ประกันสังคม ม.33 รีบชำระเงินสมทบ ภายในมีนาคมนี้ ก่อนโดนปรับ

ประกันสังคม

การรายงานค่าจ้างประจำปีกองทุนเงินทดแทน เป็นการรายงานค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างในปีที่ผ่านมา หลังจากรายงานแล้วต้องชำระเงินสมทบภายในเดือนมีนาคมเท่านั้น

วันที่ 28 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เงินสมทบคือ เงินที่นายจ้างและลูกจ้างต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในอัตราร้อยละ 5 ซึ่งฐานค่าจ้างที่จะนำมาคำนวณต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท ดังนั้น การจ่ายเงินสมทบขั้นต่ำอยู่ที่เดือนละ 83 บาท และไม่เกินเดือนละ 750 บาท หรือแต่ละคนไม่เกิน 240,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ รัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง

วีธีรายงานค่าจ้างประจำปี

การรายงานค่าจ้างกองทุนเงินทดแทนประจำปี 2565 นายจ้างต้องรายงานก่อน 28 กุมภาพันธ์ 2566 เพียงกรอกจำนวนลูกจ้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 และกรอกจำนวนค่าจ้างที่จ่ายจริง ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 พร้อมส่งให้สำนักงานประกันสังคมได้ 2 ช่องทาง

1.รายงานผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wage) ผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคม (www.sso.go.th) แทนการกรอกเอกสารแบบ กท.20ก (ถ้ายื่น e-Wage แล้วจะไม่ต้องยื่น กท.20ก ซ้ำอีก)

2.ยื่นผ่านทางสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่รับผิดชอบ

วิธีชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน

ต้องชำระเงินสมทบเพิ่มเติมภายในเดือนมีนาคม 2566 หากพ้นระยะเวลาที่กำหนด ต้องชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อเดือน (ของจำนวนเงินสมทบที่ต้องชำระ)

1.ชำระเป็นเงินสด หรือส่งเช็คทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียนตอบรับ ส่งธนาณัติ สั่งจ่ายสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ระบุที่ทำการไปรษณีย์……(ที่ทำความตกลง)…….

2.ชำระเงินด้วยเช็ค

– เป็นเช็คของสถานประกอบการนั้น มิใช่เช็คส่วนตัว ไม่เป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า และเป็นเช็คของธนาคาร ที่ตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัด…(ให้ระบุจังหวัด)….

– เป็นเช็คขีดคร่อมสั่งจ่าย “เงินกองทุนเงินทดแทน” (ให้ระบุชื่อของสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด….สาขา…..)

การชำระเงินสมทบจะถือว่าสมบูรณ์ เมื่อสำนักงานประกันสังคมได้รับเงินตามเช็คครบถ้วนแล้ว

3.ชำระเงินด้วยธนาณัติ

โปรดสั่งจ่ายในนาม “สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา” ระบุที่ทำการไปรษณีย์….(ที่ทำความตกลง)……

4.ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร (ไม่เสียค่าธรรมเนียมการชำระเงิน)

– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

5.ชำระเงินผ่าน e-Payment ธนาคารต่าง ๆ

– ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารดอยซ์แบงก์
– ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารออมสิน
– ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
– ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส

6.ชำระเงินผ่านร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ต (เสียค่าธรรมเนียมจำนวน 10 บาท ต่อใบเสร็จรับเงิน 1 ฉบับ)

– ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น (7-11)
– โลตัส (Lotus’s)

7.ชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) บนเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม (www.sso.go.th) ผ่านธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บัตรเดบิต/เครดิต MasterCard (Counter Service) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) และธนาคารดอยซ์แบงก์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคาร JP Morgan Chase

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก หรือ โทร. 1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)