“เอคเซนเชอร์” เผย 4 เทรนด์อนาคตของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

“เอคเซนเชอร์”เปิดรายงาน Accenture Technology Vision 2022 เผย4 เทรนด์ขับเคลื่อนโลกอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ ชวนธุรกิจตั้งคำถามความพร้อมเข้าสู่ “ดิจิทัลทวิน”ย้ำการพัฒนามีสองด้าน แนะเลือกเทคโนโลยีที่น่าเชื่อ และมีความยั่งยืน

วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย เปิดเผยรายงานทิศทางเทคโนโลยีโลก Accenture Technology Vision ปี 2022 ในชื่อ “Meet Me in the Metaverse: The Continuum of Technology and Experience Reshaping Business” ที่แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจต่างแข่งขันกัน เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่แตกต่างไปจากเดิม สิ่งที่เคยออกแบบมาสำหรับธุรกิจ เช่น

เทคโนโลยี extended reality บล็อกเชน ดิจิทัลทวิน และเอดจ์คอมพิวติ้ง ต่างกำลังปรับตัวเข้ามาประสานกันหมด และจะพลิกประสบการณ์ของมนุษย์ในรูปแบบใหม่บนฐาน Internet of Place หรือเมต้าเวิร์ส พร้อมเปิดตัว “Metaverse Continuum” หน่วยธุรกิจที่ช่วยสร้างการผสานกันของโลกจริงและโลกเสมือน

รายงานเอคเซนเชอร์ฉบับนี้ ส่วนหนึ่งได้ข้อมูลมาจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารด้านธุรกิจและเทคโนโลยีกว่า 4,600 คนจาก 23 อุตสาหกรรม ใน 35 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย โดยผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารทั่วโลก 71% มองว่าเมตาเวิร์สจะส่งผลในเชิงบวกต่อองค์กร และ 42% เชื่อว่า เมตาเวิร์สจะมีบทบาทต่อความความก้าวหน้าหรือการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่

สำหรับผลสำรวจจากผู้บริหารไทยในรายงานฉบับเดียวกัน 72% มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเมตาเวิร์สจะส่งผลในเชิงบวกต่อองค์กร แต่มีเพียง 26% เท่านั้นที่เชื่อว่าเมตาเวิร์สจะมีบทบาทต่อความก้าวหน้าหรือการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่

นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ เอคเซนเชอร์ ประเทศไทยกล่าวว่า เรากำลังจะได้เห็นอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ ซึ่งจะผลักดันให้เกิดคลื่นลูกใหม่แห่งการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล (digital transformation) ที่ไปได้ไกลกว่าปัจจุบัน ตลอดจนเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต และการทำงานของเราไปโดยสิ้นเชิง

“มุมมองที่เรามีต่อเมตาเวิร์สท้าทายแนวคิดเดิมๆ และเป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่าเหตุใดองค์กรจึงต้องลงมือทำในวันนี้ หรือต้องปรับตัวให้ทำงานได้ในโลกที่ออกแบบใหม่นี้ ความต่อเนื่องทางเทคโนโลยีจะนำเราไปสู่ Metaverse เราเชื่อว่านี่คืออนาคตของอินเทอร์เน็ตที่ปฏิเสธไม่ได้ หลายองค์กรได้กระโดดเข้าไปเล่นในเมต้าเวิร์ส สิ่งนี้คืออินเทอร์เน็ตยุคใหม่ หรือ internet of place จึงควรคิดว่าจะทำอย่างไรให้คน หรือลูกค้ามีประสบการณ์ในพื้นที่ใหม่นี้”

โดยผสมผสาน และแยกแยะโลกจริงโลกเสมือน หรือ ‘ดิจิทัลทวิน’ ได้ เพราะความต่อเนื่องของเทคโนโลยีใน Internet of place มาพร้อมกับการเกิดขึ้นของหลายสิ่งทั้ง IOT, Advance A.I., Blockchain, Internet of ownership”

นอกจากนี้ เอคเซนเชอร์ยังชวนภาคธุรกิจตั้งคำถามด้วยว่ามีความพร้อมที่จะเข้าสู่ดิจิทัลทวินหรือไม่ ด้วย 5 ข้อนี้

1.ถ้าเราสื่อสารกับลูกค้า หรือปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าจะทำอย่างไร ในโลกโลกเสมือนและโลกจริง
2.วันนี้เราจะให้พนักงานทำงานอย่างไรในยุคโลกเสมือน ที่สร้างงานจากที่ใดก็ได้
3.วันนี้เราจะนำเสนอสินค้าอะไรให้ลูกค้าในเมต้าเวิร์ส จะมีอะไรบริการในโลกจริง วันนี้เทคโนโลยีสามารถทำได้แทบทุกอย่าง ตั้งแต่การทำหน้ากากถึงการสร้างบ้าน
4. เราจะกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคได้อย่างไร
5. วันนี้เราจะบริหารธุรกิจอย่างไร ในวันที่โลกมีสองโลก

