10 ปี ‘บี.กริม’ จับมือภาครัฐ อนุรักษ์ฟื้นฟู ‘เสือโคร่ง’ พบจำนวนเพิ่มขึ้น

10 ปี ‘บี.กริม’

จากจำนวนประชากรเสือโคร่งทั่วโลก เมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนกว่า 100,000 ตัว แต่ปัจจุบันลดลงกว่าร้อยละ 95 เหลืออยู่เพียงไม่ถึง 3,200 ตัว โดยพบในป่าธรรมชาติของ 13 ประเทศเท่านั้น รวมถึงประเทศไทย ถือเป็นภาวะวิกฤตของประชากรเสือโคร่งที่ลดน้อยลง อันส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและโลกของเรา

13 ประเทศทำปฏิญญาอนุรักษ์เสือโคร่ง

ทั้ง 13 ประเทศที่ยังคงมีเสือโคร่งอาศัยอยู่ จึงทำปฏิญญาร่วมกันในการอนุรักษ์เสือโคร่งและมีแผนฟื้นฟูตามศักยภาพของพื้นที่ที่รองรับ เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรเสือโคร่งให้มากขึ้นเป็น 2 เท่าตัว

ในประเทศไทย เสือโคร่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ไอยูซีเอ็น (IUCN) จัดสถานะให้อยู่ในประเภทใกล้สูญพันธุ์ สาเหตุหลักมาจากการบุกรุกพื้นที่ป่า การลักลอบล่าและค้าสัตว์ป่า ฯลฯ รวมถึงความเชื่อผิดๆ ว่าชิ้นส่วนอวัยวะของเสือโคร่งเป็นยาบำรุงกำลังชั้นเยี่ยม

โดยประเทศไทย เป็นถิ่นอาศัยของเสือมากเป็นอันดับ 2 ของโลก และเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังมีเสือโคร่งในธรรมชาติ โดยกระจายตัวอยู่ในป่าอนุรักษ์สำคัญๆ อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา ผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เท่านั้น

ล่าสุด มีการรายงานจำนวนประชากรเสือในธรรมชาติ 177 ตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2563 จำนวน 17 ตัว ด้วยแผนปฏิบัติการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งการใช้องค์ความรู้ทางวิชาการ ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การใช้ระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ Smart Patrol ในทุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ การจัดตั้งศูนย์ควบคุมมาตรฐานการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ ทำให้ผืนป่าของไทยมีจำนวนประชากรเสือโคร่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ

บี.กริม เอกชนรายเดียวร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง กว่า 10 ปี

ในส่วนของภาคเอกชน บี.กริม เป็นบริษัทเอกชนรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญและสนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง ให้กับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

“เพราะมีความโอบอ้อมอารี ธุรกิจจึงสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติและชุมชนได้” ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม บอกถึงเบื้องหลังโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง (Save the Tigers)

ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ตลอดจนการบริหารห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) อย่างรับผิดชอบ โดยคำนึงถึงผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามวิสัยทัศน์ในการสร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี (Empowering the World Compassionately) โดยมุ่งมั่นฟื้นฟูธรรมชาติของผืนป่าตะวันตกของประเทศไทยต่อเนื่องยาวนาน กว่า10 ปีที่ผ่านมา บี.กริม สนับสนุนการเพิ่มจำนวนประชากรเสือโคร่ง พร้อมปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งจากการรุกล้ำและลักลอบล่าสัตว์ และยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูเสือโคร่งอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

นอกจากสนับสนุนระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol System) การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย นำไปสู่การวางแผนการปฏิบัติงานลาดตระเวนได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพแล้ว บี.กริม ยังสนับสนุน การปรับปรุง ศูนย์ควบคุมมาตรฐานการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ ( SMART Patrol Monitoring Center ) และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานพิทักษ์ป่า อาทิ กล้องดักถ่ายภาพ (Camera Trap) ระบบเสารับส่งสัญญาณวิทยุ (Radio Tower and Portable 2-Way Radio) เชื่อมโยงระบบป้องกันรักษาป่า ฯลฯ

ขณะเดียวกันได้จัดทำประกันสุขภาพให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกคน ตลอดจนสนับสนุนทุนการศึกษาแก่บุตรหลาน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เพราะโดยเฉลี่ยเจ้าหน้าที่1คนต้องดูแลพื้นที่ป่าคนละ1หมื่นไร่ นอกจากนี้ บี.กริม ยังสร้างศูนย์การเรียนรู้ ส.เสือวิทยา ณ โรงเรียนอนุบาลคลองลาน จ.กำแพงเพชร เพื่อให้นักเรียนและชุมชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้เกี่ยวกับเสือและสัตว์ป่า รวมถึงสร้างจิตสำนึกให้เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาฝืนป่าและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

พบเสือโคร่งกระจายตัว-จำนวนเพิ่มขึ้น

จากฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์ พบว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประชากรของเสือโคร่งมีการกระจายตัวออกไปทั่วผืนป่าตะวันตก จากห้วยขาแข้งไปยังพื้นที่ป่าใกล้เคียง เช่น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กำแพงเพชร และอุทยานแห่งชาติคลองลาน ต่อเนื่องถึงอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าทางตอนเหนือ และกระจายตัวลงมาถึงเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าสลักพระทางตอนใต้ โดยการกระจายตัวหมายถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ถือเป็นความสัมฤทธิ์ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งอย่างมีประสิทธิภาพ

B.GRIMM: Save the Tigers

https://www.bgrimmpower.com/th/sustainability/environment