
อีกผลงานการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ของจีน ครั้งนี้เป็น ฟอสซิลไข่ มีซากตัวอ่อนอยู่ข้างใน สภาพสมบูรณ์มาก จนศึกษาได้ว่าเป็นชนิดกินพืช ฮาโดร
วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 ซินหัว รายงานว่า คณะนักวิทยาศาสตร์จีนและแคนาดาเผยแพร่การค้นพบฟอสซิลไข่ 2 ฟองบรรจุซากตัวอ่อน ระบุได้ว่าเป็นฮาโดรซอร์ (hadrosaur) หรือไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ในเมืองก้านโจว มณฑลเจียงซี ทางตะวันออกของจีน
- เปิดวิธีขอกู้ กองทุนชราภาพ ก่อนอายุ 55 ปี มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
- ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 พฤษภาคม 2565 (อัพเดต)
- เปิดประวัติ คังคุไบ ราชินีมาเฟียแห่งมุมไบตัวจริง
ปัจจุบันฟอสซิลดังกล่าว ซึ่งมีอายุราว 66-72 ล้านปี เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติหินอิงเหลียง มณฑลฝูเจี้ยน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
รายงานระบุว่าฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์สภาพดีนี้มีรูปทรงกลมแบนข้าง และปริมาตรรวมราว 660 มิลลิลิตร โดยซากตัวอ่อนครองพื้นที่ข้างในไข่ราวร้อยละ 40

ผลการวิจัยเกี่ยวกับการค้นพบฟอสซิลข้างต้น ซึ่งเขียนร่วมกันโดยคณะนักวิจัยในจีนและแคนาดา ตีพิมพ์ในวารสารบีเอ็มซี อีโคโลจี แอนด์ เอโวลูชัน (BMC Ecology and Evolution)
ทั้งนี้ ทีมวิจัยระบุว่าฟอสซิลไข่ทั้งสองฟองที่ค้นพบในก้านโจว ถือเป็นฟอสซิลตัวอ่อนฮาโดรซอร์ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับฟอสซิลตัวอ่อนฮาโดรซอร์ที่เคยค้นพบก่อนหน้านี้

จากข้อมูลวิกิพีเดีย ฮาโดรซอร์ได้ชื่อว่า ไดโนเสาร์ปากเป็ด เนื่องจากมีปากเหมือนเป็ด เป็นสัตว์กินฟืช ในยุคครีเทเชียส พบในทวีปเอเชีย ยุโรป แอนตาร์กติกา อเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือ
ฮาโดรซอร์แบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อย: แลมบีโอซอร์ (lambeosaurines)ที่มีหงอน และเซาโรโลฟัส (saurolophines). ไดโนเสาร์กลุ่มเซาโรโลฟัสมีขนาดใหญ่กว่า กลุ่มแลมบีโอซอร์