กองทัพบกแจงปมตรวจสอบ GT200 ยันตั้งงบฯก่อนศาลตัดสิน ไม่ใช่งบฯปี 2566

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 พล.อ.สันติพงศ์ ธรรมปิยะ เสนาธิการทหารบก ในฐานะโฆษกกองทัพบก กล่าวชี้แจงที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถึงกรณีกองทัพถูกวิจารณ์ถึงการจัดตั้งงบ GT200 ว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ข้อมูลที่อภิปรายในสภาเป็นการนำข้อมูลปีงบประมาณ 2564 มาเชื่อมโยงกับคำพิพากษาของคดีที่เกิดขึ้นในปี 2565 เป็นการเปรียบเทียบผิดห้วงเวลา ทั้งนี้กองทัพบกไม่ได้ตั้งงบประมาณในปี 2566 ในเรื่องดังกล่าว สำหรับการตั้งงบประมาณเพื่อการตรวจสอบ GT200 นั้น หากคดีถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณ โดยตามระเบียบราชการหากงบประมาณไม่ถูกใช้ ก็จะถูกส่งคืนตามกระบวนการงบประมาณต่อไป สำหรับเรื่องดังกล่าวโฆษกกระทรวงกลาโหม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ชี้แจงสร้างความเข้าใจในข้อมูลที่ถูกต้องต่อสาธารณะในเบื้องต้นไปแล้ว กองทัพบกขอเรียนข้อมูลเพิ่มเติมในภาพรวมของการดำเนินการทางกฎหมายต่อ GT 200 ว่า หลังจากที่ กองทัพบกได้พบข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ GT 200 ที่ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติและก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการ กองทัพบกได้ยุติการใช้งานและได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ของทางราชการในทุกด้าน สิ่งสำคัญที่สุดคือได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อบริษัทเอกชนคู่สัญญา โดยตั้งแต่ปี 2559 ได้ดำเนินการฟ้องดำเนินคดีต่อบริษัทเอกชนคู่สัญญาใน 2 ศาล เพื่อให้ครอบคลุมในมิติด้านกฎหมาย คือ คดีอาญาฐานฉ้อโกง และคดีทางปกครองฐานความผิดเกี่ยวกับสัญญา ซึ่งการดำเนินคดีของแต่ศาลมีความคืบหน้ามาอย่างต่อเนื่องตามกระบวนการ ตั้งแต่ ปี 2560- 2565 โดยคดีอาญา ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 ศาลขั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา มีคำพิพากษาเป็นที่สุดแล้ว เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ให้จำเลยร่วมกันคืนเงินให้กองทัพบก เป็นจำนวน 682,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี คดีอาญาเป็นอันสิ้นสุดลงและขณะนี้อยู่ในระหว่างการบังคับคดีให้ชดใช้เงินคืนกับกองทัพบก ระหว่างการดำเนินคดีอาญา กองทัพบกได้ยื่นฟ้องในคดีทางปกครองควบคู่กันไปด้วยโดยในคดีทางปกครองซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 กองทัพบกได้ดำเนินการตามคำแนะนำของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ให้ตรวจ GT200 ทุกเครื่อง เพื่อยืนยันว่าไม่มีประสิทธิภาพ และใช้เป็นสาระสำคัญประกอบการพิจารณาคดีทางปกครอง ในการนี้เพื่อให้ได้พยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ในทางคดี กองทัพบกจึงได้ตั้งงบประมาณในปี 2565 เพื่อตรวจสอบเครื่อง GT200 จำนวน 757 เครื่อง โดยส่งตรวจที่ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศทอ.สวทช.) โดยเป็นการตั้งงบประมาณล่วงหน้าในขณะนั้น ก่อนที่คดีทางปกครองจะเป็นอันถึงที่สุดในปีต่อมา คือ มีนาคม 2565 “การที่กองทัพบกมอบให้ สวทช.เป็นผู้ดำเนินการตรวจทดสอบ GT200 เนื่องจาก สวทช.เป็นหน่วยงานกลาง มีมาตรฐานตามหลักการ อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญในงานด้านนี้โดยตรง ผลการตรวจรับรองจะสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือ อันจะเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินคดีของทางราชการที่ กองทัพบกดำเนินการอยู่ในขณะนั้น”พล.อ.สันติพงศ์ กล่าว ต่อข้อสงสัยที่ว่า ทำไมไม่นำคำพิพากษาในคดีอาญามาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีทางปกครอง เพื่อจะได้ไม่ต้องส่ง GT200 ไปตรวจสอบนั้น พล.อ.สันติพงศ์ กล่าวว่า ในขณะที่ตั้งงบประมาณ เพื่อขอตรวจ GT200 ในปี 2564 นั้น คดีอาญายังไม่ถึงที่สุด ไม่อาจรู้ผลทางคดีได้ แต่การตรวจ GT200 เป็นสิ่งสำคัญต่อคดีทางปกครองในขณะนั้น กองทัพบกขอเรียนว่า การตั้งงบประมาณในการตรวจสอบ GT200 จำนวน 7.27 ล้านบาท เป็นการตั้งงบประมาณก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา และเป็นไปตามกระบวนการแสวงหาพยานหลักฐานประกอบคดี ภายใต้ข้อแนะนำจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและวิทยาศาสตร์ และเมื่อคดีเป็นที่ยุติแล้ว ก็ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อมุ่งให้ทางราชการได้รับค่าเสียหายชดเชย เพื่อรักษาประโยชน์ของกองทัพและประเทศ ทั้งนี้นอกจากการดำเนินการตามกฎหมายต่อบริษัทคู่สัญญาแล้ว สำหรับเจ้าหน้าที่ของทางราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดหา GT200 ก็ได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการสอบสวนทางวินัยและทางกฎหมายเช่นกัน

