ส่องกำไรหุ้น “ไทยประกันชีวิต” ก่อนเทรด SET 25 ก.ค.

ไทยประกันชีวิต

บมจ.ไทยประกันชีวิต บริษัทประกันชีวิตแห่งแรกและรายใหญ่ที่สุดในประเทศ เตรียมซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “TLI” ในวันที่ 25 ก.ค. 65 

วันที่ 24 กรกฎาคม 2565 บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ TLI เป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกของคนไทย ดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อ “ไทยประกันชีวิต” ซึ่งเป็นที่รู้จักมายาวนานกว่า 80 ปี ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาด (พิจารณาตามเบี้ยประกันภัยรับรวม) สูงเป็น 3 ลำดับแรกของประเทศ 12 ปีติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน “ประชาชาติธุรกิจ” พาส่องกำไรของธุรกิจประกันเจ้าใหญ่  ก่อนเทรดใน SET วันที่ 25 ก.ค.นี้ ด้วยราคาไอพีโอ (IPO) ที่ 16 บาทต่อหุ้น 

โครงสร้างรายได้

รายได้หลักของบริษัทมาจากธุรกิจประกันภัยและกิจกรรมการลงทุน โดยรายได้จากธุรกิจประกันภัยอยู่ในรูปแบบของเบี้ยประกันภัย และรายได้จากกิจกรรมการลงทุนของบริษัทอยู่ในรูปแบบของดอกเบี้ยและเงินปันผล และกำไรจากเงินลงทุน

  •  ธุรกิจประกันภัย

โดยรายละเอียดของเบี้ยประกันภัยรับปีแรกแบบคำนวณรายปีของบริษัท (Annual Premium Equivalent หรือ APE) มูลค่ากำไรของธุรกิจใหม่ (Value of New Business หรือ VONB) และอัตรากำไรของธุรกิจใหม่ (Value of New Business Margin หรือ VONB Margin) ในแต่ละประเภทของผลิตภัณฑ์สำหรับรอบระยะเวลาที่ระบุไว้

 

  • กิจกรรมการลงทุน

ตารางต่อไปนี้แสดงรายละเอียดของรายได้จากการลงทุนสุทธิแบ่งตามประเภทสำหรับรอบระยะเวลาที่ระบุไว้

งบการเงิน

งบแสดงฐานะการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย และงบแสดงฐานะการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียและงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเฉพาะกิจการงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ และงบกระแสเงินสดที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ

สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565 และ 2564 และหมายเหตุประกอบงบการเงินแบบย่อ (ข้อมูลทางการเงินระหว่างกาล)

ผู้ถือหุ้นใหญ่

TLI มีผู้ถือหุ้น ลำดับแรกหลัง IPO ได้แก่ 

1กลุ่ม วี.ซี.สมบัติ ถือหุ้น 50.79%

 2Meiji Yasuda Life Insurance Company ถือหุ้น 15.00

3Her Sing (H.K.) Limited ถือหุ้น 6.19

บริษัทผู้ถือหุ้นเดิม ร่วมกับผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายและผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศ (Initial Purchasers) กำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO จากการพิจารณาหลายปัจจัย หากพิจารณามูลค่าพื้นฐานของกิจการ (Embedded Value)  ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2564 เท่ากับ 142,277 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด 10,600 ล้านหุ้น จะได้มูลค่าพื้นฐานของกิจการต่อหุ้น 13.42 บาทต่อหุ้น และคิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าพื้นฐานของกิจการ (Price to Embedded Value Ratio P/EV) ประมาณ 1.19 เท่า และคิดเป็นอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Price to Book Value Ratio : P/BV) ประมาณ 2.13 เท่า

โดยพิจารณาจากส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 มี.ค. 2565 ที่จะได้มูลค่าตามบัญชีสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 7.50 บาทต่อหุ้น สำหรับธุรกิจประกันชีวิต การประเมินมูลค่าของบริษัทด้วยอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (Price to Earnings Ratio P/E) จะไม่สะท้อนถึงมูลค่ายุติธรรมของบริษัท เนื่องจากไม่สะท้อนถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจจากกระแสเงินสดที่บริษัทจะได้รับจากกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองเป็นระยะเวลามากกว่า ปี 

ขายหุ้นไอพีโอ 2,155 ล้านหุ้น 

มีแผนเสนอขายหุ้นจำนวนไม่เกิน 2,155,068,900 หุ้น ประกอบด้วย

1.หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทจำนวน 850 ล้านหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 7.4% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้

2.หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยบริษัท วี.ซี. สมบัติ จำกัด จำนวนไม่เกิน 1,166,575,300 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 10.2% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้

3.หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย Her Sing (H.K.) Limited จำนวนไม่เกิน 138,493,600 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 1.2% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้

รวมทั้งหมดคิดเป็นไม่เกิน 18.8% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้

แผนระดมทุน

จำนวนเงินรวมสุทธิที่บริษัทจะได้รับจากการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรกภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการเสนอขายหลักทรัพย์และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีจำนวนประมาณ 13,600,000,000 บาท โดยบริษัทมีวัตถุประสงค์ในการใช้เงิน ดังนี้

จ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 30%

ทั้งนี้ TLI มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการ หลังจากการหักภาษีและจัดสรรทุนสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายกำหนด