กางงบประมาณรายจังหวัดปี 2561 กระจายทั่วถึง 3.1 หมื่นล้านบาท

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ประกาศแล้วรวมทั้งสิ้น 2.9 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ได้จำแนกเป็นรายจ่ายต่าง ๆ ระบุตามรายมาตรา โดยงบประมาณของจังหวัดมีทั้งหมด 3 ส่วน คือ งบฯจังหวัด งบฯกลุ่มจังหวัด และงบฯสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนในประเทศ หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ

งบเข้มแข็งให้จังหวัด 6.4 พันล้าน

สำหรับงบฯสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนในประเทศนั้น ตามมาตรา 58 ระบุว่า เป็นงบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยได้กระจายงบประมาณไปยังส่วนราชการ จังหวัด รัฐวิสาหกิจ และกองทุน และเงินทุนหมุนเวียน เป็นจำนวน 82,680 ล้านบาท ในจำนวนนี้แบ่งเป็นงบประมาณของแต่ละจังหวัด รวม 6,442.9 ล้านบาท

จังหวัดและกลุ่มจังหวัดพื้นที่ภาคกลาง รวม 2,196,534,000 บาท ได้แก่ นนทบุรี 161,086,000 บาท ปทุมธานี 162,273,800 บาท พระนครศรีอยุธยา 190,741,900 บาท สระบุรี 154,588,300 บาท ชัยนาท 83,560,100 บาท ลพบุรี 91,915,900 บาท สิงห์บุรี 35,271,000 บาท อ่างทอง 88,683,000 บาท ปราจีนบุรี 78,671,500 บาท สระแก้ว 65,878,000 บาท นครนายก 108,288,300 บาท กาญจนบุรี 163,162,500 บาท นครปฐม 184,330,500 บาท ราชบุรี 87,636,900 บาท สุพรรณบุรี 148,111,800 บาท ประจวบคีรีขันธ์ 110,080,000 บาท เพชรบุรี 119,700,000 บาท สมุทรสาคร 127,438,400 บาท สมุทรสงคราม 35,116,100 บาท

จังหวัดและกลุ่มจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ รวม 604,750,000 บาท ได้แก่ ชุมพร 29,500,000 บาท สุราษฎร์ธานี 88,789,200 บาท นครศรีธรรมราช 42,636,200 บาท พัทลุง 58,616,200 บาท ระนอง 29,529,800 บาท พังงา 83,527,200 บาท ภูเก็ต 123,282,500 บาท กระบี่ 80,741,800 บาท ตรัง 68,127,100 บาท

จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน รวม 322,029,900 บาท ได้แก่ สงขลา 44,688,100 บาท สตูล 33,947,600 บาท ปัตตานี 79,599,000 บาท ยะลา 66,219,700 บาท นราธิวาส 97,575,500 บาท

ภาคตะวันออก รวม 465,872,100 บาท จังหวัดสมุทรปราการ 139,881,700 บาท ชลบุรี 239,624,900 บาท ตราด 86,365,500 บาท

จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 921,010,000 บาท ได้แก่ หนองคาย 24,482,200 บาท เลย 128,453,500 บาท อุดรธานี 82,000,000 บาท หนองบัวลำภู 19,600,000 บาท บึงกาฬ 25,000,000 บาท นครพนม 64,675,200 บาท ร้อยเอ็ด 72,735,000 บาท ขอนแก่น 5,000,000 บาท มหาสารคาม 99,448,600 บาท กาฬสินธุ์ 64,093,300 บาท สุรินทร์ 23,800,000 บาท นครราชสีมา 52,306,400 บาท บุรีรัมย์ 68,600,000 บาท ชัยภูมิ 49,841,400 บาท ศรีสะเกษ 92,395,100 บาท อุบลราชธานี 48,579,300 บาท

จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ รวม 2,258,793,500 บาท ได้แก่ เชียงใหม่ 298,976,400 บาท แม่ฮ่องสอน 29,100,900 บาท ลำปาง 142,585,400 บาท ลำพูน 32,158,500 บาท น่าน 322,878,000 บาท พะเยา 80,247,300 บาท เชียงราย 227,328,600 บาท แพร่ 55,762,200 บาท ตาก 86,407,500 บาท พิษณุโลก 61,043,900 บาท สุโขทัย 99,423,400 บาท เพชรบูรณ์ 57,127,900 บาท อุตรดิตถ์ 176,266,500 บาท กำแพงเพชร 153,549,100 บาท พิจิตร 105,854,800 บาท นครสวรรค์ 184,494,900 บาท อุทัยธานี 145,588,200 บาท

งบจว./กลุ่มจังหวัด 2.4 หมื่นล.

ขณะที่งบฯจังหวัด และกลุ่มจังหวัด มาตรา 60 ระบุว่า งบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการส่งเสริมการพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ให้ตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของจังหวัด และกลุ่มจังหวัด เป็นจำนวน 24,996,381,500 บาท จำแนกได้ดังนี้

1.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางตอนบน 1 รวม 1,308,368,800 บาท ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี 258,665,800 บาท จังหวัดปทุมธานี 255,080,900 บาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 259,768,300 บาท จังหวัดสระบุรี 227,462,800 บาท กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 จำนวน 307,391,000 บาท

2.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางตอนบน 2 รวม 1,087,052,700 บาท ได้แก่ จังหวัดชัยนาท 207,933,200 บาท จังหวัดลพบุรี 239,800,600 บาท จังหวัดสิงห์บุรี 182,083,800 บาท จังหวัดอ่างทอง 185,832,900 บาท กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 จำนวน 271,402,200 บาท

