ศบศ. เคาะเครดิตเทอม 30-45 วัน เสริมสภาพคล่อง SMEs

ธุรกิจ SMEs

ศบศ. เคาะเครดิตเทอม 30-45 วัน เสริมสภาพคล่องธุรกิจเอสเอ็มอี พร้อมเร่งขับเคลื่อนโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ “ระยะกลาง-ยาว” 4 กลุ่ม ให้เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยวันนี้ (16 ก.ย.) หลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 (ศบศ.) ว่า คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบข้อเสนอของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เสนอให้กระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการแข่งขันและการค้า กำหนดเงื่อนไขระยะเวลาการชำระสินเชื่อการค้าในประเทศไทย (credit term) ให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่เหมาะสม 30-45 วัน

“ที่ผ่านมาได้มีการสำรวจระยะเวลาของเครดิตเทอม พบว่า ปี 59 เครดิตเทอมอยู่ระหว่าง 30-35 วัน แล้วให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายด้วย แต่ผลสำรวจในปี 63 ที่สำรวจก่อนสถานการณ์โควิด- 19 แพร่ระบาด พบว่าเครดิตเทอมขยายเวลาออกมากว่า 60-120 วัน ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีปัญหาด้านสภาพคล่อง”

พร้อมกันนี้ สภาอุตสาหกรรมก็เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว และได้มีการผลักดันเรื่องนี้ด้วย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการหารือร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่ เช่น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย โตโยต้า และปตท. เป็นต้น ที่เป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรม ได้ตกลงที่จะกำหนดระยะเวลาของเครดิตเทอมให้อยู่ 30% เพื่อให้เอสเอ็มอีมีสภาพคล่อง

นอกจากนี้ ธปท. ยังเสนอให้มีการกำหนดบทลงโทษ กรณียกเว้น หรือกลไกการตรวจสอบด้วย รวมทั้งขอให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย กำหนดให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์เปิดเผยระยะเวลาในการทำเครดิตเทอมโดยเฉลี่ย ในแบบแสดงข้อมูลประจำปี

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบให้ดำเนินการผลักดันขับเคลื่อนและติดตามความก้าวหน้การดำเนินงานของโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหาเศรษฐกิจในระยะปานกลางและระยะยาว ใน 4 กลุ่มโครงการ

ได้แก่ 1. การเร่งรัดโครการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ โครงการระบบขนส่งมวลชน โครงการทางพิเศษ โครงการพัฒนาท่าเรือ การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน และโครงการศูนย์การแพทย์กระทรวงสรารณสุข

2. การปรับปรุงโครงสร้างหรือกฎระเบียบในการ
บริหารจัดการโครงสร้งพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 มาตรการ ได้แก่ 1.การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติและสำนักงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนามืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง 2.การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อบริหารที่ดินของการรถไฟแห่ประเทศไทยเพื่อการพาณิชย์ 3.การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อบริหารรถไฟความเร็วสูง และ 4. การประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง


3. การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสหกิจ เพื่อเพิ่มการใช้จ่ายลงทุนและการจ้างานของรัฐวิสาหกิจในช่วงปี 2563-2564 อาทิ การปรับปรุงบริหารงินกองทุนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่ได้จากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ การปรับปรุงแผนการจ้างงานของรัฐวิสาหกิจ และ 4. การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น (Pre-feasibility Study) ของโครงการสะพานไทย