บรรณาธิการสื่อรัสเซีย ขายเหรียญรางวัลโนเบล ช่วยเด็กยูเครน ตะลึงได้ 3.6 พันล้าน

Russian journalist Dmitry Muratov (2L) reacts on stage to the bid of $103.5 million to buy his 2021 Nobel Peace Prize medal in New York, on June 20, 2022. (Photo by Kena Betancur / AFP)

นอกจากเป็นฮีโร่ในวงการสื่อเสรี ดมิทรี มูราตอฟ บ.ก.สื่ออิสระของรัสเซีย ยังนำ เหรียญรางวัลโนเบล ที่เป็นเกียรติของตนเอง มาประมูลขายไปช่วยเด็กยูเครน ตะลึงทำเงินได้เกิน 3.6 พันล้านบาท

วันที่ 21 มิถุนายน 2565 สำนักข่าว เอเอฟพี รายงานว่า นายดมิทรี มูราตอฟ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์อิสระ โนวายา กาเซตา – Novaya Gazeta นำรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่ตนเองได้รับเมื่อปีก่อน ไปประมูลขายที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อนำเงินไปช่วยเด็กยูเครนที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม

NEW YORK – JUNE 20: Nobel Peace Prize winner Dmitry Muratov / Michael M. Santiago/Getty Images/AFP

นายมูราตอฟได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ประจำปี 2021 ร่วมกับ มาเรีย เรสซา นักสู้ด้านสื่อสารมวลชนของฟิลิปปินส์ ในฐานะผู้ปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นที่เป็นด่านหน้าในการปกป้องประชาธิปไตยและเป็นกองหนุนสุดท้ายในการรักษาสันติภาพ

การประมูลเหรียญโนเบลดังกล่าวที่นครนิวยอร์ก จัดโดยบริษัท เฮอริเทจ ออกชันส์ บรรยากาศประมูลเป็นไปอย่างสนุก เพราะมีการสู้ราคาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งผู้ประมูลที่ไม่ขอเปิดเผยชื่อโทร.เข้ามาแจ้งซื้อในราคาพุ่งถึง 103.5 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3,655 ล้านบาท ทำให้คนที่อยู่ในห้องพากันตกตะลึง รวมถึงนายมูราตอฟด้วย

“ผมมีอาการเหมือนคุณในตอนนั้นแหละ” นายมูราตอฟกล่าวผ่านล่าม หลังการประมูลเสร็จสิ้น

Dmitry Muratov’s 2021 Nobel Peace Prize medal. REUTERS/David ‘Dee’ Delgado

ทั้งนี้ รายได้ทั้งหมดมอบให้องค์การยูนิเซฟ เพื่อใช้ในงานช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เด็กและครอบครัวที่หนีภัยสงคราม พลัดพรากจากบ้านเรือนของตนเองในยูเครน (UNICEF’s Humanitarian Response for Ukrainian Children Displaced by War)

Advertisement

นายมูราตอฟร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์ โนวายา กาเซตา ในปี 1993 (พ.ศ. 2536) หลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย ตอนนั้นโนวายาเป็นหนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายเจ้าเดียวที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ทั้งในและนอกประเทศ

NEW YORK, NEW YORK – JUNE 20: Nobel Peace Prize winner Dmitry Muratov, editor-in-chief of the Russian newspaper Novaya Gazeta/ Michael M. Santiago/Getty Images/AFP

นับจากปี 2000 (พ.ศ. 2543) เป็นต้นมา นักข่าวและผู้ร่วมงานกับโนวายา กาเซตา ถูกสังหารไปแล้ว 6 ราย รวมถึง แอนนา โปลิตคอฟสกายา นักข่าวที่ทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน

เมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ หนึ่งเดือนหลังรัสเซียยกทัพบุกยูเครน โนวายา กาเซตา ระงับการทำงานในรัสเซีย เนื่องจากรัฐบาลบังคับใช้กฎหมายเพิ่มบทลงโทษจำคุกแก่บุคคลที่วิจารณ์ปฏิบัติการทางทหารของรัฐบาล

ต่อมาเดือนเมษายน นายมูราตอฟถูกทำร้ายบนรถไฟ โดยชายคนหนึ่งที่ขว้างสีน้ำมันผสมอาซีโทน ทำให้ตาแสบร้อน

Advertisement
นายมูราตอฟนำเหรียญโนเบลของตนเองมาประมูล (Photo by Kena Betancur / AFP)

ส่วนการประมูลครั้งนี้ นักข่าวถามว่าเหตุใดจึงเลือกมอบเงินให้ยูนิเซฟ นายมูราตอฟตอบว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมอบให้องค์กรที่ไม่ได้เป็นของรัฐบาลใด และทำงานได้เหนือรัฐบาล โดยไม่มีพรมแดนสำหรับเรื่องนี้

นายมูราตอฟกล่าวด้วยว่า การยืนหยัดของนักข่าวเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบรัฐบาล และเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยป้องกันสงครามได้

“ไม่ว่าจะมีกี่ครั้งที่คนของเราถอดใจ เราต้องทำงานของเราต่อไป สารที่สำคัญที่สุดในวันนี้เพื่อให้คนเข้าใจสถานการณ์ ว่าสงครามยังดำเนินอยู่ และเราต้องช่วยคนที่เดือดร้อนแสนสาหัสที่สุด” บ.ก.สื่อรัสเซียกล่าว

Nobel Peace Prize winner Dmitry Muratov, editor-in-chief of the Russian newspaper Novaya Gazeta, reacts to bidding during a charity auction at The Times Center on June 20, 2022 in New York City. / Michael M. Santiago/Getty Images/AFP
ราคาประมูลบนกระดาน ลงเอยที่ 103,500,000 ดอลลาร์ หรือราว 3,655 ล้านบาท (Photo by Kena Betancur / AFP)