สวีเดน-ฟินแลนด์ จะเป็นอย่างไรต่อไป เมื่อเลิกเป็นกลาง เข้าพวกนาโต้ ชนปูติน

สวีเดน-ฟินแลนด์
(Lauri Heno/Lehtikuva via AP)

สองชาติยุโรปทางเหนือ สวีเดน-ฟินแลนด์ ต่างให้เหตุผลที่เปลี่ยนจุดยืนของประเทศ ว่ามาจากการที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน สั่งทัพรัสเซียบุกยูเครน

วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 บีบีซีไทย รายงานบทวิเคราะห์ ของ ฟีเลน แชตเตอร์จี แห่ง บีบีซี นิวส์ ถึงกรณีที่รัฐบาลฟินแลนด์ และรัฐบาลสวีเดน ตัดสินใจนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้

ทั้งสองประเทศต่างให้เหตุผลที่เปลี่ยนนโยบาย ว่ามาจากสงครามยูเครน ที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ทำลายความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยที่มีมายาวนานในยุโรปตอนเหนือ จนรู้สึกว่าประเทศกำลังเผชิญกับภัยคุกคาม

เมื่อเดือน พ.ย.ปีก่อน ผู้นำสวีเดนให้คำมั่นว่าจะไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้ แต่ในตอนนี้กลับชี้ว่า ประเทศกลุ่มนอร์ดิกจะมีศักยภาพป้องกันตัวเองได้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นหากสวีเดนและฟินแลนด์เข้าเป็นสมาชิกนาโต้

สวีเดน-ฟินแลนด์
A moment of the military exercise SWENEX at the Marine regiment in Berga, Sweden, Oct. 27, 2021 Fredrik Sandberg/TT via AP)

ประวัติศาสตร์เคยถูกรัสเซียบุก

สำหรับคนฟินแลนด์แล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยูเครนทำให้พวกเขาหวนคิดถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศของตนจากการถูกกองทัพโซเวียตเข้ารุกรานในช่วงปลายปี 1939

การสู้รบครั้งนั้นดำเนินไปกว่า 3 เดือน โดยกองทัพฟินแลนด์ได้ต่อสู้กับข้าศึกอย่างแข็งแกร่ง ทั้งที่มีจำนวนน้อยกว่ามาก แม้ฟินแลนด์จะรอดพ้นจากการถูกรัสเซียยึดครอง แต่ก็ต้องสูญเสียดินแดนไป 10%

REUTERS/Ints Kalnins

สวีเดนก็รู้สึกถึงภัยคุกคามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากกรณีที่เครื่องบินทหารรัสเซียบินล่วงล้ำน่านฟ้าของตนหลายครั้ง

ปี 2014 คนสวีเดนต่างตกตะลึงกับข่าวการพบเรือดำน้ำรัสเซียแอบซุ่มอยู่บริเวณน้ำตื้นในแถบหมู่เกาะของกรุงสตอกโฮล์ม

2 ปีต่อมา กองทัพสวีเดนได้กลับไปประจำการที่เกาะกตลันด์ ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ แต่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ในทะเลบอลติก หลังจากเคยละทิ้งเกาะแห่งนี้ไปนาน 2 ทศวรรษ

มีชาติครองนิวเคลียร์คุ้มกัน

โดยทั่วไปอาจไม่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากนัก เพราะทั้งสวีเดนและฟินแลนด์ต่างเป็นประเทศหุ้นส่วนอย่างเป็นทางการของนาโตในปี 1994 และนับจากนั้นก็เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของนาโต้ โดยเข้าร่วมภารกิจของนาโตหลายครั้งนับแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง

สวีเดน-ฟินแลนด์
The Army mechanised exercise Arrow 22 exercise at the Niinisalo garrison in Kankaanp”, Western Finland, on May 4, 2022. (Heikki Saukkomaa/Lehtikuva via AP)

