สธ.แถลง พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่มอีก 122 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 721 ราย

นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน

วันที่ 23 มีนาคม 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 10 และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัด สธ. แถลงความคืบหน้าของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

นพ.ทวีศิลป์ แถลงว่า สถานการณ์ในประเทศไทย ขณะนี้มีผู้ป่วยหายกลับบ้านเพิ่ม 7 ราย และพบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มใหม่อีก 122 ราย นับเป็นรายที่ 600-721 ราย ในจำนวนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงแล้ว และว่า สรุปรวมประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน 721 ราย กลับบ้านแล้ว 52 ราย และรักษาอยู่ในโรงพยาบาล จำนวน 668 ราย มีผู้ป่วยอาการหนัก 7 ราย และเสียชีวิต 1 ราย

• ผู้ป่วยมาจากสนามมวย 4 ราย พี่เลี้ยงนักมวย ผู้ชม พบผู้ป่วย ที่นนทบุรี นครปฐม อุบลราชธานี

• ผู้ป่วยที่สัมผัสกับผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 16 ราย คือ จากการสังสรรค์​ ชาวต่างชาติ นั่งรถคันเดียวกัน พนักงานส่งของ ประชุมร่วมกัน รับประทานอาหารด้วยกัน พนักงานนวด นักเรียน พนักงานบริษัท ญาติ กทม. อุบล ศีรษะเกษ

• ผู้ป่วยรายใหม่ 10 ราย กลับจากต่างประเทศ​เป็นต่างชาติ 4 ราย ชาวไทย 2 ราย กลับจากปอยเปต

• ทำงานอาศัยในสถานที่แออัด เกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ 6 ราย เป็นพนักงานผับ บาร์​ ดีเจในผับ ขับรถรับส่ง อยู่ใน ภูเก็ต ร้อยเอ็ด กระบี่ สุราษฎร์ธานี

• พบเชื้อและอยู่ระหว่างสอบสวนโรค 92 ราย

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รอดปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มีคนถามว่าจากตัวเลขผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น แล้วจะเป็นอย่างไรกันต่อไป หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งเราไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

ล่าสุดสาธารณสุขได้จัดทำกราฟขึ้น โดยใช้ข้อมูลสถิติที่เป็นวิทยาศาสตร์ว่าประเทศไหน ถ้าผู้ป่วยเข้าสู่ 100 เคสแล้ว การคาดการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ต่อไป นั่นหมายความว่า เมื่อตัวเลขเกิน100 รายแล้ว ตัวเลขจะวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ยุโรป อิตาลี อิหร่าน

จากกราฟจะเห็นว่าประเทศในกลุ่มยุโรปจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาคือระบบสาธารณสุขรองรับไม่ทัน เช่น อิตาลี อเมริกา อังกฤษ เสียชีวิตกันเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านเรา อย่างญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ ตัวเลขที่มันเคลื่อนที่ไปจำนวนหนึ่งแล้ว แต่สุดท้ายตัวเลขมันถูกเบนออกไป คือไม่เพิ่มมาก

เพราะฉะนั้นวันนี้ เราอยู่ที่ตัวเลข 721 นั่นหมายความว่าเรายังยู่ในระยะ “โกลด์เด้นพิเรียด” หรือทางการแพทย์เรียกว่า “เวลาทอง” กล่าวคือถ้าเราไม่มีวินัยอย่างเคร่งครัด เราจะเดินไปเหมือนยุโรป อีกไม่กี่วันก็อาจจะทะลุหลักพัน ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นทางการแพทย์เรายังนึกไม่ออกว่าเราจะรับมือทันไหม แม้ว่าเราจะทำดีที่สุดแล้ว หรือระบบสุขภาพของเราจะแข็งแรงมากก็ตาม

