
คอร์แซร์ เปลี่ยนขยะพลาสติกในไทย เป็นน้ำมันชีวภาพ ลดการฝังกลบ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ช่วยสร้างรายได้กลับคืนสู่สังคม
สถานการณ์โควิด-19 ทำให้มลพิษจากขยะพลาสติกทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกต่อหน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ปกป้องสุขภาพส่วนบุคคล ส่งผลถึงการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก และพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น
- Café Amazon เฉลยเอง ไวรัลนกหน้าร้านสะดวกซื้อ กำลังจะเกิดอะไรขึ้น?
- เปิดประวัติ เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นักการเมืองดัง ลูกเจ้าพ่อปากน้ำ
- 12 นิสิตเก่า ‘สิงห์ดำ’ ดีเด่น ปี 66 ความภาคภูมิใจ ‘รัฐศาสตร์ จุฬาฯ’ สถาบันผลิตบุคลากรชั้นนำของประเทศ
โดยอัตราการผลิตพลาสติกรายปีเพิ่มสูงขึ้น มีรายงานการผลิตทั่วโลกอยู่ที่ 315 ล้านเมตริกตันต่อปี หากแนวโน้มยังคงเป็นเช่นนี้ ภายในปี 2050 ขยะพลาสติกกว่า 12 พันล้านตันจะทับถมอยู่ในหลุมขยะฝังกลบ และปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ เฉพาะในประเทศไทยมีการสร้างขยะพลาสติกมากกว่า 2 พันล้านกิโลกรัมต่อปี ซึ่งในปัจจุบันมีการนำไปรีไซเคิลในอัตราน้อยกว่า 10%
คอร์แซร์ กรุ๊ป (Corsair Group) บริษัทผู้พัฒนาโซลูชั่นธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีฐานการดำเนินงานทั้งในประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์ มุ่งหน้าแก้ปัญหาขยะพลาสติก ที่กำลังทวีความรุนแรงและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ผ่านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเปลี่ยนขยะพลาสติกให้กลายเป็นน้ำมันชีวภาพขั้นสูง (advanced bio-oil) ซึ่งสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงแนวรักษ์โลก ช่วยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน และลดอัตราการใช้ทรัพยากรใต้พื้นโลกได้อย่างยั่งยืนยิ่งกว่า
“จุสซี เวกโก ซาโลรันตา” ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คอร์แซร์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า คอร์แซร์เป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการโรงงานรีไซเคิลขยะพลาสติกให้กลายเป็นน้ำมันและผลิตภัณฑ์เคมีบนเนื้อที่ 6,400 ตารางเมตรในกรุงเทพฯ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเปลี่ยนขยะพลาสติก อาทิ ถุงพลาสติกใช้แล้ว วัสดุห่อหุ้มสินค้า และหีบห่อบรรจุภัณฑ์ ให้กลายเป็นน้ำมันกำมะถันต่ำ โดยโรงงานมีกำลังการผลิตราว 180,000 ลิตรต่อเดือน และจะเพิ่มเป็น 600,000 ลิตรต่อเดือนในปี 2021 ด้วยการขยายเนื้อที่โรงงานอีก 3,200 ตารางเมตร

“เรามุ่งมั่นขจัดมลพิษจากขยะพลาสติก และค้นหาคน บริษัท องค์กร และหน่วยงานรัฐบาลที่มีอุดมการณ์เดียวกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมมือกันสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนขยะพลาสติกที่ไร้ค่าให้กลายเป็นทรัพยากรที่สร้างผลกำไรได้อย่างยั่งยืน”
ปัจจุบันคอร์แซร์ทำงานร่วมกับบริษัทและองค์กรชื่อดังของไทยหลายแห่ง อาทิ ไมเนอร์ กรุ๊ป, เซ็นทารา โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท, ชาเทรียม โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท, โรงเรียนนานาชาติ โชรส์เบอรี่, บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อช่วยให้องค์กรเหล่านั้นสามารถลดปริมาณการสร้างขยะ และริเริ่มการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อโลกอย่างจริงจัง ทั้งยังส่งผลถึงการสร้างประโยชน์ต่อองค์กรอีกด้วย
“จุสซี เวกโก ซาโลรันตา” กล่าวต่อว่า หลายประเทศใช้วิธีกำจัดขยะพลาสติกด้วยการฝังกลบ แต่วิธีดังกล่าวก่อให้เกิดขยะสะสมทั้งบนบกและท้องทะเล สร้างความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง
มลพิษจากขยะพลาสติกกำลังทวีความรุนแรงเข้าขั้นวิกฤตทั่วโลก ส่งผลกระทบเกือบทุกแง่มุมของชีวิต นับตั้งแต่น้ำในมหาสมุทรไปจนถึงน้ำที่ใช้บริโภค อากาศที่เราหายใจไปจนถึงอาหารที่ต้องกิน
ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญกับการใช้นวัตกรรมเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง พร้อมช่วยลดความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรน้ำมันแบบเดิม ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม