ก.ล.ต.ออกประกาศ หลักเกณฑ์ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.’63

แฟ้มภาพ

เมื่อวันที่ 29 พ.ค.2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 8/2562 เรื่อง “หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล(ฉบับที่ 2)”

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 (1) แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในหมวด 3 การคำนวณและรายงานการคำนวณเงินกองทุน ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 และข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“หมวด 3การคำนวณและรายงานการคำนวณเงินกองทุนข้อ 12 ในหมวดนี้
“เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า เงินกองทุนสภาพคล่องหักด้วยค่าความเสี่ยง
“เงินกองทุนสภาพคล่อง” หมายความว่า สินทรัพย์สภาพคล่องหักด้วยหนี้สินรวม
“สินทรัพย์สภาพคล่อง” หมายความว่า ผลรวมของสินทรัพย์รายการ ดังต่อไปนี้
(1) เงินสดและเงินฝากธนาคาร

(2) ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน

(3) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารทางการเงินอื่น

(4) สินทรัพย์ดิจิทัล

(5) รายการอื่นตามที่สานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกาหนด

“หนี้สินรวม” หมายความว่า
(1) รายการหนี้สินทุกรายการที่ปรากฏในงบการเงินและภาระผูกพันอื่น แต่ไม่รวมถึงหนี้สินรายการ ดังต่อไปนี้
(ก) หนี้สินที่กำหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยหนี้สินดังกล่าว ต้องไม่มีประกันและไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชาระหนี้ก่อนกาหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

(ข) สัญญาเช่าทางการเงินที่ให้สิทธิผู้เช่าในการซื้อทรัพย์สินที่เช่า (financing lease) ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในฐานะผู้เช่าสามารถบอกเลิกการเช่าก่อนกำหนดได้โดยไม่ต้องซื้อทรัพย์สินนั้นไป ยกเว้นส่วนที่เป็นเบี้ยปรับที่เกิดจากการบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด

(ค) รายการอื่นตามที่สานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกาหนด

(2) รายการภาระผูกพันอื่นที่ไม่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระหนี้สินแก่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ในภายหลัง ได้แก่
(ก) ภาระจากการค้าประกัน รับรอง หรืออาวัลตั๋วเงิน
(ข) ภาระผูกพันอื่นที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องชาระเงินหรือทรัพย์สินอื่นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กำหนดไว้
(ค) ภาระผูกพันอื่นตามที่สานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

“ค่าความเสี่ยง” หมายความว่า ค่าความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือการดำเนินการอื่นใดของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

“ส่วนของผู้ถือหุ้น” หมายความว่า ผลรวมของ

(1) ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ปรากฏในงบการเงินล่าสุด ซึ่งมีวิธีการคำนวณตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี

(2) ทุนที่ออกและชาระแล้ว ซึ่งรวมส่วนเกินมูลค่าหุ้นและหักส่วนลดมูลค่าหุ้นแล้วทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอันเนื่องมาจากการเพิ่มทุนหรือลดทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ ดิจิทัลที่ยังไม่ถูกนับรวมเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในการจัดทางบการเงินงวดล่าสุด

ข้อ 12/1 ความในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ดังต่อไปนี้

(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน

(2) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต

(3) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีหน้าที่ดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามประกาศเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ

(4) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งมีหน้าที่ดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามประกาศเกี่ยวกับการดำรงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ข้อ 13 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท ดำรงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง ให้ดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทำการใด ๆ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(ก) ไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาท และ
(ข) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินของลูกค้า เว้นแต่กรณีทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่ถูกจัดเก็บในระบบของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทาธุรกรรมเท่านั้น (cold wallet) ให้ดำรงในอัตราร้อยละ 1

(2) ในกรณีของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง ให้ดำรงส่วนของผู้ถือหุ้นตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(ก) ไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท สำหรับการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล
(ข) ไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านบาท สำหรับการเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล
(ค) ไม่น้อยกว่า 5 แสนบาท สำหรับการเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล

(3) ในกรณีของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล ที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองแต่ไม่สามารถเข้าถึงหรือโอนทรัพย์สินของลูกค้าออกไปได้เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าเป็นรายครั้งให้ดำรงส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านบาทผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอาจใช้วงเงินคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมความเสียหายของทรัพย์สินของลูกค้า เพื่อหักกลบมูลค่าทรัพย์สินของลูกค้าที่ใช้ประกอบการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามวรรคหนึ่ง (1) (ข) ได้

ข้อ 14 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลคำนวณและจัดทำรายงานการคำนวณเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

ข้อ 15 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ระงับการดำเนินธุรกิจทุกประเภทจนกว่าจะสามารถดำรงเงินกองทุนได้ตามที่กาหนดในข้อ 13 และได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ

(2) แจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการระงับการดำเนินธุรกิจทุกประเภทโดยไม่ชักช้า

(3) กระทำการหรืองดเว้นการกระทำอื่นใดตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถกลับมาดำรงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ข้อ 16 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติ
หน้าที่ตามข้อ 13 และข้อ 14

(1) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ยังไม่เริ่มประกอบธุรกิจ เนื่องจากอยู่ระหว่างสำนักงานก.ล.ต. ตรวจสอบความพร้อมก่อนเริ่มประกอบธุรกิจ

(2) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่หยุดประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท และมีหนังสือแจ้งความประสงค์นั้นต่อสานักงาน ก.ล.ต. แล้วให้สำนักงาน ก.ล.ต. มีอำนาจเรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่ง ส่งเอกสารหรือรายงานที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความสามารถในการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในระยะเวลาดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

คลิกดูรายละเอียดฉบับเต็มที่นี่ !!