ชาวเกาะพะงันหนุน โครงการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งทะเล

เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในวัดโฉลกหลำ อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในโครงการออกแบบเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ครั้งที่ 2 ของชาวบ้าน ม.7 บ้านโฉลกหลำ ต.เกาะพะงัน โดยมีนายเกริกไกร สงธานี นายอำเภอเกาะพะงัน เป็นประธานเปิดประชุมในครั้งนี้ และมีนายอมรินทร์ โสมบ้านกรวย ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม รศ.ดร.เชิดวงศ์ แสงศุภวานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชายหาด ผู้แทนจากกรมโยธาธิการและผังเมือง กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา มาแจ้งรายละเอียดของโครงการ โครงสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่เหมาะสม และผลกระทบ มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเล ม.7 บ้านโฉลกหลำ ต.เกาะพะงัน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ชายฝั่งประสบปัญหาการกัดเซาะจากคลื่นลมแรง กรมโยธาธิการและผังเมืองจีงได้ดำเนินโครงการออกแบบเขื่องป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เพื่อป้องกันของทางราชการและของประชาชน มิให้ถูกคลื่นกัดเซาะเสียหายหรือจมหายไปในทะเล

แม้ว่าโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลประเภทติดชายฝั่งไม่เข้าข่ายประเภทโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่เพื่อให้การดำเนินโครงการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาแวดล้อม ชุมชน สังคม วัฒนธรรม อาชีพ ความปลอดภัย วิถึชีวิตน้อยที่สุด กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นควบคู่ไปด้วย โดยรูปแบบของเขื่อนป้องกันกากัดเซาะชายฝั่งทะเล เป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กบันไดเอียง ความยามประมาณ 1,085 เมตร

นายพงศ์ศักดิ์ หาญกล้า ผู้ใหญ่บ้านโฉลกหลำ ม.7 กล่าวว่า ตลอดระยะ 20 ถึง 30 ปี ที่ผ่านมาเจอปัญหาคลื่นกัดเซาะชายหาดมาโดยตลอดทุกปี เพราะว่าอยู่ทางทิศเหนือของเกาะจะเจอลมมรสุมตั้งแต่เดื่อนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม บางปีคลื่นจะสูงท่วมสะพานท่าเทียบเรือเลย และมีความเสียหายกับบ้านของชาวบ้านที่อยู่ติดชายหาดก็ถูกคลื่นกัดเซาะบ้านเรือนเสียหาย

กรมโยธาธิการและผังเมืองเข้ามาดูแลและทำงบประมาณทำเขื่อนกัดเซาะแนวชายฝั่ง ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ร้อยละ 90 อยากให้มีการสร้างเขื่อนกัดเซาะแนวชายฝั่ง

ส่วนนายโชติ เมืองทอง อายุ 87 ปี ชาวบ้าน ม.7 บ้านโฉลกหลำ บอกอีกว่า การสร้างเขื่อนที่ป้องกันการกัดเซาะแนวชายฝั่งไม่มีข้อเสียมีแต่ข้อดี เหมือนกับยิงปืนนัดเดียวได้นก2 ตัว คือทำให้ชาดหาดมีความสวยงาม ป้องกันบ้านเรือนริมทะเลถูกคลื่นกัดเซาะเสียหาย ดูมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และนักท่องเที่ยวต่างชาติก็จะมาเดินเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เพราะอ่าวนี้มีดินทรายที่สวยสะอาด เขือนป้องกันการกัดเซาะนี้เป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องการมากที่สุด