต่อการถูกโจมตีจนได้รับความเสียหาย ลูกเรือบาดเจ็บล้มตาย จำต้องประกาศระงับเส้นทางเดินเรือผ่านทะเลแดง เริ่มด้วยเมอส์ก (Maersk) กับฮาแพ็ก-ลอยด์ (Hapag-Lloyd) ในวันที่ 15 ธันวาคม ต่อด้วยซีเอ็มเอ ซีจีเอ็ม และเอ็มเอสซี (CMA CGM และ MSC) ในวันถัดมา โดยให้เรือส่วนหนึ่งเปลี่ยนไปใช้เส้นทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮป “จนกว่าเส้นทางทะเลแดงจะปลอดภัย”

ทั้ง 4 บริษัทถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในการขนส่งสินค้าทางเรือด้วยตู้คอนเทนเนอร์อันดับต้น ๆ ของโลก รวมปริมาณสินค้าที่จัดส่งเข้าด้วยกันคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 53% ของการขนส่งสินค้าทางเรือทั้งหมด

Advertisment

ค่าระวางเรือจ่อขึ้น

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ที่มีการโจมตีเรือขนส่งสินค้าในพื้นที่ทะเลแดง ที่จะขนส่งผ่านเส้นทางคลองสุเอซ ซึ่งยอมรับว่ามีผลต่อการขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการส่งออกสินค้าเอเชียไปยุโรป เรือขนส่งสินค้าที่ใช้เส้นทางนี้มีการเดินเรือประมาณ 100-120 ลำต่อวัน

โดยเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมากเพราะสินค้าไทย เช่น สินค้าไทยที่ส่งออกไปยุโรป คิดเป็น 8% ของการส่งออกไทยทั้งหมด ใช่เส้นทางนี้ สินค้าส่วนใหญ่ที่ส่งออก เช่น อาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ ยางล้อรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งมีผลต่อการส่งออกไทย รวมไปถึงคู่แข่งด้วย แม้แต่จีนเองก็ใช้เส้นทางนี้ในการขนส่งสินค้าไปยุโรป

Advertisment

ทั้งนี้ จากการติดตาม สายเดินเรือมีการหยุดรับจองบุ๊กกิ้ง ในการส่งออกสินค้าที่ผ่านเส้นทางดังกล่าว และหากสถานการณ์ยืดเยื้อ การเดินทางขนส่งไม่สามารถทำได้ คาดว่าจะมีผลต่อค่าระวางเรือ ทำให้สายเดินเรือจำเป็นจะต้องใช้เส้นทางอื่น โดยอ้อมไปทางแหลมกู๊ดโฮปของประเทศแอฟริกาใต้ จะทำให้ระยะเวลาการเดินเรือมากขึ้นจากเดิมเป็น 10-15 วัน ค่าระวางเรือเพิ่มขึ้นอีก 1,500 เหรียญต่อตู้คอนเทนเนอร์

“ค่าระหว่างเรือที่ไปยุโรป จะปรับตัวสูงขึ้น ระยะเวลานานขึ้น จากการติดตามแม้มีเรือสินค้าผ่านอยู่ แต่ไม่มาก และสายเรือก็หยุดรับบุ๊กกิ้ง หยุดเดินเรือ ผ่านช่องทางนี้ และอ้อมไปใช้เส้นทางแหลมกู๊ดโฮป”

อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากอาทิตย์หน้ายังน่าเป็นห่วง จะยืดเยื้อหรือไม่ เพราะจะมีผลต่อซัพพลายเชนของโลก เพราะเป็นเส้นทางสำคัญ นอกจากนี้ ก็ยังต้องติดตามเรื่องสถานการณ์ เรือบรรทุกน้ำมันด้วย เพราะจะมีผลกระทบต่อราคาน้ำมัน และค่าระวางเรือ เห็นได้จากกรณีเรือเอเวอร์ กิฟเวน หลุดจากการเกยตื้นแล้ว หลังติดขวางการจราจรในคลองมาเกือบ 1 สัปดาห์ขวางคือ ก็กระทบไปทั่วโลก

รู้จักทะเลแดง

ทะเลแดงมีเส้นทางที่เชื่อม น้ำทะเล ของ มหาสมุทรอินเดีย โดยตั้งอยู่ระหว่าง ทวีปแอฟริกา และ ทวีปเอเชีย  นอกจากนี้ ทางใต้ของทะเลแดง มีช่องแคบ บาบุลมันดิบ กับ อ่าวเอเดน เชื่อมกับมหาสมุทร ส่วนทางเหนือติดกับ คาบสมุทรไซนายอ่าวอะเกาะบะฮ์ และ อ่าวสุเอซ  เส้นทางไปยัง คลองสุเอซ ข้างใต้ทะเลมี รอยแยกทะเลแดง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ เกรตริฟต์แวลลีย์

โดยทะเลแดงมีพื้นที่ติดกับ 6 ประเทศ