จากกรณีที่มีการอภิปรายในการตั้งงบประมาณเพื่อการตรวจสอบเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด (GT200 Detection Substances) ของกองทัพบก ด้วยข้อสงสัยทำไมกองทัพบกต้องตั้งงบประมาณปี 2566 เพื่อใช้ในการตรวจสอบ GT200 ทั้งที่ศาลมีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้วนั้น

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 พลเอก สันติพงศ์ ธรรมปิยะ เสนาธิการทหารบก ในฐานะโฆษกกองทัพบก กล่าวชี้แจงที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถึงกรณีกองทัพถูกวิจารณ์ถึงการจัดตั้งงบฯ GT200 ว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ข้อมูลที่อภิปรายในสภาเป็นการนำข้อมูลปีงบประมาณ 2564 มาเชื่อมโยงกับคำพิพากษาของคดีที่เกิดขึ้นในปี 2565 เป็นการเปรียบเทียบผิดห้วงเวลา ทั้งนี้กองทัพบกไม่ได้ตั้งงบประมาณในปี 2566 ในเรื่องดังกล่าว

สำหรับการตั้งงบประมาณเพื่อการตรวจสอบ GT200 นั้น หากคดีถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณ โดยตามระเบียบราชการหากงบประมาณไม่ถูกใช้ ก็จะถูกส่งคืนตามกระบวนการงบประมาณต่อไป

สำหรับเรื่องดังกล่าวโฆษกกระทรวงกลาโหม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ชี้แจงสร้างความเข้าใจในข้อมูลที่ถูกต้องต่อสาธารณะในเบื้องต้นไปแล้ว

กองทัพบกขอเรียนข้อมูลเพิ่มเติมในภาพรวมของการดำเนินการทางกฎหมายต่อ GT200 ว่า หลังจากที่กองทัพบกได้พบข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ GT200 ที่ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติและก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการ กองทัพบกได้ยุติการใช้งานและได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ของทางราชการในทุกด้าน

