ประชาชนต้องรู้! พฤติกรรมเข้าข่ายการ “ฉ้อฉลประกันภัย”

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ออกประกาศเรื่อง กำหนดแบบรายงาน พฤติกรรมที่อาจมีลักษณะเป็นการฉ้อฉลประกันภัย พ.ศ.2564 โดย ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ.ลงนามในประกาศไปเมื่อวันที่ 29 ม.ค.2564 ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการ ยับยั้ง ป้องกัน และตรวจสอบพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที

เปิดข้อมูลพฤติกรรมเข้าข่ายฉ้อฉลประกันภัย

1.ผู้ขอเอาประกันภัย จงใจปกปิดข้อเท็จจริง หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ซึ่งทำให้บริษัทสำคัญผิดว่าบริษัทสามารถรับประกันหรือประกันสุขภาพได้แบบปกติ

2.ผู้ขอเอาประกันภัย ไม่แถงข้อความจริงเกี่ยวกับจำนวนเงินเอาประกันภัย และ/หรือ การทำประกันภัยกับบริษัทอื่น หรือทำประกันภัยซึ่งรวมจำนวนเงินเอาประกันภัยทุกฉบับแล้วเกินกว่ารายได้ของผู้ขอเอาประกันภัย

3.ในะหว่างอายุสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย หรือลดความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยได้รับคำแนะนำจากผู้อื่น

4.ผู้เอาประกันภัยร่วมกับตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิต แจ้งต่อบริษัทว่ามีการเสนอขายกรมรรม์ประกันภัยผิดงื่อนไขของบริษัท เพื่อขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย หลังจากบริษัทจ่ายผลประโยชน์ไปแล้ว

5.ผู้เอาประกันภัย แจ้งบริษัทว่าได้ชำระค่าเบี้ยประกันภัยปีต่ออายุกรมธรรม์เป็นเงินสดหรือโอนข้าบัญชีธนาคาร ให้กับตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าบระกันชีวิตแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานการชำระเงินเพื่อเรียกร้องให้บริษัทคืนเงินแก่ผู้เอาประกันภัย

6.ในขณะที่มีการเรียกร้องให้ชดใช้เงินตามสัญญาประกัน ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลใดๆ ร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์หรือสถานพยาบาล ให้ผู้เอาประกันภัยนอนพักรักษตัวในโรงพยบาลเกินความจำเป็นตามมาตรฐานทางการแพทย์ ซึ่งไม่สัมพันกับโรคหรืออาการที่เข้ารับการรักษา เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเรียกร้องให้ชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตดังกล่าว

7.ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต โดยมีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจจะถูกฆาตกรรมเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ.

8.กรณีคณะกรรมการบริษัท หรือบุคลากรภายในบริษัทมีฐานะทางการเงินดีขึ้น โดยไม่สัมพันธ์กับผลตอบแทนที่ได้รับตามปกติ หรือกำลังประสบปัญหาทางการเงิน

9.คณะกรรมการบริษัท หรือบุคลากรภายในบริษัทปฏิเสธการตรวจสอบ โดยหน่วยงานตรวจสอบภายในหรือหน่วยงานตรวจสอบอื่นๆ

10.บลากรในระดับบริหารหรือบุคลากรด้านบัญชีหรือการเงิน มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย

11.คณะกรรมการบริษัทหรือบุคลากรในระดับบริหารได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นผิดปกติ

12.บุคลากรภายในบริษัทให้ผู้อื่นทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยนำหมายเลขบัตรเครดิตมาชำระค่าเบี้ยประกันภัย โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของบัตรเครดิต

13.บุคลากรภายในบริษัทปลอมแปลงเอกสารการเสนอขายประกันภัยทั้งหมดหรือบางส่วน และ/หรือชำระเบี้ยประกันภัยโดยการตัดบัตรเครติตของตนเอง

14.บุคลากรภายในบริษัทใช้ข้อมูลของผู้ขอเอาประกันภัยหลอกลวงผู้อื่นให้มีการชำระค่าเบี้ยประกันภัยเข้าบัญชีธนาคารอื่น ซึ่งไม่ใช่บัญชีเงินฝากของบริษัท

15.บุคลากรภายในบริษัทใช้ข้อมูลบัตรเครดิตของผู้ขอเอาประกันภัย ทำธุรกรรมทางการเงินประเภทอื่น

16.บุคลากรภายในบริษัทชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัยผ่านบัตรเครดิต และ/หรือบัญชีธนาคารของผู้อื่น โดยผู้นั้นไม่ได้ตกลงทำสัญญาประกันภัย

17.บุคลากรภายในบริษัท ให้ผู้ขอเอาประกันภัยชำระค่าเบี้ยประกันภัยเป็นเงินสด แต่ให้โอนเงินเข้าบัญชีตนเอง

18.บุคลากรภายในบริษัทร่วมกับผู้อื่น จัดหาผู้ที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท

19.บุคลากรภายในบริษัทรับเบี้ยประกันภัยโดยไม่นำส่งบริษัท

20.บุคลากรภายในบริษัท นำข้อมูลของผู้เอาประกันภัยไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์

21.บุคลากรภายในบริษัทแก้ไขข้อมูลหรือดำเนินการใดในระบบของบริษัท โดยผู้เอาประกันภัยไม่ได้แสดงความประสงค์

22.บุคลากรภายในบริษัทพิจารณาอนุมัติการชดใช้เงินหรือผลประโยชน์ตามกรมรรม์ประกันภัย ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์มากกว่าที่บริษัทต้องจ่าย หรือไม่สัมพันธ์กับเหตุที่เกิดขึ้น หรือเหตุนั้นไม่ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย โดยไม่ผ่านขั้นตอนการอนุมัติที่ถูกต้องของบริษัท

23.บุคคลหรือกลุ่มบุคคล (นายทุน) ชักจูงให้ผู้เอาประกันภัยหยุดชำระเบี้ยประกันภัย ยกเลิกกรมรรม์ประกันภัย หรือเวนคืนกรมรรรม์ประกันภัยก่อนครบกำหนด

24.บุคคลหรือกลุ่มบุคคล (นายทุน) จัดทำประกันภัยหรือชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่บุคคลอื่นเพื่อแสวหาประโยชน์จก่การเรียกร้องคำสินไหมทดแทน หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใด

25.บุคลากทางการแพทย์หรือสถานพยาบาล ให้การรักษาแก่ผู้เอาประกันภัยเกินความจำเป็นตามมาตรฐานทาการแพทย์ เพื่อแสวงหาประโยชนจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

26.กรณีตัวแทนประกันหรือนายหน้าประกันปกปิดหรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ กรอกข้อมูลของผู้ขอเอาประกันภัย ในใบคำขอเอาประกันภัยด้วยตนเองโดยไม่ได้สอบถามผู้ขอเอาประกันภัย หรือกรอกไม่ถูกต้องตามที่ผู้ขอเอาประกันภัยแถลง เพื่อให้บริษัทสำคัญผิดในการรับประกันภัย

27.เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยให้กับผู้ขอเอาประกันภัยหลายคนในวันเดียวกัน แต่ผู้ขอเอาประกันภัยมีที่อยู่คนละจังหวัด

28.ยกเลิกเอกสารแสดงการรับเงินหลายครั้ง

29.แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยยกเลิกกมรรรประกันภัย เมื่อพ้นสภาพจากบริษัทแล้ว โดยอ้างว่ามีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยแตกต่างจากเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัย หรือขอวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยก่อนครบกำหนดสัญญา เพื่อชักจูงให้ผู้เอาประกันภัยทำกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ หลังจากที่ตนเองได้รับค่าบำเหน็จจากบริษัทแล้ว

30.นำส่งเบี้ยประกันภัยหรืองินกู้ตามกรมธรรม์ประกันภัยของผู้เอาประกันภัยให้บริษัทล่าช้ากว่าที่บริษัทกำหนดบ่อยครั้ง

31.ร่วมกับผู้เอาประกันภัย แจ้งต่อบริษัทว่ามีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผิดเงื่อนไขของบริษัท เพื่อขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย หลังจากจ่ายบำเหน็จให้แก่ตัวแทนประกันหรือนายหน้าประกันไปแล้ว

32.ได้รับผลประโยชน์จากสถานพยาบาล เพื่อการแนะนำผู้เอาประกันภัยให้เข้าใช้บริการสถานพยาบาลที่ตนแนะนำและในเครือเดียวกัน

 

อ่านรายละเอีดทั้งหมดได้ที่ คปภ.