ปตท. ปรับโมเดลธุรกิจฝ่าวิกฤต ชู Life Science โฟกัส 4 กลุ่มสินค้า

“บุรณิน” ชี้วัคซีนเศรษฐกิจเอกชนต้องกล้าหาญปรับโมเดลธุรกิจฝ่าวิกฤต ปตท. นำร่อง รุก life science อุตสาหกรรมใหม่ New S-curve โฟกัส 4 กลุ่มหลัก “ยา-อาหารอนาคต-อุปกรณ์การแพทย์-เทคโนโลยีวินิจฉัยโรค”

นายบุรณิน  รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลายบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา “วัคซีนเศรษฐกิจ วัคซีนประเทศไทย” จัดโดย หนังสือพิมพ์ “ประชาชาติธุรกิจ” ในหัวข้อ Thailand New S-curve ว่า ช่วงปี 2020-2021 จะเห็นว่า เป็นปีที่จะต้องเปลี่ยนผ่านธุรกิจ เศรษฐกิจ และปีนี้จะเห็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว Globle Economic จะพูดถึงนวัตกรรมใหม่ ปฏิวัติสู่ อุตสาหกรรม 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ

บุรณิน PTT

ปั้น “อินโนบิก” New S-curve

โดยเทรนด์ของโลกจะเปลี่ยนแปลง หรือ ปตท.เองก็ต้องมีการปรับพอร์ต หรือมีการพูดถึง ส่วนการบริหารจะต้องเปลี่ยนไป เศรษฐกิจสีเขียว ระบบสุขภาพ การป้องกัน การรักษา หนี้สาธารณะ งบประมาณรัฐบาลในการเยียวยา ใช้เงินได้ต้องหาเงินเป็น

จากภาพทั้งหมดนี้ บริษัทแต่ละบริษัทจะต้องทำเพื่อสังคม แน่นอนว่า ในปีที่ผ่านมา เราได้ปรับบริษัทปิโตรเลียมขั้นปลาย โดยมี 3 กลุ่มธุรกิจเก่า ซึ่งสามารถสร้างรายได้มานาน แต่ต้องการปรับทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ มี productivity เพื่อลดต้นทุน และกลุ่มธุรกิจปัจจุบัน

ส่วนธุรกิจใหม่ ผมมองว่า จะทำอย่างไรให้โต และเร็วกว่าเดิม เดิมประกอบด้วยน้ำมัน ปิโตรเคมี จากเม็ดพลาสติกธรรมดา ต้องสร้างให้มีมูลค่าสูงขึ้น ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น เราต้องเปลี่ยนตัวเองสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังมีเรื่องการนำกลับมาใช้ซ้ำ Curcular Economy Lifestyle ซึ่งเป็นหนึ่งใน 4 New S-Curve นี่คือธุรกิจใหม่ที่เราจะทำ

ดังนี้นจึงได้จัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา ชื่อ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา และได้ตั้งบริษัทลูกชื่อ อินโนบิก แอลแอล โฮลดิ้ง ทั้งหมดนี้จะสอดคล้องกับกลยุทธและวิสัยทัศน์ กลุ่ม ปตท.

“เราตั้งบริษัทมาเราเห็นโอกาส เป็นธุรกิจ life science เรื่องวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือ “วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต” ขึ้นมา เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม New S-Curve โดยปตท.จะเป็นพันธมิตรกับทุกคน สร้าง ecosystem ของวิทยาการการแพทย์นี้ขึ้นมา เพื่อพัฒนาให้เป็นประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ สร้างรายได้ให้กับประเทศ”

โฟกัส ธุรกิจใหม่ 4 กลุ่ม

นายบุรณินกล่าวว่า สำหรับกลุ่มธุรกิจใหม่โฟกัสไว้ 4 กลุ่ม คือ1.อุตสาหกรรมยา 2.อาหาร nutrition หรืออาหารอนาคต (ฟิวเจอร์ฟู้ด) ซึ่งเกี่ยวกับการใช้โภชนาการบำบัด เพื่อป้องกัน รักษา และลดอาหารที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ต่อยอดจากอุตสาหกรรมไบโอชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า