3.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางตอนกลาง รวม 1,546,630,800 บาท ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา 222,685,900 บาท จังหวัดปราจีนบุรี 224,631,600 บาท จังหวัดสระแก้ว 174,501,900 บาท จังหวัดนครนายก 195,280,600 บาท จังหวัดสมุทรปราการ 332,778,500 บาท กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง 396,752,300 บาท

4.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 รวม 1,509,641,100 บาท ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี 275,813,700 บาท จังหวัดนครปฐม 234,976,300 บาท จังหวัดราชบุรี 271,409,700 บาท จังหวัดสุพรรณบุรี 294,268,800 บาท กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 จำนวน 433,172,600 บาท

5.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 2 รวม 1,066,813,800 บาท ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 215,977,700 บาท จังหวัดเพชรบุรี 207,399,800 บาท จังหวัดสมุทรสาคร 228,305,000 บาท จังหวัดสมุทรสงคราม 147,470,000 บาท กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 จำนวน 267,661,300 บาท

6.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย รวม 1,267,861,900 บาท ได้แก่ จังหวัดชุมพร 203,786,700 บาท จังหวัดสุราษฎร์ธานี 242,722,900 บาท จังหวัดนครศรีธรรมราช 302,269,700 บาท จังหวัดพัทลุง 227,056,600 บาท กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 292,026,000 บาท

7.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน รวม 1,365,784,100 บาท ได้แก่ จังหวัดระนอง 193,831,100 บาท จังหวัดพังงา 182,182,900 บาท จังหวัดภูเก็ต 195,120,900 บาท จังหวัดกระบี่ 198,055,500 บาท จังหวัดตรัง 231,436,300 บาท กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 365,157,400 บาท

8.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน รวม 1,611,233,100 บาท ได้แก่ จังหวัดสงขลา 295,317,400 บาท จังหวัดสตูล 204,097,100 บาท จังหวัดปัตตานี 267,816,700 บาท จังหวัดยะลา 267,696,800 บาท จังหวัดนราธิวาส 259,301,600 บาท กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน 317,003,500 บาท

9.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออก รวม 1,378,641,900 บาท ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี 195,835,800 บาท จังหวัดชลบุรี 351,295,000 บาท จังหวัดระยอง 298,483,800 บาท จังหวัดตราด 185,177,400 บาท กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 347,849,900 บาท

10.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 รวม 1,596,379,000 บาท ได้แก่ จังหวัดหนองคาย 227,741,800 บาท จังหวัดเลย 241,168,100 บาท จังหวัดอุดรธานี 313,008,200 บาท จังหวัดหนองบัวลำภู 217,954,600 บาท จังหวัดบึงกาฬ 208,997,700 บาท กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 รวม 387,508,600 บาท

11.จังหวัด และ กลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 รวม 1,112,693,500 บาท ได้แก่ จังหวัดนครพนม 281,173,800 บาท จังหวัดมุกดาหาร 206,606,600 บาท จังหวัดสกลนคร 290,785,600 บาท กลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 รวม 334,127,500 บาท

12.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง รวม 1,588,203,100 บาท ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด 300,799,600 บาท จังหวัดขอนแก่น 343,897,900 บาท จังหวัดมหาสารคาม 277,837,800 บาท จังหวัดกาฬสินธุ์ 305,068,700 บาท กลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง 360,599,100 บาท

13.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 รวม 1,658,690,200 บาท ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ 289,853,700 บาท จังหวัดนครราชสีมา 393,504,600 บาท จังหวัดบุรีรัมย์ 317,114,500 บาท จังหวัดชัยภูมิ 268,714,000 บาท กลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 รวม 389,503,400 บาท

14.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 รวม 1,355,959,900 บาท ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ 213,320,200 บาท จังหวัดศรีสะเกษ 319,167,000 บาท จังหวัดยโสธร 238,319,900 บาท จังหวัดอุบลราชธานี 303,075,600 บาท กลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 จำนวน 282,077,200 บาท

15.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 รวม 1,521,111,300 บาท ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 379,256,300 บาท จังหวัดแม่ฮ่องสอน 249,924,000 บาท จังหวัดลำปาง 255,132,000 บาท จังหวัดลำพูน 212,750,800 บาท กลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 จำนวน 424,048,200 บาท

16.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 รวม 1,294,252,700 บาท ได้แก่ จังหวัดน่าน 194,532,500 บาท จังหวัดพะเยา 247,539,600 บาท จังหวัดเชียงราย 345,520,000 บาท จังหวัดแพร่ 190,202,600 บาท กลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 จำนวน 316,458,000 บาท

17.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 1 รวม 1,400,367,900 บาท ได้แก่ จังหวัดตาก 210,753,400 บาท จังหวัดพิษณุโลก 268,643,200 บาท จังหวัดสุโขทัย 211,069,700 บาท จังหวัดเพชรบูรณ์ 252,011,800 บาท จังหวัดอุตรดิตถ์ 217,101,300 บาท กลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 1 จำนวน 240,788,500 บาท

18.จังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2 รวม 1,326,695,700 บาท ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร 256,681,600 บาท จังหวัดพิจิตร 219,443,100 บาท จังหวัดนครสวรรค์ 275,655,500 บาท จังหวัดอุทัยธานี 215,402,000 บาท กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 จำนวน 359,513,500 บาท


ทั้งหมดนี้คือความคาดหวังที่จะสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งขึ้น