แต่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเมื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกนาโตอย่างเป็นทางการก็คือ การใช้ “มาตรา 5” ที่ระบุว่า “การโจมตีสมาชิกชาติใดชาติหนึ่ง จะถือเป็นการโจมตีสมาชิกโดยรวม” ซึ่งนี่จะทำให้ฟินแลนด์และสวีเดนได้รับการรับรองความปลอดภัยจากชาติสมาชิกที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองเป็นครั้งแรก  

แม้ประชาชนทั้งสองประเทศจะยังมีข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมในการเข้าเป็นสมาชิกนาโต แต่ศาสตราจารย์ เฮนริก เมย์นันเดอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ชี้ว่า ฟินแลนด์ ได้เตรียมตัวเตรียมใจในการเข้าเป็นสมาชิกนาโตมาตั้งแต่การล่มสลายของโซเวียตแล้ว

ปี 1992 รัฐบาลฟินแลนด์ได้ซื้อเครื่องบินรบของสหรัฐ 64 ลำ 3 ปีต่อมาได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) พร้อมกับสวีเดน และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รัฐบาลฟินแลนด์ทุกชุดต่างพิจารณาเรื่องการสมัครเข้าเป็นสมาชิกนาโต้

เริ่มหวั่นไหวตั้งแต่ศึกไครเมีย

ศาสตราจารย์ เมย์นันเดอร์ ระบุว่า ฟินแลนด์ซึ่งมีประชากร 5.5 ล้านคนนั้น มีทหารประจำการในกองทัพ 280,000 นาย และมีทหารกองหนุน 900,000 นาย

ส่วนสวีเดนดำเนินนโยบายที่ต่างออกไปในช่วงทศวรรษที่ 1990 โดยการลดจำนวนทหารในกองทัพ และเปลี่ยนภารกิจหลักจากการป้องกันประเทศไปเป็นปฏิบัติการรักษาสันติภาพในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

แต่นโยบายดังกล่าวได้เปลี่ยนไป หลังจากรัสเซียผนวกไครเมียเข้าเป็นของตนในปี 2014 ส่งผลให้สวีเดนเริ่มมีการเกณฑ์ทหาร และการเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมอีกครั้ง

เชียร์ปูติน
Russian President Vladimir Putin delivers his speech at the concert marking the eighth anniversary of the referendum on the state status of Crimea and Sevastopol. (Vladimir Astapkovich/Sputnik Pool Photo via AP)

ปี 2018 ประชากรทุกหลังคาเรือนได้รับแจกคู่มือจากกองทัพเกี่ยวกับวิธีการเตรียมตัวและการปฏิบัติตัวในภาวะสงคราม นับเป็นครั้งแรกที่สวีเดนดำเนินมาตรการลักษณะนี้นับแต่ปี 1991

ฟินแลนด์ได้บรรลุเป้าหมายการตั้งงบประมาณด้านกลาโหมตามที่นาโตกำหนดไว้ที่ 2% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ส่วนสวีเดนก็กำลังร่างแผนการนี้เช่นกัน

การตอบโต้จากรัสเซีย

คำกล่าวของ ประธานาธิบดี ปูติน ที่มักอ้างเรื่องที่นาโต้แผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในยูเครนเพื่อสร้างความชอบธรรมในการยกทัพรุกรานยูเครน ทำให้มองได้ว่าเมื่อสวีเดนและฟินแลนด์สมัครเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ ย่อมถูกมองเป็นการกระทำที่ยั่วยุ

กระทรวงต่างประเทศรัสเซีย ระบุว่า ทั้งสวีเดนและฟินแลนด์ต่างได้รับคำเตือนถึง “ผลที่จะตามมา” ของการเข้าเป็นสมาชิกนาโต้

Military vehicles drive along the Garden Ring road towards the Red Square  (Photo by Natalia KOLESNIKOVA / AFP)

ส่วนนายดมิทรี เมดเวเดฟ พันธมิตรใกล้ชิดของนายปูตินได้เตือนถึงเรื่องนี้ว่าอาจทำให้รัฐบาลรัสเซียส่งอาวุธนิวเคลียร์ไปประจำการที่เมืองคาลินินกราด ซึ่งเป็นดินแดนของรัสเซียที่อยู่ระหว่างโปแลนด์และลิทัวเนีย

