
นักสำรวจฟอสซิลในอังกฤษ พบฟอสซิล ไดโนเสาร์หน้าจระเข้ เป็นนักล่าขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ชื่อว่า ไวท์ ร็อก สไปโนซอริด (White Rock spinosaurid) เคยอยู่ในโลกเมื่อ 125 ล้านปีก่อน
วันที่ 9 มิถุนายน 2565 สำนักข่าว เอเอฟพี รายงานว่า นักล่าฟอสซิลชาวอังกฤษ พบฟอสซิลไดโนเสาร์หน้าจระเข้ขนาดมหึมา ที่ไอล์ออฟไวต์ เกาะขนาดใหญ่ของอังกฤษ น่าจะเป็นไดโนเสาร์ล่าเหยื่อตัวใหญ่ที่สุดที่เคยอยู่ในยุโรป
- วิกฤตหรือไม่วิกฤต คำตอบผู้ว่าการ ธปท.
- ในหลวง พระราชินี เสด็จฯส่วนพระองค์ ทรงร่วมแข่งเรือใบ จ.ภูเก็ต
- เช็กที่นี่ เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท เดือนธันวาคม 2566 เงินเข้าวันไหน
นิค เชส นักสะสมกระดูกไดโนเสาร์ เป็นผู้พบกระดูกส่วนใหญ่ของสไปโนซอริดสองขาจากการตระเวนค้นหาบริเวณชายหาดของเกาะทางตอนใต้ของอังกฤษ

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร PeerJ ระบุว่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันใช้กระดูกที่มีอยู่ไม่กี่ชิ้นเพื่อระบุสิ่งที่เรียกว่า ไวท์ ร็อก สไปโนซอริด (White Rock spinosaurid)
คริส บาร์เกอร์ นักศึกษาปริญญาเอก ผู้ทำการวิจัยนี้กล่าวว่าจากการพิจารณาบางส่วน จึงสันนิษฐานว่าสัตว์ขนาดใหญ่อาจมีความยาวกว่า 10 เมตรและอาจเป็นไดโนเสาร์นักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบในยุโรป ซึ่งการศึกษาจะดีกว่านี้ หากพบกระดูกมากกว่านี้
ด้านโธมัส ริชาร์ด โฮลต์ซ นักบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังจากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยนี้กล่าวว่าดูเหมือนจะมีขนาดใหญ่กว่านักล่าขนาดมหึมาที่พบฟอสซิลในโปรตุเกส

ทำไมไวท์ร็อกถึงมีหน้ายาว
นักวิจัยหวังว่าจะตั้งชื่ออย่างเป็นทางการให้กับไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ที่ค้นพบว่าไวท์ ร็อก สไปโนซอริดซึ่งเคยอยู่ในยุครีเทเชียสตอนต้นและคาดว่าจะมีเคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 125 ล้านปีก่อน
บาร์เกอร์กล่าวว่ากระดูดที่พบฟอสซิลสไปโนซอรัสอายุน้อยที่สุดที่พบในอังกฤษ อาจจะน้อยกว่าไดโนเสาร์แบรีออนิกซ์ 2-3 ล้านปี
สไปโนซอรัสมีหัวยาว หน้าคล้ายจระเข้มากกว่าไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ที่มีรูปหัวคล้ายกล่องและว่ากันตามทฤษฎีชั้นนำแล้ว ไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้เป็นนักล่าทั้งในน้ำและบนบก ลักษณะการหาเหยื่อคล้ายนกกระสาและนกยาง พวกมันลุยและหาปลาที่ผิวน้ำ
ไวท์ ร็อก สไปโนซอริด ค้นพบได้ในสิ่งแวดล้อมที่พบฟอสซิลไดโนเสาร์เพียงไม่กี่ชิ้น แต่ช่วยสร้างภาพให้เห็นสัตว์ที่ร่วมสมัยในช่วงเวลานั้นซึ่งนักบรรพชีวินวิทยาของอังกฤษไม่ค่อยรู้จักมากนัก
คณะนักวิจัยเคยพบสไปโนซอรัสสปีชีส์ใหม่แล้ว 2 สปีชีส์บนไอล์ออฟไวต์ รวมทั้ง Ceratosuchops inferodios ซึ่งถูกขนานนามว่า “นกกระสานรก“

ดาร์เรน ไนช์ ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยกล่าวว่าสัตว์สปีชีส์ใหม่นี้สนับสนุนความเห็นก่อนหน้านี้ว่าไดโนเสาร์สไปโนซอรัสมีต้นกำเนิดและกระจายตัวในยุโรปตะวันตกก่อนที่จะแพร่หลายมากขึ้น
นักล่าฟอสซิลชั้นแนวหน้า
นักบรรพชีวินวิทยาได้ยกย่องเชส ผู้บริจาคกระดูกทุกชิ้นที่พบให้กับพิพิธภัณฑ์เสมอ
เจเรมี ล็อกวูด ผู้ร่วมเขียนวิจัยและนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธกล่าวว่าฟอสซิลที่น่าทึ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่ค้นพบโดยนิก เชส นักล่าไดโนเสาร์ที่มีทักษะมากที่สุดของอังกฤษซึ่งเสียชีวิตก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19
ส่วนบาร์เกอร์กล่าวว่าความสามารถแปลกประหลาดของเชสที่พบกระดูกไดโนเสาร์แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่แค่นักบรรพชีวินวิทยามืออาชีพเท่านั้นที่สร้างผลกระทบต่อหลักการและแสดงให้เห็นว่านักสะสมก็มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในบรรพชีวินวิทยาสมัยใหม่และความเอื้ออาทรของพวกเขาช่วยขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ให้ก้าวหน้า
นักบรรพชีวินวิทยาก็จะยินดียิ่งขึ้นหากพบกระดูกไวท์ ร็อค สไปโนซอริดมากขึ้นจากนักล่าฟอสซิลที่ตามรอยเชสและหวังว่าคนที่เดินผ่านไปมาอาจจะเศษกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาบริจาค