ศบค.สั่ง 9 ข้อ ห้ามทำกิจกรรม เปิด-ปิดกิจการ ทั่วราชอาณาจักร

ศบค.-หมอทวีศิลป์แถลง

ศบค.ประกาศ 9 ข้อตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 20 ห้ามทำกิจกรรม เปิด-ปิดกิจการ ห้ามเดินทางโดยไม่จำเป็น เสี่ยงแพร่ระบาดทั่วราชอาณาจักร ร้านสะดวกซื้อเปิดได้ตี 4-5ทุ่ม ใน18จังหวัด นอกนั้นเปิดได้ตามปกติ มีผลตั้งแต่เที่ยงคืนวันที่ 17 เมษายน เป็นต้นไป

วันที่ 16 เมษายน 2564 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงภายหลังประชุมใหญ่ของศบค.ในวันนี้ ว่า “สรุปคือไม่มีเคอร์ฟิว”

นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ที่ประชุมศบค.วันนี้ มีมติเห็นชอบปรับระดับของพื้นที่ 1.พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) 18 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม ภูเก็ต นครราชสีมา นนทบุรี สงขลา ตาก อุดรธานี สุพรรณบุรี สระแก้ว ระยอง และขอนแก่น

และระดับที่ 2 พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) จำนวน 59 จังหวัดที่เหลือ และ 2.พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) 59 จังหวัด
โดยมีข้อกำหนดดังนี้ ข้อกำหนด

ข้อ 1. การห้ามดำเนินการหรือจัดกิจการกิจกรรมหรือที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค แยกเป็น 2 ข้อย่อยคือ

(1) ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภทเพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการแพร่โรค เว้นแต่การใช้เป็นที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือการใช้เป็นสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลืออุปการระ หรือการใช้สถานที่ตามข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ของข้อกำหนด (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม 2564

(2) ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 50 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หรือ เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ จัดกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรคโดยได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ซึ่งผู้ว่าราชการกทม. หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อ แล้วแต่กรณี กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัดกิจกรรมและสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่รับผิดชอบ

ข้อ 2 ปิดสถานบริการ สถานที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคทั่วราชอาณาจักร โดยผู้ว่าฯ ให้ความเห็นชอบ ผับ บาร์ คาราโอเกะ  อย่างน้อยรวม14 วัน

ข้อ 3 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จำแนกตามพื้นที่ดังนี้ (1) พื้นที่ควบคุมสูงสุด 18 จังหวัด (2) พื้นที่ควบคุม 59 จังหวัด

ข้อ 4 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ กำหนดมาตรการควบคุมที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน สำหรับสถานที่ กิจการ หรือ กิจกรรม เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน

พื้นที่ควบคุมสูงสุดกำหนดเปิด-ปิดกิจกรรม กิจการดังนี้

1.ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกิน 21.00 น. และจำหน่ายได้จนถึง 23.00 น. (ซื้อกลับบ้าน)

2.ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน

3.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้จนถึง 21.00 น. งดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย งดให้บริการตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุก

4.ร้านสะดวกซื้อ ซูปเปอร์มาเกต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน เปิดได้ไม่เกิน 23.00 น. สำหรับร้านที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เปิดได้เวลา 04.00 น.

5.สนามกีฬา ออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนต เปิดได้ไม่เกิน 21.00 น. จัดการแข่งขันโดยจำกัดผู้ชมในสนาม

ข้อ 5 งดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยไม่จำเป็น

ข้อ 6 ขอความร่วมมือเลื่อนหรืองดการจัดกิจกรรมสังสรรค์ งานเลี้ยงหรืองานรื่นเริงในช่วงนี้

ข้อ 7 ข้าราชการให้ทำงานที่บ้านหรือเวิร์กฟอร์มโฮม และขอความร่วมมือเจ้าของกิจการเอกชนให้ทำงานที่บ้านหรือ สลับวันทำงาน