แม้จะไม่ตัดความเป็นไปได้ของภัยคุกคามทางการทหารเหล่านี้ แต่นายสตุบบ์ อดีตนายกรัฐมนตรีฟินแลนด์ชี้ว่า ภัยคุกคามที่น่าจะเกิดขึ้นมากกว่าคือการที่รัสเซียมุ่งโจมตีด้านไซเบอร์ การแพร่ข้อมูลเท็จ และการล่วงล้ำน่านฟ้าเป็นระยะ ๆ

กระทบบทบาทปลดอาวุธนิวเคลียร์

แม้ประชากรส่วนใหญ่ในสวีเดนและฟินแลนด์จะสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกนาโต้เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีคนบางส่วนที่กังวลว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้จะทำลายการวางตัวเป็นกลางทางการเมืองและการทหารของประเทศที่มีมายาวนาน

A view of the Hanhikivi 1 nuclear power plant construction site at Pyhajoki, Finland, on Nov. 3, 2021(Vesa Moilanen/Lehtikuva via AP)

นางเดโบราห์ โซโลมอน จาก Swedish Peace and Arbitration Society องค์กรเพื่อสันติภาพและการปลดอาวุธของสวีเดน ชี้ว่า นโยบาย “การป้องปรามด้วยอาวุธนิวเคลียร์” (nuclear deterrence) ของนาโต้จะเพิ่มความตึงเครียดและความเสี่ยงที่จะกระตุ้นให้มีการแข่งขันทางด้านอาวุธกับรัสเซีย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความพยายามสร้างสันติภาพ และทำให้สวีเดนมีความปลอดภัยน้อยลง

อีกทั้งจะทำให้สวีเดนสูญเสียบทบาทผู้นำการปลดอาวุธนิวเคลียร์และการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้งของโลก

อย่างไรก็ตาม นายฮุลต์ควิสต์ รัฐมนตรีกลาโหมสวีเดน ยืนกรานว่า การเข้าเป็นสมาชิกนาโตไม่ขัดแย้งกับเป้าหมายในการปลดอาวุธของสวีเดน

FILE – In this photo provided by the Swedish Armed Forces on Aug. 25, 2020,  (Joel Thungren/Swedish Armed Forces/TT via AP, File)

ส่วนฟินแลนด์นั้น การดำเนินนโยบายเป็นกลางคือเงื่อนไขด้านสันติภาพที่สหภาพโซเวียตกำหนดขึ้นไว้ใน “ข้อตกลงแห่งมิตรภาพ” ในปี 1948 ซึ่งฟินแลนด์มองว่าเป็นหนทางในการอยู่รอด และจะช่วยรักษาเอกราชของประเทศเอาไว้\

ศาสตราจารย์ เมย์นันเดอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ชี้ว่า ความเป็นกลางของสวีเดนคือเรื่องของอัตลักษณ์และอุดมการณ์ทางการเมือง แต่สำหรับฟินแลนด์คือเรื่องของการอยู่รอด นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สวีเดนมีทางเลือกในการชั่งใจว่าจะเข้าเป็นสมาชิกนาโตหรือไม่ เพราะสวีเดนใช้ฟินแลนด์และกลุ่มรัฐบอลติกเป็น “เขตกันชน” ภัยคุกคามจากรัสเซีย

ศาสตราจารย์ อีรู แซกแก ผู้เชี่ยวชาญด้านนาโตจากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ กล่าวว่า คนฟินแลนด์ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 มองว่าการเข้าเป็นสมาชิกนาโตถือเป็นก้าวที่สำคัญของประเทศ แต่กาลเวลาที่ผันผ่านและมุมมองต่อภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนฟินแลนด์ในปัจจุบันบอกว่าพร้อมแล้วที่จะเข้าเป็นสมาชิกขององค์การนี้