สิ่งสำคัญที่สุดคือได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อบริษัทเอกชนคู่สัญญา โดยตั้งแต่ปี 2559 ได้ดำเนินการฟ้องดำเนินคดีต่อบริษัทเอกชนคู่สัญญาใน 2 ศาล เพื่อให้ครอบคลุมในมิติด้านกฎหมาย คือ คดีอาญาฐานฉ้อโกง และคดีทางปกครองฐานความผิดเกี่ยวกับสัญญา ซึ่งการดำเนินคดีของแต่ศาลมีความคืบหน้ามาอย่างต่อเนื่องตามกระบวนการ ตั้งแต่ปี 2560-2565

โดยคดีอาญา ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 ศาลขั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา มีคำพิพากษาเป็นที่สุดแล้ว เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ให้จำเลยร่วมกันคืนเงินให้กองทัพบก เป็นจำนวน 682,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี คดีอาญาเป็นอันสิ้นสุดลงและขณะนี้อยู่ในระหว่างการบังคับคดีให้ชดใช้เงินคืนกับกองทัพบก

ระหว่างการดำเนินคดีอาญา กองทัพบกได้ยื่นฟ้องในคดีทางปกครองควบคู่กันไปด้วยโดยในคดีทางปกครองซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 กองทัพบกได้ดำเนินการตามคำแนะนำของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ให้ตรวจ GT200 ทุกเครื่อง เพื่อยืนยันว่าไม่มีประสิทธิภาพ และใช้เป็นสาระสำคัญประกอบการพิจารณาคดีทางปกครอง

ในการนี้เพื่อให้ได้พยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ในทางคดี กองทัพบกจึงได้ตั้งงบประมาณในปี 2565 เพื่อตรวจสอบเครื่อง GT200 จำนวน 757 เครื่อง โดยส่งตรวจที่ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศทอ.สวทช.) โดยเป็นการตั้งงบประมาณล่วงหน้าในขณะนั้น ก่อนที่คดีทางปกครองจะเป็นอันถึงที่สุดในปีต่อมา คือ มีนาคม 2565

“การที่กองทัพบกมอบให้ สวทช.เป็นผู้ดำเนินการตรวจทดสอบ GT200 เนื่องจาก สวทช.เป็นหน่วยงานกลาง มีมาตรฐานตามหลักการ อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญในงานด้านนี้โดยตรง ผลการตรวจรับรองจะสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือ อันจะเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินคดีของทางราชการที่กองทัพบกดำเนินการอยู่ในขณะนั้น” พล.อ.สันติพงศ์กล่าว

ต่อข้อสงสัยที่ว่า ทำไมไม่นำคำพิพากษาในคดีอาญามาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีทางปกครอง เพื่อจะได้ไม่ต้องส่ง GT200 ไปตรวจสอบนั้น พล.อ.สันติพงศ์กล่าวว่า ในขณะที่ตั้งงบประมาณ เพื่อขอตรวจ GT200 ในปี 2564 นั้น คดีอาญายังไม่ถึงที่สุด ไม่อาจรู้ผลทางคดีได้ แต่การตรวจ GT200 เป็นสิ่งสำคัญต่อคดีทางปกครองในขณะนั้น กองทัพบกขอเรียนว่า

การตั้งงบประมาณในการตรวจสอบ GT200 จำนวน 7.27 ล้านบาท เป็นการตั้งงบประมาณก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา และเป็นไปตามกระบวนการแสวงหาพยานหลักฐานประกอบคดี ภายใต้ข้อแนะนำจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและวิทยาศาสตร์


และเมื่อคดีเป็นที่ยุติแล้ว ก็ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อมุ่งให้ทางราชการได้รับค่าเสียหายชดเชย เพื่อรักษาประโยชน์ของกองทัพและประเทศ ทั้งนี้นอกจากการดำเนินการตามกฎหมายต่อบริษัทคู่สัญญาแล้ว สำหรับเจ้าหน้าที่ของทางราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดหา GT200 ก็ได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการสอบสวนทางวินัยและทางกฎหมายเช่นกัน