เพราะฉนั้น ณ ขณะนี้เราอยู่ในจุดที่เลือกได้ เราจะเลือกช่วยกันเพื่อที่จะทำให้ตัวเลขไม่เพิ่มขึ้นไปมาก แบบญี่ปุ่น หรือไต้หวัน  เพราะฉนั้นมาตรการใดที่รัฐออกมา ขอความกรุณาให้เราช่วยกัน ยกตัวอย่างเช่นไปรวมกลุ่มกันดื่มเหล้า ทางอาหาร เพราะฉนั้นถ้าชุมชนสังคมเราไม่ช่วยกัน วันนหนึ่งรัฐอาจมีความจำเป็นต้องล็อกดาวน์ หรือห้าม และให้ทุกคนไม่ต้องออกจากบ้านเลย เพราะฉนั้นถ้าคนไทยร่วมมือกัน เราจะไปแบบญี่ปุ่น ไต้หวัน ทำให้ระบบสาธารณสุขไม่เป็นภาระมาก

สำหรับท่านที่กำลังเดินทางออกจากต่างจังหวัด ความเสี่ยงจะเกิดขึ้น เกิดขึ้นตั้งแต่ท่านขึ้นรถ โดยเฉพาะระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นระบบปิด นั่งแออัดกันเป็นระยะเวลานานๆ เช่น รถทัวร์ รถโดยสาร รถตู้ ต้องระมัดระวังตัวเอง และเมื่อไปถึงพื้นที่แล้ว ทางท้องที่จะขอให้ท่านรายงานตัว และขอกักตัวอยู่ที่บ้านเพื่อเป็นการป้องกัน หรือหยุดการแพร่เชื้อ ซึ่งเรายังหวังว่ากราฟจำนวนผู้ป่วยของเราจะไม่เป็นเหมือนในยุโรป หรือในอเมริกาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

นายแพทย์ทวีศิลป์กล่าวต่อว่า วันนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีการประชุม EOC หรือปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และสาธารณสุข โดยมีข้อสั่งการตามกฎหมาย มีการเสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจประจำช่องทางการเข้าออกระหว่างประเทศโดยใช้กลไกของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ช่องทางทางสนามบินสุวรรณภูมิ มอบผู้ตรวจราชการเขตที่ 6 เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ช่องทางสนามบินดอนเมือง มอบผู้ตรวจราชการเขตที่ 4 เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ช่องทางสนามบินภูเก็ต มอบผู้ตรวจฯเขต 11 เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ช่องทางสนามบินเชียงใหม่ มอบผู้ตรวจฯเขตที่ 1 เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ช่องทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มอบหมายให้ผู้ตรวจฯเขตที่ 12 เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์

นอกจากนี้ยังขออัตรากำลังสนับสนุนด้านภารกิจการคัดกรอง หน้าสนามบินสุวรรณภูมิ ได้ขออัตรากำลังจากกระทรวงกลาโหมเข้ามาเพิ่ม ส่วนระบบการส่งต่อผู้ป่วยสถาบันศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินจะเข้ามาร่วมด้วย

สรุปผู้ป่วยเพิ่ม 122 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้  

กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 20 ราย ได้แก่ กลุ่มสนามมวย 4 ราย และกลุ่มผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 16 ราย

กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 10 ราย ได้แก่ กลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศ/ชาวต่างชาติ 4 ราย,กลุ่มผู้ทำงานหรืออาศัยในสถานที่แออัดต้องใกล้ชิดคนจำนวนมาก หรือเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ 6 ราย

กลุ่มที่ 3 ผู้ที่ได้รับผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อแต่อยู่ระหว่างรอประวัติและสอบสวนโรค 92 ราย
สำหรับผู้ป่วยอาการหนักมี 7 ราย จาก สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ โรงพยาบาลในสังกัดโรงเรียนแพทย์ และโรงพยาลบาลเอกชน ทุกรายใส่เครื่องช่วยหายใจ และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยสรุปมีผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 52 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 668 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 721 ราย

🔴 [Live] แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19 ณ​ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขประจำวันที่ 23 มีนาคม​ 2563#โรคไวรัสโควิด​19#โควิด19#COVID19​#ไวรัสโคโรนา#เกาะติดไวรัสโคโรนา#ไวรัสโคโรนาสายพัน​ธุ์ใหม่2019#กระทรวงสาธารณสุข#mophchannel#ไทยรู้สู้โควิด

โพสต์โดย กระทรวงสาธารณสุข เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2020