นางสาวปฐมา เสริมว่าพัฒนาการของเทคโนโลยีจากยุคของเอไอ สู่ยุคของบล็อกเชน ยุคของเอดจ์คอมพิวเตอร์ และเมต้าเวิร์สกำลังจะมาถึง หลายองค์กรได้เริ่มมาทดลองเรียนรู้ประสบการณ์ และนำเสนอประสบการณ์แก่ลุกค้าบ้างแล้ว แต่ก็ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะเหรียญมีสองด้าน การพัฒนาเทคโนโลยีก็จะมีภัยคุกคามตามมา การเลือกเมต้าเวิร์สหรือผู้ให้บริการให้เลือกจาก 1.ความเชื่อมั่น ต้องดูว่าใครมีความเชี่ยวชาญในด้านความปลอดภัย เพราต้องผูกติดข้อมูลของเรากับเขา 2.ความยั่งยืน ทำอย่างไรเทคโนโลยีที่เราเลือกใช้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

สำหรับ 4 เทรนด์สำคัญที่มาพร้อมเมต้าเวิร์ส และ Internet of Place ได้แก่

1. Webme คือการนำตัวเองเข้าไปสู่ดิจิทัล จินตนาการใหม่ว่าเราจะเชื่อมต่อลูกค้า พาร์ทเนอร์ และพนักงานของในโลกดิจิทัลอย่างไร เพื่อเปลี่ยนประสบการณ์ลูกค้าและพนักงาน เช่น ไนกี้แลนด์ที่มีร้านในโลกเสมือนและร้านในโลกจริง บีเอ็มดับลิวได้สร้างดิจิทัลทวินเป็นโรงงาน (BMW’s Virtual Factory) เพื่อให้ผู้สั่งซื้อสามารถเห็นการผลิตสิ้นส่วนรถได้ทุกขั้นตอน

2. Programable world โลกต้องการความเป็น Persornalize และผู้ใช้ต้องการสิ่งที่เป็นของตัวเอง ดังนั้นข้อมูลรอบข้างผู้บริโภคสามารถนำมาโปรแกรมเพื่อนำเสนอต่อผู้บริโภค สิ่งที่ตามมาคือ เทคโนโลยี IOT จะก้าวไปไกลกว่าเดิม ทั้งในเรื่องไยผ้า สภาพอากาศ หลอดไฟ เหล่านี้จะถูกประมวลผลเป็นข้อมูลเพื่อตอบสนองอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น

3. The Unreal world ปัจจุบัน Advance A.I. สามารถสร้างข้อมูลสังเคราะห์ในระดับลึก (Deepfake) จนมนุษย์ทัวไปแยกไม่ออก ข้อมูล Syntatic เหล่านี้จะสร้างความสับสนกับข้อมูล Authentic แบบดั้งเดิม ยังไม่รวมสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเองอย่างเฟคนิวส์ จะทำให้เกิดความสับสน หลอกลวงและเป็นปัญหาใหญ่ ดังนั้นถ้าหากไม่ใช่ AI ที่น่าเชื่อถือได้ นับว่าน่ากลัว

ตัวอย่างการพัฒนาเอไอที่ผสานโลกจริงและโลกเสมือน เช่น SK2 สร้างอินฟลูอินเซอร์ ยูมิ เป็น Animate ที่สามารถโต้ตอบลูกค้าและแนะนำผลิตภัณฑ์ได้ ทำให้ยูมิใช้เวลาเรียนรู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้เร็วกว่าพนักงานขาย และ Project Origin นำเอา DLT ขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ที่มาที่ไปของข่าวเพื่อปกป้องข่าวที่มีความน่าเชื่อถือ

4. Computing the impossible การมีคอมพิวเตอร์ที่กำลังคำนวนสูงในปัจจุบัน และที่กำลังพัฒนาอย่างควอนตั้มคอมพิวเตอร์สามารถทำให้คำนวนสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ เช่น Cambridge-1 ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่พลังคำนวนสูงที่สุดของอังกฤษ นำเอาข้อมูลจากวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมาทำโมเดลคำนวนเพื่อสร้างวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า

นอกจากนี้ นางสาวปฐมา ยังได้กล่าวถึงเทคโนโลยีพื้นฐานที่ควรลงทุนเพื่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตยุคใหม่ว่าองค์กรต่างๆ ที่ผ่านวิกฤตมาได้ลงทุนด้านเทคโนโลยี หลายองค์กรเคยใช้คลาวด์ ขยับไปใช้มัลติคลาวด์แล้ว แต่สิ่งที่องค์กรควรให้ความสนใจมากขึ้น คือ Advance AI ที่วิเคราะห์แยกแยะข้อมูลจริงเท็จที่มีมหาศาล และไม่สามารถจัดการได้ เพื่อสกัดเอาข้อมูลมหาศาลเหล่านั้นมาใช้งาน เป็นเทคโนโลยีที่ควรลงทุนมากและอุปกรณ์ IOT จะปรับไปเป็นอุปกรณ์รอบตัว รอบบ้านมากขึ้น เช่น ไยผ้าอัจฉริยะ ตู้เย็น หลอดไฟ

รวมถึง Edge Technology ด้วย เรามีการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูล ประกอบกับอุปกรณ์สมัยใหม่ทั้งในรถยนต์หรือ IOT ทั้งหลายต่างต้องประมวลข้อมูลที่แวดล้อมอุปกรณ์ ดังนั้นการฝากข้อมูลไว้ที่ไกลจะไม่สามารถตัดสินใจเรียลไทม์ได้ สุุดท้ายคือ Security ส่วนนี้สำคัญที่สุด เพราะหากข้อมูลถูกขโมยหรือระบบล้มเหลวจะนำความเสียหายมหาศาล ควรลงทุนส่วนนี้ที่สุด