ข้อ 8 จัดหาสถานที่เพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับ ดูแลรักษา และแยกกัก กักกันตัวผู้ติดเชื้อหรือผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื่อโดยด่วน โดยขอวามร่วมมือสถานศึกษา มหาวิทยาลัย โรงแรม หอประชุม สถานที่เอกชน โดยมาตรการรองรับผู้ติดเชื้อ ให้ สปก.สธ. ร่วมกับ ศบค.มหาดไทย จะจัดหาสถานที่รองรับ ดูแลรักษา แยกกัก กักกัน ผู้ติดเชื้อต้องเข้าแยกกัก จนพ้นระยะการติดต่อ เพื่อจำกัดการระบาด ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที เมื่อทราบว่าติดเชื้อ หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าติดเชื้อ

ข้อ 9.ทดลองใช้มาตรการเหล่านี้ 2 สัปดาห์ มอบให้ศบค.ชุดเล็ก พิจารณา ประเมินสถานการณ์ 2 สัปดาห์ แล้วนำเสนอให้ผอ.ศบค. หากต้องเปลี่ยนแปลง

“ถ้าทุกคนร่วมมือกัน 2 สัปดาห์อาจจะผ่อนคลายไปได้ หรือถ้ามีอะไรเกิดขึ้นผู้ว่าฯ กทม. ผู้ว่าราชการจังหวัด อาจจะพิจารณามอบอำนาจให้ดำเนินการเฉพาะพื้นที่ได้ เพื่อความรวดเร็ว” นายแพทย์ทวีศิลป์กล่าว และว่า

ทั้งนี้มีผลตั้งแต่ 18 เมษายน 2564 เป็นต้นไป เพราะฉนั้นหลังเที่ยงคืนของวันเสาร์(17เมษายน 2564)จะเป็นการปฏิบัติการตามข้อกำหนดฉบับที่ 20 ที่จะเกิดขึ้น

ต่อข้อสอบถามที่ว่า เมื่อไม่มีเคอร์ฟิว หลัง 5 ทุ่มประชาชนสามารถออกจากเคหะสถานได้หรือไม่ เพราะบางคนยังอยู่ต่างจังหวัด นายแพทย์ทวีศิลป์ป์กล่าวตอบว่า

“ไม่มีเคอร์ฟิวก็หมายความว่าท่านยังเดินทางได้ ยังทำกิจการการค้า ขนส่งต่างๆยังเกิดขึ้นได้ แต่ตัวบุคคลโดยหลักการในที่ประชุมคุยกันอะไรจะมาแทนเคอร์ฟิวมี 2 อย่าง คือไปจัดการสถานที่เป้าหมาย ก็ไปปิดซะ เพราะฉนั้นถ้าท่านไม่สะดวกที่จะไป เพราะร้านค้า อะไรต่างๆก็ปิด ท่านก็อย่าไป”

อันที่สองคือการเคลื่อนย้ายคน ข้ามแดน ข้ามพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงก็อย่าไป ขอให้พื้นที่ตรงนั้นนิ่งก่อน นี่คือการขอความร่วมมือ เพื่อที่เราจะไม่ต้องบังคับใช้ข้อกำหนดที่แรงไปกว่านี้ ซึ่งเรียกว่าเคอร์ฟิว เราไม่ใช้ เพราะฉนั้นเป็นการขอความร่วมมือ

“คนติดเชื้อวันละประมาณ 1,500 คน 10 วันก็ 15,000 คน ซึ่งแต่ละคนต้องการนอนเตียงถึง 14 วัน ทำให้การจัดหาทรัพยากรยากลำบาก เพราะฉนั้นสิ่งทีเราต้องมาช่วยกันคือ แหล่งรังโรคทั้งหลายที่เราจะต้องมาเรียนรู้ร่วมกัน” นายแพทย์ทวีศิลป์กล่าว

นอกจากนี้ในช่วง 14 วันนี้ ทางศบค.จะกลับมาสื่อสารกับพี่น้องประชาชน ในเวลา 11.30 น.ของทุกวัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 เมษายนนี้ เป็นต้นไป