3.อุปกรณ์และวัสดุทางการแพทย์ ซึ่งเชื่อมโยงกับวัตถุดิบที่เป็นผลพลอยได้จากปิโตรเคมี เช่น ถุงมือยาง ซึ่งไทยโชคดี ถุงมือยางเป็นโปรดักส์แชมเปี้ยน หน้ากากอนามัย และอื่น ๆ

4.ระบบการวินิจฉัยโรคและเมดิคอล ซึ่งจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังระบบการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งเราขาดคือไทยยังไม่มีสายป่านยาวเพียงพอ ซึ่งสารประกอบสำคัญก็ต้องนำเข้ามาเช่นกัน โดยเฉพาะอินเดียเป็นผู้ผลิต ดังนั้น ทั้งหมดนี้ต้องวาง Eco system ให้พร้อม

“เราอยากโฟกัสวิธีการใช้ โรคที่ต้องใช้การบำบัด อาทิ โรงมะเร็ง เบาหวาน โรคนี้มีวิวัฒนาการไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และราคายาค่อนข้างสูง ต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาใช้เทคโนโลยีสูง และการรักษามะเร็งจะเชื่อมโยงโรงงานยามะเร็งที่เป็นโปรเจ็กต์แรกของเรา ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข

ดังนั้นธุรกิจยาเลือกจะทำยาสามัญ หรือ generic ก่อน คือเป็นยาที่เราไม่ใช่เจ้าของสิทธิบัตร โดยเน้นเลือกยาชีววัตถุ ไปจนถึงอาหารสุขภาพ เพราะเกี่ยวกับพันธุกรรมหรือพฤติกรรมการกิน อุปกรณ์ทางการแพทย์ และการตรวจวินิจฉัย ปตท.จะเป็นพันธมิตรกับทุกคน”

วางกรอบบริหารจัดการองค์กร

เราต้องวางแผน “เลือกที่จะทำ และเลือกที่จะไม่ทำในบางเรื่อง” โดยมีคน กระบวนการ และโปรดักส์ เรานำคนปตท.มาบางส่วน แล้วดูคนที่มีความสามารถคนนอกและเราเองก็ต้องเสนอบอร์ดว่า ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนและภารกิจที่ทำคือต้องทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้มีคนสนใจ ซึ่งต้องสร้างตลาด ยา และวิจัยพัฒนา ซึ่งบริษัทพร้อมจะเป็นพันธมิตรกับทุกคน

Vaccine เศรษฐกิจ Vaccine ประเทศไทย

นายบุรณิน กล่าวทิ้งท้ายว่า Vaccine เศรษฐกิจ Vaccine ประเทศไทย จะไม่เเข็งเเกร่งหากไม่ปรับตัวให้ทันกับ DisruptiveTechnology และการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี มีงบประมาณพร้อม มีความแข็งแกร่งและมีร่างการสมบูรณ์แข็งแรง และมีความสามารถบริหารจัดการ ที่สำคัญคือต้อง กล้าในการตัดสินใจ ปตท.ย้ำว่า คนไทยไม่ทิ้งกัน

“ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยผ่านมรสุม ผ่านการทำแผนฉุกเฉิน โดยที่ไม่ต้องปรับโครงสร้างมาก จนกระทั่งมีโปรดักส์แชมเปี้ยน เป็นรายได้หลัก นั่นคือเรื่องการท่องเที่ยว กระทั่งปีที่ผ่านมามรสุมโควิด-19 จนปีนี้
2021 ค้นพบวัคซีน

แม้ว่าสถานการณ์นี้จะทำให้ในภูมิภาคอาเซียน ไทยติดลบมากที่สุด เนื่องจากพึ่งพาเรื่องการท่องเที่ยว แต่อนาคต การที่จะก้าวพ้นไปสู่ประเทศออกจากรายได้ปานกลาง ต้องกล้าเอาตัวเองไปสู่สถานการณ์กล้าหาญ กล้าคิดนอกกรอบ กล้าคิด ปฎิรูปเศรษฐกิจ และบริษัททุกบริษัทต้องร่วมกันสร้างสรรค์ คืนกลับสู่สังคม” นายบุรณินกล่าว