ไม่อกหัก…ก็ตรวจสุขภาพ “หัวใจ” ฟรี! ที่ “Healthcare เรียนรู้ สู้โรค 2019”

    รู้หรือไม่? ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ของโรคหัวใจและหลอดเลือด

    รู้หรือไม่? การสูบบุหรี่วันละ 1 มวน เพิ่มอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบถึง 1.74 เท่าในผู้ชาย และ 2.19 เท่าในผู้หญิง

    รู้หรือไม่? รอบตัวเรามีคนจำนวน 4 ล้านคนต่อปีที่เสียชีวิตเพราะไขมันในเลือดสูง

    ถ้าคำตอบของคุณคือ “ไม่รู้” คุณและคนใกล้ตัวอาจเป็นคนหนึ่งที่กำลังเสี่ยงกับเพชฌฆาตเงียบโดยไม่รู้ตัว

    กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดถูกจัดให้เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนทั่วโลก โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ปี 2558 พบผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณ 17.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของอัตราการตายทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทย สถิติล่าสุดของกระทรวงสาธาณสุข ณ ปี 2561 พบคนไทยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 432,943 คน ซึ่งในจำนวนนี้ มีอัตราการตายถึง 20,855 คนต่อปี หรือคิดเป็นชั่วโมงละ 2 คน และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    โรคหัวใจจึงอยู่ใกล้แค่เอื้อม ในอดีตโรคนี้พบได้มากในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันกลับพบโรคนี้ในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการบริโภคของเราที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ขาดการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากเกินพอดี ทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง เป็นเหตุนำไปสู่ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบตันและโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

    นพ.กำพู ฟูเฟื่องมงคลกิจ ศัลยแพทย์โรคหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลราชวิถี ให้ข้อมูลว่า อาการของผู้ที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่มี 2 อาการ คือ 1.เหนื่อยหอบง่าย เช่น เดินขึ้นสะพานลอยแล้วรู้สึกเหนื่อยมากๆ กว่าปกติ หรือบางรายแค่นั่งอยู่เฉยๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จนไม่ไหว และ 2.แน่นหน้าอก โดยเฉพาะอาการเจ็บแน่นกลางอกร้าวไปกลางหลัง หากแพทย์วินิจฉัยแล้วพบว่าอาการยังไม่รุนแรงมาก ก็สามารถรักษาด้วยการรับประทานยา แต่ถ้าผู้ป่วยมาด้วยอาการที่รุนแรงมาก เช่น ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบรุนแรง เส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ก็ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดหัวใจ โดยเฉพาะในรายที่หัวใจบีบตัวได้น้อย อาจจำเป็นต้องพิจารณาเข้ารับการปลูกถ่ายหัวใจใหม่

    โดยปกติโรคนี้มักไม่แสดงอาการเมื่อเริ่มเป็น ในปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคหัวใจในประเทศไทย ได้พัฒนารุดหน้าอย่างมาก จนได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากลจึงทำให้ตรวจพบได้เร็วยิ่งขึ้น คนไข้ได้ทำการรักษาอย่างตรงจุด ซึ่งหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญ คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คือ การทดสอบสัญญาณไฟฟ้าซึ่งจะถูกปล่อยออกมาในแต่ละจังหวะการเต้นของหัวใจ และส่งผ่านไปทั่วทั้งหัวใจกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจมีการบีบตัวอย่างสมบูรณ์ ในการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีประโยชน์อย่างมากต่อการวินิจฉัยความผิดปกติและโรคเกี่ยวกับหัวใจในหลายกรณี อาทิ

  1. เช็คอัตราการเต้นของหัวใจว่ามีจังหวะการเต้นที่ความสม่ำเสมอหรือไม่
  2. ประเมินความแข็งแรงของหัวใจก่อนการผ่าตัดใหญ่ ว่าหัวใจจะสามารถทนกับภาวะที่ร่างกายได้รับยาสลบมากน้อยแค่ไหน
  3. ค้นหาอาการผิดปกติของหัวใจ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ ทำให้หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือเกิดจากภาวะอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  4. ใช้ติดตามผลการรักษา ดูประสิทธิภาพของการใช้ยาและผลข้างเคียงที่อาจกระทบต่อการทำงานของหัวใจ
  5. ตรวจสภาวะความไม่สมดุลของแร่ธาตุในของเหลวสื่อนำไฟฟ้าบางตัว โดยเฉพาะธาตุโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งเป็นธาตุที่หัวใจจำเป็นต้องมีไว้ใช้อย่างสมดุล เพื่อช่วยควบคุมจังหวะการบีบและคลายตัวของหัวใจ

    นอกจากนี้ยังสามารถตรวจได้ในผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เพื่อให้ทราบข้อมูลหรือแนวโน้มที่อาจบ่งชี้ถึงสภาพผิดปกติของหัวใจที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ใช้เวลาเพียง 5-10 นาที และไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บแต่อย่างใด ที่สำคัญผู้รับการตรวจไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหาร หรือยาที่รับประทานอยู่เดิม โดยสามารถรับการตรวจได้ทุกเวลา

    ขั้นตอนการตรวจ ทำได้สะดวกไม่ยุ่งยาก เพียงผู้รับการตรวจนอนลงบนเตียงที่ได้จัดเตรียมไว้ในห้องตรวจ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการป้ายเจลปริมาณเล็กน้อยลงบนบริเวณหน้าอก ข้อมือและข้อเท้าทั้ง 2 ข้าง ก่อนทำการติดติดตัวรับกระแสไฟฟ้าที่บริเวณหน้าอก 6 จุด และที่ข้อมือและข้อเท้าทั้ง 2 ข้างอย่างละจุด ในระหว่างการตรวจควรอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว พูดคุย ไม่เกร็งตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย หลังจากนั้นเครื่องจะทำการประมวลผลและแสดงผลออกมาเป็นกราฟไฟฟ้าหัวใจเพื่อให้แพทย์ได้อ่านผล

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจกับ 6 รพ.ชั้นนำ ฟรี!
ที่ Healthcare 2019

    ใกล้เข้ามาแล้วกับแฟร์สุขภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี Healthcare เรียนรู้ สู้โรค 2019″ มหกรรมเพื่อคนรักสุขภาพโดยเฉพาะ ก้าวสู่ศตวรรษใหม่ที่การันตีความยิ่งใหญ่กว่าเดิม ผนึกกำลัง 6 โรงพยาบาลชั้นนำ ได้แก่ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น โรงพยาบาลเวชธานี โรงพยาบาลยันฮี โรงพยาบาลวิภาราม ปากเกร็ด โรงพยาบาลสุขุมวิท และโรงพยาบาลแพทย์รังสิต มาบริการตรวจสุขภาพหัวใจโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสมหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

    ไม่เพียงแค่สุขภาพหัวใจ แต่ยังมีบริการตรวจสุขภาพฟรี 7 กลุ่มโดย 30 โรงพยาบาลแถวหน้าของประเทศ พร้อมร่วมฟังเสวนาเกร็ดความรู้ด้านสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญฟรีตลอดทั้ง 4 วัน ครบเครื่อง อัดแน่นด้วยคุณภาพ คนรักสุขภาพห้ามพลาด 27-30 มิถุนายนนี้ ณ ฮอลล์ 5 อิมแพค เมืองทองธานี

    เดินทางสะดวก ด้วยรถตู้จาก 6 เส้นทาง ได้แก่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, รามคำแหง, สนามหลวง, เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน และสถานี BTS จตุจักร รถเมล์สายวิภาวดีรังสิต-แจ้งวัฒนะ สาย 29, 52, 59, 150,ปอ.4, 10, 13, 19, 29  ห้าแยกปากเกร็ด สาย 32, 33, 51, 90, 104, 359, 367 รถโดยสารสองแถว สายเมืองทอง-ถนนแจ้งวัฒนะ และสายเมืองทอง ถนนติวานนท์ มีพื้นที่รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลกว่า 10,000 คัน

    พิเศษ! สำหรับผู้ที่สะดวกเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ทางงานมีบริการรถรับส่งพิเศษ เที่ยวไปจาก BTS หมอชิต (ทางออก 2 และ 4) ถึงเมืองทางธานี รถออกเวลา 8.00 น. 11.00 น. และ 13.00 น. และเที่ยวกลับ จากเมืองทางธานี ถึง BTS หมอชิต รถออกเวลา 13.00 น. 15.00 น. และ 17.00 น. ฟรีตลอดทั้ง 4 วัน

ร่วมกิจกรรมสุดมันส์ง่ายๆเพียง ลงทะเบียนผ่าน QR Code ฟรีทุกความสนุก ตลอดทั้ง 4 วัน มอบเพื่อคนรักสุขภาพอย่างคุณโดยเฉพาะ