สุขภาพจิตเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนไม่ควรมองข้าม ยิ่งในปัจจุบันผู้คนไม่ว่าจะวัยไหนก็ตาม ต่างเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตกันเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะกับโรคซึมเศร้าที่เป็นอีกหนึ่งโรคที่ใกล้ตัวเรามากยิ่งขึ้น เพราะหลายคนรอบตัวคุณอาจกำลังเผชิญกับโรคนี้อยู่ หากเราทราบถึงวิธีการดูแล และมีความเข้าใจผู้ป่วยโรคนี้กันมากขึ้นคงดีไม่น้อย
สำหรับในคอลัมน์นี้จะพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ตั้งแต่สาเหตุของการนำไปสู่โรคนี้ การรับมือกับโรคซึมเศร้า การป้องกัน รวมไปถึงการวินิจฉัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจกับผู้ที่กำลังเผชิญกับโรคนี้กันมากยิ่งขึ้น
ทำความรู้จักกับ “โรคซึมเศร้า” คืออะไร
โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) คือ ภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของสารเคมีภายในสมองที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ทำให้ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าเกิดความรู้สึกเศร้า ว่างเปล่า รู้สึกชีวิตไร้ค่า ร้องไห้ โทษตัวเอง หมดความสนใจในกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่เคยชื่นชอบ มีปัญหาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับมาเกินไป ในบางรายนอกจากจะมีอาการเบื้องต้นตามที่กล่าวมาแล้ว อาจมีความคิดในการทำร้ายตัวเองด้วยวิธีต่าง ๆ ไปจนถึงพยายามฆ่าตัวตาย เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้ามีอะไรบ้าง
การเกิดโรคซึมเศร้านั้นมีหลากหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่แล้วโรคซึมเศร้ามักจะมีสาเหตุส่วนใหญ่ ดังต่อไปนี้
- ความเครียด ความกดดันที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การเรียน การทำงาน หรือแม้กระทั่งภายในครอบครัว เป็นต้น
- การไม่ได้รับการยอมรับในสังคม
- ความผิดปกติของสารเคมีภายในสมอง
- โรคซึมเศร้าที่เกิดจากหลังคลอดบุตร
- ฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง
- คนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคซึมเศร้า
การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า
สำหรับการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะมีการซักถามอาการเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า นอกจากนั้นจะมีการซักถามข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ประวัติการเป็นโรคซึมเศร้าของคนในครอบครัว ยาที่รับประทาน รวมไปถึงโรคประจำตัว เป็นต้น เพราะยาหรือโรคบางชนิดอาจก่อให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน
เป็นโรคซึมเศร้าควรรับมืออย่างไร?
โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อเผชิญกับโรคซึมเศร้าควรปฏิบัติตัวเองในการรับมือเกี่ยวกับโรค ดังต่อไปนี้
- รับการรักษา โดยพบจิตแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานยารักษาโรคซึมเศร้าตามที่แพทย์สั่ง และไม่ควรหยุดยาหรือเพิ่มขนาดยาเอง
- หากิจกรรมที่ช่วยทำให้เกิดความผ่อนคลาย ทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เป็นต้น
- ปรับสภาพจิตใจ และปรับเปลี่ยนวิธีการคิด มองโลกในแง่ดี
การป้องกันโรคซึมเศร้าทำได้ไหม ทำอย่างไรบ้าง
ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ยังไม่วิธีการป้องกันการเกิดขึ้น เนื่องจากปัจจัยกระตุ้น รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าที่คนไข้แต่ละคนเจอมักจะแตกต่างกันออกไป
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการสร้างพลังใจให้ตัวเอง คือ ปรับเปลี่ยนวิธีคิด มองโลกในแง่บวก ไตร่ตรองคำพูดก่อนที่จะพูดกับคนใกล้ชิดก่อนทุกครั้ง นอกจากนี้ควรรักตนเอง พูดชื่นชมตนเอง และเห็นคุณค่าในตนเองอย่างสม่ำเสมอ
สรุปเรื่องโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าถือเป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากขึ้น ไม่ว่าจะการเป็นซึมเศร้าในเด็ก ซึมเศร้าในวัยรุ่น ซึมเศร้าในวัยทำงาน หรือแม้กระทั่งซึมเศร้าในผู้สูงอายุ การเข้าใจผู้ป่วยและมีวิธีการรับมือที่ถูกต้องจะช่วยให้เราสามารถสื่อสารได้โดยที่ไม่สร้างบาดแผลในใจให้กับผู้ป่วย
อย่างไรก็ตามหากเริ่มสังเกตตนเอง หรือคนใกล้ชิดว่ามีอาการโศกเศร้า ซึม รับประทานอาหารน้อยลง มีการแยกตัวออกจากสังคม รวมไปถึงมีการพูดถึงเรื่องความตาย หากมีสัญญาณเหล่านี้ไม่ควรเพิกเฉย แนะนำว่าควรรีบนัดหมายเพื่อปรึกษาจิตแพทย์ผ่านแอป BeDeeจากเครือ BDMS แพลตฟอร์มที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการนัดหมายแพทย์ได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา มีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาทุกวันถึง 23.00 น. หรือทำแบบประเมินโรคซึมเศร้าเบื้องต้นกับพยาบาล ไม่มีค่าใช้จ่าย ดาวน์โหลด BeDee คลิก https://bit.ly/4btcZSY